เมนู

[862] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทวดาพระองค์นั้น
อาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่ เสวยรัชสมบัติมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความ
เป็นอิสระแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงพรรณนาคุณแห่งความเพียร คือ
ความหมั่น ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอบวชแล้วในธรรมวินัยอันเรากล่าวชอบแล้ว
อย่างนี้ พึงหมั่นเพียร พยายาม เพื่อบรรลุมรรคผลที่ยังไม่บรรลุ เพื่อได้
มรรคผลที่ยังไม่ได้ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคผลอันตนยังมิได้ทำให้แจ้ง
ข้อนี้จะพึงงดงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้.

อรรถกถาสุสิมสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสุสิมสูตร ที่ 2 ต่อไปนี้ :-
บทว่า สุสิมํ คือ บุตรองค์หนึ่งมีชื่ออย่างนี้ ในระหว่างบุตรพันองค์
ของท้าวสักกะ.
จบอรรถกถาสุสิมสูตรที่ 2

3. ธชัคคสูตร



อานุภาพแห่งการระลึกถึงพระรัตนตรัย



[863] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหาร
เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย.

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
[864] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงความระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาตรัสเรียก
เทวดาชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี
ความหวาดเสียวก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จะพึงเกิดขึ้นแก่พวกเทวดา
ผู้ไปในสงคราม สมัยนั้น พวกท่านพึงแลดูยอดธงของเราทีเดียว เพราะว่า
เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้น ก็จักหายไป ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธง
ของเรา ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชเถิด เพราะว่า
เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาด
สะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกท่าน
ไม่แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราช ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของ
ท้าววรุณเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชอยู่
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้น
ก็จักหายไป หากพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราช ทีนั้นพวกท่าน
พึงแลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของ
ท้าวอีสานเทวราชอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพอง
สยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้น ก็จักหายไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเทวดาแลดูยอดธงของท้าวสักกะผู้เป็น
จอมแห่งเทวดาก็ดี แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่ก็ดี แลดูยอดธงของ
ท้าววรุณเทวราชอยู่ก็ดี แลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชอยู่ก็ดี ความกลัวก็ดี
ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้น พึงหายไปได้บ้าง

ไม่ได้บ้าง ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่า ท้าวสักกะ
ผู้เป็นจอมแห่งเทวดา ยังเป็นผู้ไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากโทสะ
ไม่ปราศจากโมหะ ยังเป็นผู้กลัว หวาดสะดุ้ง หนีไปอยู่.
[865] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี
พึงบังเกิดแก่พวกเธอผู้อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนที่ว่างเปล่าก็ดี
ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงเรานี้แหละว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่
ควรฝึกไม่มีผู้อื่นจะยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้
ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอ
ตามระลึกถึงเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขึ้นพองสยองเกล้า
ก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึงเรา ทีนั้นพวกเธอพึง
ตามระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว บุคคล
พึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้าไปในตน
อันวิญญูชนพึงรู้แจ้งได้เฉพาะคน ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า
เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึง
พระธรรม ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม
เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง พระสงฆ์นั้นคือใคร ได้แก่คู่แห่งบุรุษสี่รวมเป็นบุรุษ
บุคคลแปด นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรแก่สักการะ
ที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักขิณา เป็นผู้ควร

แก่การทำอัญชลี เป็นบุญเขตของโลก ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า เพราะว่า
เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่ง
อะไร เพราะว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ปราศจากราคะ
ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่เป็นผู้กลัว ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป.
[866] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิต
นี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่
ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่าง
เปล่าก็ดี พึงระลึกถึงพระสัมพุทธเจ้าเถิด
ความกลัวไม่พึงมีแก่เธอทั้งหลาย ถ้าว่าเธอ
ทั้งหลายไม่พึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้เจริญ
ที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน ทีนั้นเธอ
ทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรมอันนำออก
จากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว
ถ้าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึงพระธรรมอัน
นำออกจากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดง
ดีแล้ว ทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระ-
สงฆ์ผู้เป็นบุญเขต ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายระลึก
ถึงพระพุทธเจ้าพระธรรมและพระสงฆ์
อย่างนี้ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีเลย.

อรรถกถาธชัคคสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในธชัคคสูตรที่ 3 ต่อไปนี้ :-
บทว่า สมุปพฺยุฬฺโห คือ ประชุมกัน รวมกันเป็นกอง. บทว่า
ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ความว่า ได้ยินว่า รถของท้าวสักกะยาว 150 โยชน์
ตอนท้ายรถนั้น 50 โยชน์ ตอนกลางเป็นตัวรถ 50 โยชน์ ตั้งแต่ฝากถึงหัวรถ
50 โยชน์. อาจารย์บางคนขยายประมาณนั้นเป็น 2 เท่า กล่าวว่า ยาว 300
โยชน์บ้าง. ในรถนั้นปูลาดแท่นนั่งได้โยชน์หนึ่ง ตั้งฉัตรขาวขนาด 3 โยชน์
ไว้ข้างบน. ที่แอกอันเดียวกันเทียมม้าอาชาไนย 1,000 ตัว เครื่องตกแต่งที่เหลือ
ไม่มีประมาณ. ก็ธงของรถนั้นยกขึ้น 250 โยชน์. ธงที่ถูกลมพัดก็มีเสียงเจื้อยแจ้ว
คล้ายดุริยางค์ทั้ง 5 ท้าวสักกะตรัสว่า พวกเธอจงดูธงนั้น. ถามว่า เพราะ
เหตุไร. ตอบว่า เพราะเมื่อเทวะเห็นธงนั้น คิดว่า พระราชาของเรามายืน
อยู่ในที่ท้ายบริษัท เหมือนเสาที่เขาปักไว้ เราไม่กลัวใคร ดังนี้ จึงไม่กลัว.
บทว่า ปชาปติสฺส ความว่า ได้ยินว่า ท้าวปชาปตินั้น มีผิวพรรณเหมือน
กับท้าวสักกะ มีอายุเท่ากันได้ที่นั่งที่ 2. ถัดมาก็ท้าววรุณและท้าวอีสาน ก็แล
ท้าววรุณได้ที่นั่งที่ 3 ท้าวอีสานได้ที่นั่งที่ 4. บทว่า ปลายิ ความว่า แพ้
พวกอสูรแล้วยืนที่รถนั้น หรือเห็นธงแม้มีประมาณน้อยก็มีความหนีไปเป็น
ธรรมดา.
บทว่า อิติปิ โส ภควา เป็นต้น มีเนื้อความพิสดารแล้วในคัมภีร์
วิสุทธิมรรค บทว่า อิทมโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสธชัคค-
ปริตนี้. อานุภาพของปริตรใดย่อมเป็นไปในอาณาเขต คือ ในแสนโกฏิจักรวาล.
จริงอยู่ บุคคลทั้งหลายนึกถึงปริตรนี้ย่อมพ้นจากทุกข์ มียักขภัยและโจรภัยเป็นต้น