เมนู

อรรถกถาอาฬวกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอาฬวกสูตรที่ 12 ต่อไปนี้ :-
บทว่า อาฬวยํ ได้แก่ ที่อยู่นั้น เขาเรียกแว่นแคว้นบ้าง เมืองบ้าง
ชื่อว่าเมืองอาฬวี. สถานที่อยู่นั้นแล ตั้งอยู่ในที่ประมาณหนึ่งคาวุตไม่ไกลเมือง
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ในสถานที่นั้น เข้าไปอาศัยเมืองนั้น ท่านกล่าวว่า
ประทับ อยู่ในแว่นแคว้นอาฬวี. ก็ในบทว่า อาฬวกสฺส ยกฺขสฺส ภวเน นี้
มีอนุบุพพีกถาต่อไปนี้ ได้ยินว่า อาฬวกราชา ทรงทั้งเครื่องใช้สำหรับนัก
ฟ้อนรำไว้หลายอย่าง เสด็จไปล่าเนื้อ ในวันที่ 7 เพื่อปราบโจร เพื่อป้องกัน
พระราชาผู้เป็นศัตรูกัน และเพื่อกระทำความพยายาม ทำกติกากับกองพลใน
วันหนึ่งว่า เนื้อหนีไปช้างผู้ใด เนื้อนั้น เป็นภาระของผู้นั้นเท่านั้น. ครั้นนั้น
เนื้อหนีไปข้างพระราชานั้นเเล. พระราชาทรงถึงพร้อมด้วยเชาว์ ทรงธนู
ดำเนินตามเนื้อนั้นไปสิ้นสามโยชน์. ส่วนเนื้อทราย มีกำลังวิ่งได้เพียงสามโยชน์
เท่านั้น. ครั้งนั้น ท้าวเธอ ทรงฆ่าเนื้อนั้นที่หมดฝีเท้าเข้าไปสู่แหล่งน้ำยืนอยู่
ตัดออกเป็นสองท่อน แม้ไม่ต้องการด้วยเนื้อแต่หาบมาเพื่อได้พ้นความผิดว่า
พระราชาไม่สามารถจับเนื้อได้ ดังนี้ ทรงเห็นต้นไทรใหญ่มีใบหนาไม่ไกล
เมืองแล้ว จึงเสด็จไปถึงโคนต้นไทรนั้น เพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อย.
ณ ต้นไทรนั้น อาฬวกยักษ์ ได้ที่อยู่จากสำนักมหาราช กินสัตว์ที่เข้าไปยัง
โอกาสอันร่มเงาของต้นไม้นั้นถูกต้องแล้ว ในเวลาเที่ยง. ท้าวเธอทรงเห็นยักษ์
นั้น เข้ามาเพื่อจะกิน. พระราชาได้ทรงทำกติกากับยักษ์นั้นว่า ท่านปล่อย
เราเถิด เราจักส่งมนุษย์และถาดสำรับมาแก่ท่านทุก ๆ วัน. ยักษ์ทูลว่า พระองค์
มัวเมาด้วยเครื่องราชูปโภค จักทรงระลึกไม่ได้ แต่ข้าพระองค์ไม่ได้เพื่อจะกิน

สัตว์ที่ไม่เข้าไปถึงที่อยู่ และที่ไม่ได้รับอนุญาต ข้าพระองค์นั้น พึงเสื่อมจาก
ความเจริญดังนี้ จึงไม่ปล่อย. พระราชาตรัสว่า วันใด เราไม่ส่งไป วันนั้น
ท่านไปเรือนของเรา จับเรากินเถิด. ยักษ์จึงอนุญาตปล่อยพระองค์. แล้ว
พระองค์ได้เสด็จมุ่งทรงพระนคร.
กองพลตั้งค่ายอยู่ริมทาง เห็นพระราชาแล้วทูลอยู่ว่า ข้าแต่มหาราช
พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อย เพราะพระองค์มีภัยมาถึงหรือ ดังนี้ ลุกขึ้นต้อนรับ.
