เมนู

สงฆ์และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลาย
เรียกบุคคลนั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิต
ของบุคคลนั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะ
เหตุนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึง
คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึง
ประกอบเนื่อง ๆ ซึ่งศรัทธา ศีล ความ
เลื่อมใส และความเห็นธรรมเถิด.


อรรถกถาทฬิททสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทฬิททสูตรที่ 4 ต่อไปนี้ :-
บทว่า มนุสฺสทฬิทฺโท คือ คนขัดสน. บทว่า มนุสฺสกปโณ
คือ ถึงความเป็นมนุษย์ควรกรุณา. บทว่า มนุสฺสวราโก คือเป็นคนเลว.
บทว่า ตตฺร แปลว่า ในที่นั้น . หรือในความรุ่งเรื่องนั้น. บทว่า อุชฺฌายนฺติ
แปลว่า เพ่งโทษ ได้แก่ คิดเเต่ความลามก. บทว่า ขิยฺยนฺติ คือประกาศ.
บทว่า วิปาเจนฺติ คือพูดเปิดเผยในที่นั้น ๆ. ในบทนี้ว่า เอโส โข มาริส
มีอนุปุพพีกถาดังต่อไปนี้
ได้ยินว่า เทวบุตรนั้น เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติ ได้เป็น
พระเจ้ากรุงพาราณสี ในแคว้นกาสี ทรงกระทำประทักษิณพระนคร ซึ่งยกธงชัย
และธงแผ่นผ้าขึ้น ประดับด้วยเครื่องประดับพระนครอย่างดี ด้วยสิริสมบัติ
ของพระองค์ อันฝูงชนจ้องมองเป็นตาเดียวกัน. ก็สมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า
องค์หนึ่ง มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ถึงพร้อมด้วยการฝึกตนอย่างดี มาจาก