เมนู

อรรถกถากุลาวกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในกุลาวกสูตร ที่ 6 ต่อไปนี้ :-
บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า ได้ยินว่า เสียงรถ เสียงม้าอาชาไนย
เสียงธง เหมือนเสียงฟ้าผ่ารอบด้านมีแก่ท้าวสักกะผู้บ่ายหน้าเข้าป่าไม้งิ้วนั้น
พวกครุฑผู้มีกำลังในป่างิ้วนั้น ได้ยินเสียงนั้นแล้ว ก็พากันหนี พวกครุฑที่
แก่เฒ่า ที่หมดแรงเพราะโรค และลูกนกที่ยังไม่เกิดขนปีก ไม่อาจจะหนีได้
กลัวตายตกใจร้องกันระเบ็งเซ็งแซ่. ท้าวสักกะได้ยินเสียงนั้นแล้วจึงตรัสถาม
สารถีมาตลีว่า เสียงอะไรพ่อ. สารถีมาตลีกราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ พวกครุฑ
ได้ยินเสียงรถของพระองค์ ไม่อาจจะหนีได้จึงร้อง. ท้าวสักกะได้ฟังคำนั้นแล้ว
มีพระทัยประกอบด้วยพระกรุณา จึงตรัส.
บทว่า อีสามุเขน คือ ทางงอนของรถ. รถจะไม่บดขยี้รังนกทาง
งอน ฉันใด ท่านจงหลีกรังนกนั้นด้วยทางงอนรถ ฉันนั้น. เพราะว่า รถที่
เกิดด้วยบุญเป็นปัจจัยมุ่งหน้าไปที่ภูเขาจักรวาลก็ดี ที่ภูเขาสิเนรุก็ดี ย่อมไม่ขัด
ข้อง ย่อมไปด้วยอำนาจการไปในอากาศ. ถ้าจะพึงไปทางป่างิ้วนั้น เมื่อเกวียน
ใหญ่ไปกลางป่างาก็ดี กลางป่าลุหุงก็ดี ป่าทั้งหมดก็ถูกเหยียบย่ำแหลกฉันใด
แม้ป่างิ้วนั้น ก็พึงเป็น ฉันนั้น.
จบอรรถกถกุลาวกสูตรที่ 6

7. นทุพภิยสูตร


ว่าด้วยการไม่ควรประทุษร้าย


[887] สาวัตถีนิทาน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทวดา
ผู้หลีกเร้นออกอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความตรึกนึกคิดขึ้นว่า เราไม่ควรประทุษร้าย
เเม้แก่ผู้ที่เป็นข้าศึกต่อเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติ
จอมอสูร ได้ทราบความดำริของท้าวสักกะจอมเทวดาด้วยใจของตนแล้ว เข้า
ไปหาท้าวสักกะจอมเทวดาจนถึงที่ประทับ .
[888] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ทอดพระเนตร
เห็นท้าวเวปจิตติจอมอสูรผู้มาแต่ไกลทีเดียว ครั้นแล้วจึงตรัสกะท้าวเวปจิตติ
จอมอสูรว่า หยุดเถอะ ท่านท้าวเวปจิตติ ท่านถูกจับเสียแล้ว.
ท้าวเวปจิตติตรัสถามว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านละทิ้งความคิด
เมื่อก่อนของท่านเสียแล้วหรือ.
ท้าวสักกะตรัสว่า ท้าวเวปจิตติ ก็ท่านจงสาบานเพื่อที่จะไม่ประทุษร้าย
ต่อเรา.
[889] ท้าวเวปจิตติตรัสคาถาว่า
แน่ะท้าวสุชัมบดี บาปของคนพูดเท็จ
บาปของคนผู้ติเตียนพระอริยะเจ้า บาป
ของคนผู้ประทุษร้ายต่อมิตร และบาปของ
คนอกตัญญู จงถูกต้องผู้ที่ประทุษร้าย
ต่อท่าน.