พระราซาทรงเล่าความเป็นไปนั้น เสด็จไปยังพระนคร เสวยพระกระยาหารเช้า
แล้วเรียกผู้รักษาพระนครมา ทรงบอกเรื่องนั้น. ผู้รักษาพระนครทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ พระองค์กำหนดเวลาหรือเปล่า. พระราชาตรัสว่าพนาย เราไม่กำหนด
ไว้. ผู้รักษาพระนคร.. ข้าแต่พระองค์ พระองค์ทรงทำไม่ถูกเพราะ พวกอมนุษย์
ย่อมได้เพียงการกำหนดไว้เท่านั้น เมื่อไม่กำหนดไว้ ชนบทจักถูกเบียดเบียน
ข้าแต่พระองค์ จงยกไว้เถิด พระองค์ได้ทรงกระทำอย่างนี้ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น
พระองค์จงทรงมีความขวนขวายน้อยเสวยรัชสุชสมบัติเถิด ข้าพระองค์จักทำสิ่ง
ที่ควร ทำในข้อนี้. เขาลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ยืนอยู่ที่ประตูเรือนจำกล่าวว่า ผู้ใด
ต้องการมีชีวิต ผู้นั้นจงออกไปเถิด หมายเอาเหล่าชนที่ถูกประหาร ผู้ใดออกไป
ก่อนเขาก็นำผู้นั้นไปเรือนให้อาบน้ำให้บริโภค ส่งไปด้วยคำว่า ท่านจงให้ถาด
สำรับนี้แก่ยักษ์เถิด. ยักษ์นิรมิตอัตภาพอันกลัวแล้วเคี้ยวกินผู้พอเข้าไปโคนไม้
นั้นนั่นแหละ เหมือนเหง้ามันฉะนั้น. ได้ยินว่า ด้วยอานุภาพของยักษ์สรีระ
ทั้งสิ้นมีผมเป็นต้นของพวกมนุษย์ เป็นเหมือนก้อนเนยใส. พวกคนที่เขาใช้ให้
ถือภัตไปให้แก่ยักษ์ เห็นยักษ์นั้นแล้วกลัวแล้ว จึงบอกแก่มิตรว่า พระราชา
จับพวกโจรให้ยักษ์จำเดิมแต่นั้น ดังนี้ . พวกมนุษย์เลิกทำโจรกรรม. สมัยต่อมา
เรือนจำว่าง เพราะโจรใหม่ไม่มี และเพราะโจรเก่าหมด.

ครั้งนั้น ผู้รักษาพระนครทูลพระราชาแล้ว. พระราชาจึงให้คนเอา
ทรัพย์ส่วนพระองค์ไปทิ้งไว้ที่ถนนในเมืองด้วยดำริว่า ถ้ากระไร ใคร ๆ พึงถือ
เอาด้วยความโลภ ใครๆ ไม่แตะต้องทรัพย์นั้นแม้ด้วยเท้า. ท้าวเธอ เมื่อไม่ได้
โจรจึงตรัสบอกแก่อำมาตย์ทั้งหลาย. พวกอำมาตย์ทูลว่า พวกข้าพระองค์จะส่ง
คนแก่ไปทีละคนตามลำดับตระกูล แม้ตามปกติ คนแก่นั้นใกล้จะตายอยู่แล้ว.
พระราชาตรัสห้ามว่า คนทั้งหลายจักทำการก่อกวนว่า พระราชาส่งพ่อของเรา
ส่งปู่ของเราไป ท่านทั้งหลายอย่าชอบใจข้อนั้นเลย. พวกอำมาตย์ทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ ถ้าอย่างนั้น พวกข้าพระองค์จะส่งเด็กที่ยังนอนแบเบาะไป ก็เด็กที่
เป็นอย่างนั้น ยังไม่มีความรักว่า แม่ของเรา พ่อของเราดังนี้ . พระราชา
ทรงอนุญาตแล้ว. พวกอำมาตย์ก็ได้ทำอย่างนั้นแล. มารดาของเด็กในเมือง
อุ้มเอาพวกเด็กไปและหญิงมีครรภ์หนีไป เลี้ยงเด็กให้เจริญเติบโตในชนบทอื่น
แล้วนำมา. ด้วยอาการอย่างนี้แล ล่วงไปแล้วได้ 12 ปี.
ต่อมาวันหนึ่ง พวกอำมาตย์ค้นหาทั่วพระนครแล้ว ก็ไม่ได้เด็กแม้แต่
คนเดียว จึงทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ เด็กในพระนครไม่มีเลย นอกจาก
อาฬวกกุมารโอรสของพระองค์ภายในบุรี. พระราชาตรัสว่า เรารักบุตรฉันใด
คนอยู่ในโลกทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน สิ่งที่น่ารักยิ่งกว่าตนไม่มีเลย ท่านจงไป
จงให้บุตรแม้นั้น แล้วรักษาชีวิตของเราเถิด. สมัยนั้น มารดาของอาฬวกกุมาร
ให้บุตรอาบน้ำแล้วตบแต่งทำเป็นเทริดสองชั้น นั่งให้บุตรนอนบนตักอยู่.
