เมนู

ไม่มีจำนวนสิ้นสุด. ความสงบจากทุกข์อื่นจงยกไว้. จริงอยู่ ผู้มีจิตเลื่อมใส
แล้วนึกถึงปริตรนี้ย่อมไดที่พึ่งแม้ในอากาศ. ในข้อนั้น มีเรื่องดังนี้.
ได้ยินว่า เมื่อเขากำลังฉาบปูนขาวที่ทีฆวาปีเจดีย์ ชายหนุ่มคนหนึ่ง
ตกจากเชิงเวทีชั้นบนลงมาในโพรงพระเจดีย์. ภิกษุสงฆ์ยืนอยู่ข้างล่าง จึง
กล่าวว่า นึกถึงธชัคคปริตซิคุณ. เขาตกใจ กลัวตาย จึงกล่าวว่า ธชัคคปริตร
ช่วยผมด้วย ดังนี้. อิฐ 2 ก้อนหลุดจากโพรงเจดีย์ตั้งเป็นบันไดให้เขาทันที.
คนทั้งหลายก็หย่อนบันไดเถาวัลย์ที่อยู่ข้างบน. อิฐที่บันไดนั้น ก็ตั้งอยู่ตามเดิม.
จบอรรถกถาธชัคคสูตรที่ 3

4. เวปจิตติสูตร



พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญขันติธรรม



[867] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหาร
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ฯลฯ
[868] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงความระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกันแล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสกะพวกอสูรว่า
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงความระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกัน
พวกอสูรพึงชนะ พวกเทวดาพึงปราชัยไซร้ ท่านทั้งหลายพึงมัดท้าวสักกะ
จอมเทวดา ด้วยการมัดห้าแห่งอันมีคอเป็นที่ 5 แล้วพึงนำมายังอสูรบุรี ใน
สำนักของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ท้าวสักกะจอมเทวดาก็บัญชากะเทวดา

ชั้นดาวดึงส์ทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงความระหว่าง
เทวดากับอสูรประชิดกัน พวกเทวดาพึงชนะ พวกอสูรถึงปราชัยไซร้ ท่าน
ทั้งหลายพึงมัดท้าวเวปจิตติจอมอสูร ด้วยการมัดห้าแห่งอันมีคอเป็นที่ 5 แล้ว
พึงนำมายังสุธรรมาสภา ในสำนักของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลในสงความ
ครั้งนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรปราชัย ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ได้จับ
ท้าวเวปจิตติจอมอสูรมัดด้วยการมัดห้าแห่ง อันมีคอเป็นที่ 5 แล้วนำมายัง
สุธรรมาสภา ในสำนักของท้าวสักกะจอมเทวดา.
[869] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ทราบว่า ในครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติ
จอมอสูรถูกมัดด้วยการมัดห้าแห่งอันมีคอเป็นที่ 5 ได้ด่าบริภาษท้าวสักกะ
จอมเทวดา ซึ่งกำลังเสด็จเข้าและออกยังสุธรรมาสภา ด้วยวาจาอันหยาบคาย
มิใช่ของสัตบุรุษ.
[870] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มาตลีเทพบุตร ผู้สงเคราะห์
ได้ทูลถามท้าวสักกะจอมเทวดาด้วยคาถาว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะมฆวาฬ พระองค์
ได้ทรงสดับถ้อยคำอันหยาบคาย เฉพาะ
หน้า ของท้าวเวปจิตติจอมอสูร ยังทรง
อดทนได้ เพราะความกลัว หรือเพราะ
ไม่มีกำลัง พระเจ้าข้า.

[871] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
เราอดทนถ้อยคำอันหยาบคายของ
ท้าวเวปจิตติได้ เพราะความกลัวหรือ
เพราะไม่มีกำลัง ก็หาไม่ วิญญูชนผู้เช่นเรา
ไฉนจะพึงโต้ตอบกับคบพาลเล่า.

[872] มาตลีเทพบุตรทูลว่า
คนพาลไม่มีผู้กำราบ มันยิ่งกำเริบ
เพราะฉะนั้น ธีรชนพึงกำราบคนพาลด้วย
อาชญาอย่างรุนแรง.

[873] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติ
สงบระงับได้ เราเห็นว่าการสงบระงับได้
ของผู้นั้นแล เป็นการกำราบคนพาลละ.

[874] มาตลีเทพบุตรทูลว่า
ข้าแต่ท้าววาสวะ ข้าพระองค์เห็น
โทษในความอดทนนี้แล เมื่อใด คนพาล
ย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า ผู้นี้ย่อมอดกลั้น
ต่อเราเพราะความกลัว เมื่อนั้น คนมี
ปัญญาทรามยิ่งข่มขี่ผู้นั้น เหมือนโคยิ่ง
ข่มขี่โคตัวแพ้ที่หนีไป ฉะนั้น.

