เมนู

[473] มารกราบทูลว่า
ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใดว่า นี้ของ
เรา และกล่าวว่า นี้เป็นเรา ถ้าใจของท่าน
มีอยู่ในสิ่งนั้น ข้าแต่สมณะ ท่านก็จะไม่
พ้นเราไปได้.

[474] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่
มีแก่เรา ชนเหล่าใดกล่าว ชนเหล่านั้น
ไม่ใช่เรา ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านจงรู้
อย่างนี้ ท่านย่อมไม่เห็นแม้ทางของเรา.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง.

อรรถกถากัสสกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในกัสสกสูตรที่ 9 ต่อไป :-
บทว่า นิพฺพานปฏิสํยุตฺตาย ได้แก่ ที่อ้างพระนิพพานเป็นไปแล้ว.
บทว่า ทฏหฏเกโส ได้แก่ นำผมหน้าไว้ข้างหลัง นำผมหลังไว้ข้างหน้า
นำผมข้างซ้ายไว้ข้างขวา นำผมข้างขวาไว้ข้างซ้าย ชื่อว่า มีผมกระจายยุ่งเหยิง
บทว่า มม จกฺขุสมฺผสฺสวิญฺญาณายตนํ ได้แก่ จักษุสัมผัสที่ประกอบด้วย
จักขุวิญญาณ. จักษุสัมผัสนั้นก็ดี วิญญาณายตนะก็ดี เป็นของเรา. ก็ในคำว่า
มเมว ของเรานี้ ท่านถือเอาธรรมทั้งหลายที่ประกอบด้วยวิญญาณ ด้วยจักษุสัมผัส

ถือเอาวิญญาณทั้งหลายมีอาวัชชนจิตเป็นต้น ที่เกิดในจักษุทวารแม้ทั้งหมด
ด้วยวิญญาณายตนะ. ถึงในโสตทวารเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ในมโนทวาร
ภวังคจิต เป็นไปโดยการรับอารมณ์ ชื่อว่ามโน. ธรรมที่เป็นอารมณ์ทั้งหลาย
ชื่อว่า ธรรม. สัมผัสที่ประกอบด้วยภวังคจิตอันเป็นไปด้วยอาวัชชนะ ชื่อว่า
มโนสัมผัส. ชวนจิต ชื่อว่า วิญญาณายตนะ แม้ตทารัมมณะก็เป็นไป.
บทว่า ตเวว ปาปิม จกฺขุํ ความว่า จักษุใด อันโรคที่ทำความมืด
เป็นต้นในโลกเข้าขัดขวาง เป็นบ่อเกิดแห่งโรคมากอย่าง ทำให้แห้งให้กระด้าง ๆ
โดยที่สุด ตาก็บอด เหตุนั้น จักษุนั้นทั้งหมดเป็นอย่างนั้นนั่นแหละ. แม้ในรูป
เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ยํ วทนฺติ จ ความว่า บุคคลเหล่าใดกล่าวถึง
สิ่งใด ว่านี้เป็นของเรา. บทว่า มมนฺติ จ ความว่า และบุคคลเหล่าใดกล่าวว่า
ของเรา. บทว่า เอตฺถ เจ เต มโน อตฺถิ ความว่า ผิว่า จิตของท่านมีอยู่ใน
ฐานะเหล่านี้ไซร้. บทว่า น เม สมณ โมกฺขิสิ แปลว่า ท่านจักไม่หลุดพ้น
จากวิสัยของเรา. บทว่า ยํ วทนฺติ ความว่า บุคคลทั้งหลายกล่าวถึงสิ่งใด
สิ่งนั้น ไม่ใช่ของเรา. บทว่า เย วทนฺติ ความว่า บุคคลแม้เหล่าใดกล่าว
อย่างนี้ บุคคลเหล่านั้นก็ไม่ใช่เรา. บทว่า น เม มคฺคมฺปิ ทกฺขสิ ความว่า
ท่านก็ไม่เห็นแม้แต่ทางไปของเรา ในภพกำเนิดและคติเป็นต้น.
จบอรรถกถากัสสกสูตรที่ 9

10. รัชชสูตร



ว่าด้วยมารเชิญให้เสวยราชสมบัติ



[475] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กระท่อมอัน
ตั้งอยู่ในป่า ในประเทศหิมวันต์ แคว้นโกศล.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ พักผ่อนอยู่ในที่ลับได้ทรง
ปริวิตกว่า เราจะสามารถเสวยรัชสมบัติโดยธรรม โดยที่ไม่เบียดเบียนเอง
ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ไม่ทำผู้อื่นให้เสื่อมเอง ไม่ใช้ให้เขาทำผู้อื่นให้เสื่อม
ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ทำให้ผู้อื่นเศร้าโศกได้หรือไม่.
[476] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปทราบความปริวิตกแห่งพระหฤทัย
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยจิตแล้ว เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ครั้น แล้วจึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงเสวย
รัชสมบัติเถิด พระเจ้าข้า ขอพระสุคตจงเสวยรัชสมบัติโดยธรรม โดยที่ไม่
เบียดเบียนเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเอง ไม่ใช้ให้เขา
ทำคนอื่นให้เสื่อม ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ท่าให้ผู้อื่นเศร้าโศก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านเห็นอะไรของเรา
ทำไมจึงได้พูดกะเราอย่างนี้ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสวยรัชสมบัติเถิด
พระเจ้าข้า ขอพระสุคตจงเสวยรัชสมบัติโดยธรรม โดยที่ไม่เบียดเบียนเอง
ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเอง ไม่ใช้ให้เขาทำผู้อื่นให้เสื่อม
ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ทำให้ผู้อื่นเศร้าโศก.
มารกราบทูลว่า พระเจ้าข้า อิทธิบาททั้ง 4 พระองค์ทรงบำเพ็ญให้
เจริญ กระทำให้มาก กระทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นวัตถุที่ตั้ง กระทำไม่หยุด
สั่งสมปรารภด้วยดีแล้ว พระเจ้าข้า ก็เมื่อพระองค์ทรงพระประสงค์ ทรง