เมนู

ความมืดในรูปภพที่สัตว์ทั้งหลายเข้าถึง
ในอรูปภพที่สัตว์ทั้งหลายเป็นภาคี และใน
สมาบัติอันสงบทั้งปวง เรากำจัดได้แล้ว.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า วิชยาภิกษุณีรู้จักเราดังนี้
จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

อรรถกถาวิชยาสูตร



ในวิชชาสูตรที่ 4 มีวิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปญฺจงฺคิเกน ความว่าประกอบด้วยองค์ 5 อย่างนี้ คือ อาตตะ
กลองที่หุ้มหนังหน้าเดียว วิตตะหุ้มทั้งสองหน้าคือตะโพน อาตตวิตตะ หุ้มทั้ง
หมดมีบัณเฑาะว์เป็นต้น ฆนะคือ ฆ้อง สุสิระปี่และสังข์เป็นต้น. บทว่า
นิยฺยาตยามิ ตุยฺเหว ความว่า เราจะให้ดนตรีทั้งหมดแก่ท่านเท่านั้น. บทว่า
มาร น หิ เตน อตฺถิกา ความว่า เราไม่ต้องการดนตรีนั้น. บทว่า ปูติกาเยน
ความว่ากายแม้มีวรรณะดังทองคำ ก็ยังชื่อว่าเป็นกายเน่า เพราะอรรถว่าไหลเข้า
ไหลออกเป็นนิตย์ เพราะฉะนั้น วิชยาภิกษุณีจึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า ภินฺทเนน
ได้แก่มีอันแตกไปเป็นสภาวะ. บทว่า ปภงฺคุนา ได้แก่ถึงความแหลกเป็น
ผุยผงเป็นธรรมดา. บทว่า อฏฺฏิยามิ แปลว่า อึดอัดอยู่. บทว่า หรายามิ
แปลว่าระอาอยู่. บทว่า สนฺตา สมาปตฺติ ความว่าโลกิยสมาบัติ 8 อย่าง
ท่านกล่าวว่าสงบ เพราะสงบโดยอารมณ์ และสงบโดยองค์. บทว่า สพฺพตฺถ
ได้แก่ ในรูปภพและอรูปภพทั้งหมด. วิชยาภิกษุณีจึงกล่าวว่า แม้ความมืดคือ
อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว ในฐานะทั้งปวงเหล่านี้คือในกามภพ ที่ยึดถือเอาแล้ว
เพราะถือเอาภพ 2 เหล่านั้น และในสมาบัติ 8.
จบอรรถกถาวิชยาสูตรที่ 4

5. อุบลวรรณาสูตร



ว่าด้วยมารรบกวนอุบลวรรณาภิกษุณี



[534] สาวัตถีนิทาน.
ครั้งนั้น เวลาเช้า อุบลวรรณาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวร
ได้ยืนอยู่ที่โคนต้นสาลพฤกษ์ซึ่งมีดอกบานสะพรั่ง ต้นหนึ่ง.
[535] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้อุบลวรรณาภิกษุณีบังเกิด
ความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ
จึงเข้าไปหาอุบลวรรณาภิกษุณีถึงที่ยืนอยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะอุบลวรรณาภิกษุณี
ด้วยคาถาว่า
ดูก่อนภิกษุณี ท่านคนเดียว เข้ามา
ยังต้นสาลพฤกษ์ ซึ่งมีดอกบานสะพรั่ง
ตลอดยอด แล้วยืนอยู่ที่โคนต้นสาลพฤกษ์
ฉวีวรรณของท่านไม่มีที่สอง คนทั้ง
หลายก็จะมาในที่นี้เช่นท่าน ท่านกลัวความ
เป็นพาลของพวกนักเลงหรือ.

[536] ลำดับนั้น อุบลวรรณาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอ
กล่าวคาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์.
ทันใดนั้น อุบลวรรณาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาป ใคร่
จะให้เราบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้
เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา.
ครั้นอุบลวรรณาภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้ว จึงได้กล่าว
กะมารผู้มีบาปด้วยคาถาว่า