เมนู

10. รัชชสูตร



ว่าด้วยมารเชิญให้เสวยราชสมบัติ



[475] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กระท่อมอัน
ตั้งอยู่ในป่า ในประเทศหิมวันต์ แคว้นโกศล.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ พักผ่อนอยู่ในที่ลับได้ทรง
ปริวิตกว่า เราจะสามารถเสวยรัชสมบัติโดยธรรม โดยที่ไม่เบียดเบียนเอง
ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ไม่ทำผู้อื่นให้เสื่อมเอง ไม่ใช้ให้เขาทำผู้อื่นให้เสื่อม
ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ทำให้ผู้อื่นเศร้าโศกได้หรือไม่.
[476] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปทราบความปริวิตกแห่งพระหฤทัย
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยจิตแล้ว เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ครั้น แล้วจึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงเสวย
รัชสมบัติเถิด พระเจ้าข้า ขอพระสุคตจงเสวยรัชสมบัติโดยธรรม โดยที่ไม่
เบียดเบียนเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเอง ไม่ใช้ให้เขา
ทำคนอื่นให้เสื่อม ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ท่าให้ผู้อื่นเศร้าโศก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านเห็นอะไรของเรา
ทำไมจึงได้พูดกะเราอย่างนี้ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสวยรัชสมบัติเถิด
พระเจ้าข้า ขอพระสุคตจงเสวยรัชสมบัติโดยธรรม โดยที่ไม่เบียดเบียนเอง
ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเอง ไม่ใช้ให้เขาทำผู้อื่นให้เสื่อม
ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ทำให้ผู้อื่นเศร้าโศก.
มารกราบทูลว่า พระเจ้าข้า อิทธิบาททั้ง 4 พระองค์ทรงบำเพ็ญให้
เจริญ กระทำให้มาก กระทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นวัตถุที่ตั้ง กระทำไม่หยุด
สั่งสมปรารภด้วยดีแล้ว พระเจ้าข้า ก็เมื่อพระองค์ทรงพระประสงค์ ทรง

อธิษฐานภูเขาหลวงชื่อหิมพานต์ให้เป็นทองคำล้วน ภูเขานั้นก็พึงเป็นทองคำ
ล้วน.
[477] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะมารด้วยพระคาถาว่า
ภูเขาทองคำล้วนมีสีสุกปลั่ง ถึง
สองเท่าก็ยังไม่พอแก่บุคคลหนึ่ง บุคคล
ทราบดังนี้แล้ว พึงประพฤติสงบ ผู้ใดได้
เห็นทุกข์มีกามเป็นเหตุแล้ว ไฉนผู้นั้นจะ
พึงน้อมใจไปในกามเล่า บุคคลทราบอุปธิ
ว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว พึงศึกษา
เพื่อกำจัดอุปธินั้นเสีย.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง.
จบรัชชสูตร
จบทุติยวรรคที่ 2

อรรถกถารัชชสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในรัชชสูตรที่ 10 ต่อไป :-
บทว่า อหนํ อฆาฏยํ ได้แก่ไม่เบียดเบียนเอง ไม่ใช้ให้เขาเบียด
เบียน. บทว่า อชินํ อชาปยํได้แก่ไม่ทำความเสื่อมทรัพย์เอง ไม่ใช้ให้
เขาทำความเสื่อม. บทว่า อโสจํ อโสจาปยํ ได้แก่ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ทำ
ให้เขาเศร้าโศก. เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นมนุษย์ทั้งหลาย ถูกผู้
ลงโทษเบียดเบียน ในรัชสมัยของเหล่าพระราชาผู้ไม่ทรงธรรม จึงทรง
พระดำริอย่างนี้ ด้วยอำนาจความกรุณา. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มาร
คิคว่าพระสมณโคดม ทรงดำริว่า เราอาจครองราชสมบัติได้ คงจักอยากครอง
ราชสมบัติ ก็ขึ้นชื่อว่าราชสมบัตินี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งความประมาท เมื่อทรง
ครองราชสมบัติ เราอาจได้พบความผิดพลาด จำเราจักไปทำให้พระองค์เกิดความ
อุตสาหะ ดังนี้จึงเข้าไปเฝ้า. บทว่า อิทฺธิปาทา ได้แก่ส่วนที่ให้สำเร็จ. บทว่า
ภาวิตา ได้แก่ให้เจริญแล้ว. บทว่า พหุลีกตา ได้แก่กระทำบ่อย ๆ. บทว่า
ยานีกตา ได้แก่การทำให้เป็นดุจยานที่เทียมไว้แล้ว. บทว่า วตฺถุกตา ได้
แก่กระทำให้มีที่ตั้ง เพราะอรรถาว่าเป็นที่ตั้ง. บทว่า อนุฏฺฐิตา ได้แก่ ไม่
ละแล้ว ติดตามอยู่เป็นนิตย์. บทว่า ปริจิตา ได้แก่สั่งสมดี ด้วยการกระทำ
ติดต่อกัน คือชำนาญเหมือนฝีมือยิงธนูไม่พลาดของนักแม่นธนู. บทว่า สุสมา
รทฺธา
ได้แก่ เริ่มพร้อมดีแล้วมีภาวนาบริบูรณ์แล้ว. บทว่า อธิมุจฺเจยฺย
ได้แก่พึงคิด.
บทว่า ปพฺพตสฺส แก้เป็น ปพฺพโต ภเวยฺย พึงมีภูเขา. บท
ทฺวิตาว ความว่า ภูเขาลูกเดียวยกไว้ก่อน ภูเขาทองขนาดใหญ่เพียงนั้นแม้