ราชบุรุษไปแล้วในที่นั้น ตามรับสั่งของพระราชา จับเอาบุตรนั้นกับแม่นม
ของมารดาผู้ร่ำไห้และของพระเทวีหนึ่งหมื่นหกพัน หลีกไปว่า พรุ่งนี้จักเป็น
ภิกษาของยักษ์. วันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเข้า
มหากรุณาสมาบัติ ในมหาคันธกุฏีเขตวันวิหาร เมื่อทรงตรวจดูโลกด้วย
พุทธจักษุ ได้ทรงเห็นอุปนิสัยของอาฬวกกุมารบรรลุอนาคามิผล ของยักษ์บรรลุ
โสดาปัตติผล และสัตว์ 84,000 ได้ดวงตาเห็นธรรมในที่สุดแห่งเทศนา ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เมื่อราตรีสว่างแล้ว เสวยพระกระ-
ยาหารก่อน ครั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันอุโบสถแห่งกาฬปักข์เป็นไปอยู่
เมื่อดวงอาทิตย์ตก พระองค์เดียวไม่มีเพื่อนสอง ทรงบาตรและจีวร เสด็จจาก
กรุงสาวัตถีไป 30 โยชน์ด้วยพระบาททีเดียว เสด็จเข้าไปที่อยู่ของยักษ์นั้น.
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับในที่อยู่ของอาฬวก
ยักษ์.
ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับที่โคนต้นไทร หรือในที่อยู่ของ
อาฬวกยักษ์ ตอบว่า ในที่อยู่. เปรียบเหมือนพวกยักษ์ ย่อมเห็นที่อยู่ของตน
ฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น . พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เสด็จไป ณ ที่นั้น ประทับยืนอยู่ใกล้ประตูที่อยู่. ในกาลนั้น อาฬวกยักษ์ได้
ไปสู่ยักขสมาคมในป่าหิมวันต์ ต่อมา ยักษ์มีนามว่า คัทรภะ ผู้รักษาประตูของ
อาฬวกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จมาในเวลาวิกาลหรือ.
ภ. ใช่คัทรภะ เรามาเวลาวิกาล ถ้าท่านไม่หนักใจ เราพึงอยู่ ในที่อยู่
ของอาฬวกยักษ์คืนหนึ่ง.
ค. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่หนักใจพระเจ้าข้า อนึ่ง ยักษ์
นั้น หยาบคายร้ายกาจไม่ทำการอภิวาทเป็นต้นแม้แก่มารดาบิดา เขาก็ไม่ชอบใจ
การอยู่ในที่นี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ภ. คัทรภะ เรารู้ที่อยู่ของอาฬวกยักษ์นั้น และอันตรายบางอย่างจัก
ไม่มีแก่เรา ถ้าท่านไม่หนักใจ เราพึงพักอยู่คืนเดียว.
คัทรภะยักษ์ ได้กราบทูลคำนั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ครั้งที่สองว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาฬวกยักษ์ เช่นกระเบื้องร้อนจัด ไม่รู้จักว่า มารดา
บิดา ว่าสมณพราหมณ์ หรือว่าธรรม ย่อมทำจิตของบุคคลผู้มาแล้ว ในที่นี้
ให้ฟุ้งซ่านบ้าง ฉีกหัวใจบ้าง จับที่เท้าบ้าง เหวี่ยงไปสมุทรฝั่งโน้น หรือ

จักรวาลข้างโน้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแม้ครั้งที่สองว่า คัทรภะ เรารู้ ถ้า
ท่านไม่หนักใจ เราพึงพักอยู่คืนเดียว.
ค. ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพองค์ไม่หนักใจพระเจ้าข้า อนึ่ง
ยักษ์นั้นจักพึงฆ่าข้าพระองค์ ผู้ไม่บอกขออนุญาตเสียจากชีวิตก็ได้ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพองค์จะบอกแก่ยักษ์นั้น.
ภ. คัทรภะ ขอท่านบอกได้ตามสบาย.