[875] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
บุคคลจงสำคัญเห็นว่า ผู้นี้อดกลั้น
ต่อเราเพราะความกลัวหรือหาไม่ก็ตามที
ประโยชน์ทั้งหลายมีประโยชน์ของตนเป็น
อย่างยิ่ง ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี ผู้ใด
แลเป็นคนมีกำลังอดกลั้นต่อคนผู้ทุรพล
ไว้ได้ ความอดกลั้นของผู้นั้น บัณฑิต

ทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง คน
ทุรพลจำต้องอดทนอยู่เป็นนิตย์ บัณฑิต
ทั้งหลายกล่าวกำลังของผู้ซึ่งมีกำลังอย่าง
คนพาลว่ามิใช่กำลัง ไม่มีผู้ใดที่จะกล่าว
โต้ต่อผู้มีกำลังผู้ซึงธรรมคุ้มครองแล้วได้
เลย เพราะความโกรธนั้น โทษที่ลามก
จึงมีแก่ผู้ที่โกรธตอบต่อผู้ที่โกรธ บุคคลผู้
ไม่โกรธตอบต่อผู้ที่โกรธ ย่อมชื่อว่าชนะ
สงความซึ่งเอาชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่น
โกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้น
ชื่อว่าประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย
คือ ทั้งฝ่ายตนและคนอื่น คนที่ไม่ฉลาด
ในธรรม ย่อมสำคัญเห็นผู้รักษาประโยชน์
ของทั้งสองฝ่าย คือ ของตนและของคน
อื่น ว่าเป็นคนโง่ ดังนี้.

[876] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทวดาพระองค์นั้น
เข้าไปอาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่ เสวยรัชสมบัติมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วย
ความเป็นอิสระแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ ยังพรรณนาคุณของขันติ และโสรัจจะ
ได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พวกเธอบวชแล้วในธรรมวินัยที่เรากล่าว
ชอบแล้วเช่นนี้ เป็นผู้อดทนและสงบเสงี่ยมนี้ จะพึงงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้.

อรรถกถาเวปจิตติสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในเวปจิตติสูตรที่ 4 ต่อไปนี้ :-
บทว่า เวปจิตฺตํ ความว่า ได้ยินว่า เขาเป็นหัวหน้าของพวกอสูร. บทว่า
เยน สักว่า เป็นนิบาต. บทว่า นํ แปลว่า นั้น . บทว่า กณฺฐปญฺเจเมหิ
ความว่า ที่มัด 5 แห่ง คือที่มือ 2 ที่เท้า 2 และที่คอ 1 ก็เครื่องมัดนั้นย่อมมา
สู่คลองจักษุ คือ ปิดกั้นอิริยาบถเหมือนใยบัว และเหมือนใยแมลงมุม. ก็ถูก
เขามัดด้วยเครื่องมัดเหล่านั้นไว้ด้วยจิต ก็ย่อมหลุดด้วยจิต. บทว่า อกฺโกสติ
ความว่า เขาย่อมด่าด้วยอักโกสวัตถุ 10 เหล่านั้นว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นพาล
เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นอูฐ เจ้าเป็นวัว เจ้าเป็นลา เจ้าเป็นสัตว์นรก เจ้าเป็น
สัตว์ดิรัจฉาน เจ้าไม่มีสุคติ เจ้าหวังแต่ทุคติเท่านั้น. บทว่า ปริภาสติ ความว่า
กล่าวคำเป็นต้นเหล่านี้ ขู่ว่า ดูก่อนเฒ่าสักกะ ท่านจักชนะทุกเวลาไม่ได้
เมื่อใดพวกอสูรจักชนะ. เมื่อนั้นเราจะมัดท่านอย่างนี้บ้าง จักให้นอนที่ประตูของ
แดนอสูรแล้วตี. ท้าวสักกะมีชัยชนะแล้ว ก็ใม่ใส่ใจคำของจอมอสูรนั้น. ก็แล
มีการรับของอย่างใหญ่ท้าวสักกะฉุดที่หัวของจอมอสูรนั้น เข้าไปสู่เทวสภาชื่อ
สุธัมมาและกลับออกมา. บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า มาตลีเทพบุตรพิจารณาว่า
ท้าวสักกะนี้อดทนต่อคำหยาบเหล่านี้ เพราะความกลัวหรือ หรือว่า เพราะเป็น
ผู้ประกอบด้วยอธิวาสนขันติ จึงทูลแล้ว.
บทว่า ทุพฺพเลฺยน แปลว่า ด้วยความอ่อนแอ. บทว่า ปฏิสํยุเช
แปลว่า จะพึงสมคบ คือจะพึงคลุกคลี. บทว่า ปภิชฺเชยฺยุํ แปลว่า จะพึง
ร้าวราน. บาลีว่า ปภุชฺเชยฺยํ บ้าง. บทว่า ปรํ แปลว่า ข้าศึก. บทว่า
โย สโต อุปสมฺมติ ความว่า ผู้ใดมีสติเข้าไประงับ อธิบายว่า เราเข้าไป