เมนู

ดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ. . . ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
จบทสพลสูตรที่ 1

ทสพลวรรคที่ 3



อรรถกถาปฐมทสพลสูตรที่ 1



ทสพลสูตรที่ 1

ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.

2. ทุติยทสพลสูตร



ว่าด้วยทศพลญาณและจตุเวสารัชญาณ



[65] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยทศพลญาณ
และจตุเวสารัชญาณ จึงปฏิญาณฐานะของผู้องอาจ บันลือสีหนาทใน
บริษัททั้งหลาย ยังพรหมจักรให้เป็นไปว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้น
แห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
ดังนี้ความดับแห่งเวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ดังนี้
ความดับแห่งสัญญา ดังนี้สังขารทั้งหลาย ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
ทั้งหลาย ดังนี้ความดับแห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิด
ขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ ด้วยเหตุนี้ เมื่อปัจจัยนี้มีอยู่
ผลนี้ย่อมมี เพราะการบังเกิดขึ้นแห่งปัจจัยนี้ ผลนี้จึงบังเกิดขึ้น เมื่อปัจจัย

นี้ไม่มีอยู่ ผลนี้ย่อมไม่มี เพราะการดับแห่งปัจจัยนี้ ผลนี้จึงดับ ข้อนี้คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ...
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
ก็เพราะอวิชชานั่นและดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึง
ดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ. . . ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[66] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ ทำ
ให้ตื้นแล้ว เปิดเผยแล้ว ประกาศแล้ว เป็นธรรมตัดสมณะขี้ริ้วแล้ว ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา สมควรแท้เพื่อปรารภความเพียรใน
ธรรมอันเรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ ทำให้ตื้น เปิดเผย ประกาศ เป็นธรรมตัด
สมณะขี้ริ้วแล้ว ด้วยความตั้งใจว่า หนัง เอ็น และกระดูกจงเหลืออยู่ เนื้อ
เลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้งไปก็ตามที อิฐผลใดที่จะพึงบรรลุได้ด้วย
เรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ
ยังไม่บรรลุอิฐผลนั้น จักไม่หยุดความเพียร ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้เกียจคร้านอาเกียรณ์ด้วยธรรมอันเป็นบาปอกุศล ย่อมอยู่เป็นทุกข์
และย่อมยังประโยชน์ของตนอันใหญ่ให้เสื่อมเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วน
บุคคลผู้ปรารภความเพียร ผู้สงัดจากธรรมอันเป็นบาปอกุศล ย่อมอยู่เป็น
สุข และยังประโยชน์ของตนอันใหญ่ให้บริบูรณ์ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การบรรลุธรรมอันเลิศด้วยธรรมอันเลิศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้
ผ่องใส ควรดื่ม เพราะพระศาสดาอยู่พร้อมหน้าแล้ว.
[67] เพราะเหตุฉะนี้แหละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงปรารภ

ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
บรรพชาของเราทั้งหลายนี้ จักไม่ต่ำทราม ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร
พวกเราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัชบริขาร ของ
ชนเหล่าใด สักการะเหล่านั้น ของชนเหล่านั้น จักมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก เพราะเราทั้งหลาย ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันบุคคลผู้เล็งเห็น
ประโยชน์ตน สมควรแท้เพื่อยังกิจให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท หรือ
บุคคลผู้เห็นประโยชน์ผู้อื่น สมควรแท้เพื่อยังกิจให้ถึงพร้อมด้วยความ
ไม่ประมาท ก็หรือว่า บุคคลผู้มองเห็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย สมควรแท้
จริงเพื่อยังกิจให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ดังนี้.
จบทุติยทสพลสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยทสพลสูตรที่ 2



พึงทราบความสังเขปแห่งทสพลสูตรที่ 2 เท่านั้น ดังนี้. สูตรที่ 2
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยอำนาจพระอัธยาศัยของพระองค์. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า ทสพลสมนฺนาคโต แปลว่า ทรงประกอบด้วยพละกำลัง
10 ธรรมดาพละนี้มี 2 คือ กายพละ กำลังพระกาย 1 ญาณพละ
กำลังพระญาณ 1 ในพละทั้ง 2 นั้น กายพละของพระตถาคต พึงทราบ
ตามแนวตระกูลช้าง 10 ตระกูล ที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า
กาฬาวกญฺจ คงฺเคยฺยํ ปณฺฑรํ ตมฺพปิงฺคลํ
คนฺธํ มงฺคลเหมญฺจ อุโปสถํ ฉทฺทนฺติเม ทส.