เมนู

ข้าแต่ท้าวมฆวาสุชัมบดีสักกเทวราช
บุคคลผู้มีมายาย่อมเข้าถึงนรกครบร้อยปี
เหมือนสัมพริจอมอสูร ฉะนั้น.


อรรถกถามายาสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในมายาสูตรที่ 3 ต่อไปนี้ :-
บทว่า อาพาธิโก ได้แก่ มีความเจ็บไข้ ด้วยอาพาธ อันเกิด
แล้วในเวลาหมู่ฤษีสาปแช่ง. บทว่า วาเจหิสิ มํ ความว่า ท้าวสักกะตรัสว่า
หากท่านบอกสัมพริมายากะเรา เราจึงจะเยียวยาท่าน. บทว่า มา โข ตฺวํ
มาริส วาเจสิ
ความว่า พวกอสูรกล่าวว่า งดสัมพริมายาไว้ก่อน ท้าวสักกะ
จะเบียดเบียนพวกเรา ก็ผิว่า ท้าวสักกะจักรู้สัมพริมายานั้น พวกเราจะพากัน
ฉิบหาย ท้าวสักกะอย่าทำให้พวกเราฉิบหาย เพื่อประโยชน์ของคนผู้เดียวเลย
จึงห้ามไว้. บทว่า สมฺพโรว สตํ สมํ ความว่า เวปจิตติจอมอสูรกล่าวว่า
ก็พวกท่านเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม พวกท่านไม่ควรพอใจมายา จะหมกไหม้
เหมือนจอมอสูรมีมายาประกอบมายาเผาไหม้ในนรกตลอดร้อยปี. ถามว่า
ก็ท้าวสักกะสามารถ จะเยียวยาความโกรธของเวปจิตติจอมอสูรได้หรือ. ตอบว่า
สามารถซิ. ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า เล่ากันมาว่า ในกาลนั้น หมู่ฤษี
ยังดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะ ก็จะนำเวปจิตติจอมอสูรไปหาฤษีให้ยกโทษ
ด้วยอาการอย่างนี้ ท้าวเวปจิตติจะพึงมีความผาสุก แต่ไม่ทำอย่างนั้นหลีกไป
เพราะถูกลวง.
จบอรรถกถามายาสูตรที่ 3

4. อัจจยสูตร



ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต



[952] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหาร
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุสองรูปโต้เถียงกัน ในการโต้เถียงกันนั้น
ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน.
ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้พูดล่วงเกินนั้นแสดงโทษโดยความเป็นโทษ (รับ
ผิดและขอโทษ) ในสำนักของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นไม่รับ.
[953] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง
เมื่อนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุสองรูปได้เถียงกัน ใน
การโต้เถียงกันนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้น
ภิกษุผู้พูดล่วงเกินแสดงโทษโดยความเป็นโทษในสำนักของภิกษุนั้น ภิกษุนั้น
ไม่รับ พระพุทธเจ้าข้า.
[954] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลมี
2 จำพวกนี้ คือ ผู้ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ . ผู้ไม่รับตามสมควรแก่
ธรรมเมื่อผู้อื่นแสดงโทษ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลมี 2 จำพวกนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตมี 2 จำพวกนี้ คือ ผู้เห็นโทษโดยความเป็นโทษ 1
ผู้รับตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นแสดงโทษ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต
มี 2 จำพวกนี้แล.