เมนู

หนาหลายชั้น. บทว่า ขคฺคํ โอลคฺเคตฺวา ได้แก่ สะพายดาบ. บทว่า
ฉตฺเตน ได้แก่ กั้นเศวตฉัตรทิพย์ไว้เบื้องสูง. บทว่า อปพฺยามโต กริตฺวา
แปลว่า ห่างไม่ถึงวา. บทว่า จิรทกฺขิตานํ แปลว่า ประพฤติพรตมานาน.
ฤาษีทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจงถอยไปเสียจากนี้ จงเว้น เสียจากที่นี้ อย่ายืนเหนือ
ลม. บทว่า น เหตฺถ เทวา ความว่า พวกเทวดาหามีความสำคัญในกลิ่นของ
ผู้มีศีลนี้ว่า ปฏิกูลไม่. ท่านแสดงไว้ว่า ก็พวกเทวดามีความสำคัญในกลิ่น
ของผู้มีศีลว่า น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจทั้งนั้น.
จบอรรถกถาอารัญยกสูตรที่ 9

10. สมุททกสูตร



ว่าด้วยท้าวสมพรจอมอสูรถูกสาป



[899] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
[900] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมมากรูปด้วยกัน อาศัยอยู่ใน
กุฏีที่มุงบังด้วยใบไม้แทบฝั่งสมุทร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้นแล สงคราม
ระหว่างพวกเทวดากับ อสูรได้ประชิดกันแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล
พวกฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้นพากันคิดเห็นว่า พวกเทวดาตั้งอยู่ใน
ธรรม พวกอสูรไม่ตั้งอยู่ในธรรม ภัยนั้นพึงเกิดแก่พวกเราเพราะอสูรโดยแท้
อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรเข้าไปหาท้าวสมพรจอมอสูรแล้วขออภัยทานเถิด.

[901] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม
เหล่านั้น ได้อันตรธานไปในบรรณกุฎีแทบฝั่งสมุทร ไปปรากฏอยู่ตรงหน้าท้าว
สมพรจอมอสูรเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พวกฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ได้
กล่าวกะท้าวสมพรจอมอสูรด้วยคาถาว่า
พวกฤาษีมาขออภัยทานกะท้าวสมพร
การให้ภัยหรือให้อภัย ท่านกระทำได้
โดยแต่.

[902] ท้าวสมพรจอมอสูรได้กล่าวตอบว่า
การอภัยไม่มีแก่พวกฤาษี ผู้ชั่วช้าคบ
หาท้าวสักกะ เราให้เฉพาะแต่ภัยเท่านั้น
แก่พวกท่านผู้ขออภัย.

[903] พวกฤาษีกล่าวว่า
ท่านให้เฉพาะแต่ภัยเท่านั้นแก่พวก
เราผู้ขออภัย พวกเราขอรับเอาแต่อภัย
อย่างเดียว ส่วนภัยจงเป็นของท่านเถิด
บุคคลหว่านพืชเช่นใดย่อมได้ผลเช่นนั้น
คนทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วก็ย่อมได้ชั่ว แน่ะ
พ่อ ท่านหว่านพืชลงไปไว้แล้ว ท่านจัก
ต้องเสวยผลของมัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ได้
สาปแช่งท้าวสมพรจอมอสูร แล้วอันตรธานหายไปในที่ตรงหน้าท้าวสมพรจอม
อสูรแล้วไปปรากฏอยู่ในบรรณกุฎีแทบฝั่งสมุทร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง
เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.
[904] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสมพรจอมอสูรถูกฤาษี
ผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้นสาปแช่งแล้ว ได้ยินว่า ในคืนวันนั้น ตกใจ
หวาดหวั่นถึงสามครั้ง.
จบสมุททกสูตร
จบวรรคที่ 1


อรรถกถาสมุททกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสมุตตกสูตรที่ 10 ต่อไปนี้ :-
บทว่า สมุทฺทตีเร ปณฺณกุฏีสุ ความว่า พวกฤาษีอาศัยอยู่ใน
บรรณศาลา มีประการดังกล่าวแล้วบนหาดทราย มีสีเหมือนแผ่นเงินหลังมหา-
สมุทรในจักรวาล. บทว่า สิยาปิ นํ แก้เป็น สิสยาปิ อมฺหากํ แปลว่า
แม้พึงมีแก่พวกเรา บทว่า อภยทกฺขิณํ ยาเจยฺยาม ได้แก่ พึงขออภัยทาน.
นัยว่า สงความระหว่างเทวดาและอสูร โดยมากมีขึ้นที่หลังมหาสมุทร. ชัยชนะ
มิได้มีแก่พวกอสูรในทุกเวลา. พวกอสูรเป็นฝ่ายแพ้เสียหลายครั้ง.
พวกอสูรเหล่านั้น แพ้เทวดาแล้วพากันหนีไปทางอาศรมบทของพวก
ฤาษี โกรธว่า ท้าวสักกะ ปรึกษากับ พวกฤาษีเหล่านี้ ทำเราให้พินาศ โดยพวก
ท่านจับทั้งแม่ทั้งลูก. พวกอสูรจึงพากัน ทำลายหม้อน้ำดื่มและศาลาที่จงกรม
เป็นต้นในอาศรมบทนั้น. พวกฤาษีถืออาผลาจากป่ากลับมาเห็นช่วยกันทำ