ค. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงรู้เถิด ดังนี้
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า มุ่งหน้าต่อหิมวันต์หลีกไป. แม้ประตูที่อยู่ได้
เปิดช่องถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าเองทีเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไป
ภายในที่อยู่ อาฬวกยักษ์นั่งแล้ว ในวันมงคลเป็นต้น ที่กำหนดไว้แล้ว ณ
บัลลังก์ใด เสวยสิริอยู่ ประทับนั่งแล้วบนบัลลังก์นั้น ซึ่งสำเร็จด้วยทิพยรัตนะ
เปล่งรัศมีทอง. หญิงทั้งหลายของยักษ์ เห็นรัศมีทอง มาถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคเจ้านั่งแวดล้อม. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสปกิณณกธรรมกถาแก่หญิง
เหล่านั้น โดยนัยเป็นต้นว่า ในกาลก่อน พวกท่านถวายทาน สมาทานศีล
บูชาผู้ควรบูชา จึงได้สมบัตินี้ แม้ในบัดนี้ ขอพวกท่านจงทำอย่างนั้นแล อย่า
เป็นผู้มีอิสสาและมัจฉริยะกันและกันเลย. หญิงเหล่านั้น ฟังเสียงกึกก้อง
อันไพเราะของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ให้สาธุการพันหนึ่ง จึงนั่งแวดล้อม
พระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้คัทรภะยักษ์ไปป่าหิมวันต์ บอกแก่อาฬวกยักษ์นั้นว่า
ขอเดชะ ข้าแต่ท่านนิรทุกข์ ท่านพึงทราบ พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่ง
แล้วในวิมานของท่าน. อาฬวกยักษ์นั้น ทำสัญญาแก่คัทรภะยักษ์ว่า ท่านนิ่ง
เสียเถิด เราไปแล้วจักทำสิ่งที่ควรทำ. นัยว่า ยักษ์นั้น เกิดความอายในบริษัท
เพราะฉะนั้น จึงได้ทำอย่งนั้น ด้วยคิดว่า ใคร ๆ อย่าได้ยินในท่ามกลางบริษัท.
ในกาลนั้น สาตาคิริยักษ์และเหมวตายักษ์ คิดว่า เราถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าในพระเชตวันแล้วจักไปสมาคมยักษ์ พร้อมกับบริวาร

ไปทางอากาศด้วยยานต่าง ๆ กัน. ก็ในอากาศทุกแห่งไม่มีทางสำหรับพวกยักษ์
เลย. ทางกับทางจดกันถึงวิมานที่ลอยอยู่ในอากาศ. ส่วนวิมานของอาฬวกยักษ่
ตั้งอยู่บนพื้นดินมีผู้รักษา ล้อมด้วยกำแพงมีซุ้มประตูจัดไว้ดีแล้ว สูงสามโยชน์
เช่นหีบดินคาดด้วยข่ายโลหะข้างบน เบื้องบนวิมานนั้น มีทางเดิน. ยักษ์
เหล่านั้นมาถึงประเทศนั้นแล้วไม่สามารถจะไปได้. ก็ในส่วนเบื้องบนโอกาสที่
พระพุทธเจ้าประทับนั่งแล้ว จนถึงภวัคคพรหม ใครๆไม่สามารถจะไปได้. ยักษ์
เหล่านั้นรำพึงว่า นี้อะไร เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงลงมาถวายบังคม
เหมือนก้อนดินที่เขาซัดไปในอากาศแล้วตกลง ฟังธรรม ทำประทักษิณกราบทูล
ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์จะไปยักขสมาคมเมื่อสรรเสริญวัตถุ
สามคือพระรัตนตรัยเเล้ว ได้ไปยังยักขสมาคม อาฬวกยักษ์เห็นยักษ์เหล่านั้น
ถอยไป ได้ทำโอกาสว่า ขอท่านทั้งหลายจงนั่งที่นี้. ยักษ์เหล่านั้นประกาศแก่
อาฬวกยักษ์ว่า อาฬวกะ ลาภของท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่อยู่
ของท่าน ขอท่านผู้มีอายุ จงเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. พระผู้มี
พระภาคเจ้า ประทับอยู่ในที่อยู่อย่างนี้ มิใช่ประทับอยู่ที่โคนต้นไทร ซึ่งเป็น
สถานที่อยู่ของอาฬวกยักษ์. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สมัยหนึ่ง พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ประทับในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ ณ เมืองอาฬวี.
ครั้งนั้นแล อาฬกยักษ์ ฯลฯ ได้กล่าวคำนั้นว่า ท่านจงออกไป
สมณะ. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร อาฬวกยักษ์นี้ จึงได้กล่าวคำนั้น. ตอบว่า
เพราะประสงค์จะให้สมณะโกรธ. ในข้อนั้น พึงทราบความสัมพันธ์ จำเดิม
แต่ต้นไปอย่างนี้ ก็เพราะคนไม่มีศรัทธา จะพูดเรื่องศรัทธา พูดยาก. เหมือน
คนทุศีลเป็นต้น จะพูดเรื่องศีลเป็นต้น พูดยาก ฉะนั้น อาฬวกยักษ์นี้ ฟัง
การสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าจากสำนักของยักษ์เหล่านั้นแล้ว เป็นผู้มีใจ
ดังตะฏะตะฏะอยู่เพราะโกรธภายใน เหมือนก้อนเกลือที่ใส่ในไฟ จึงพูดว่า
ใครเล่าเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ซึ่งเข้าไปยังที่อยู่ของเรา. ยักษ์เหล่านั้น

กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุไม่รู้จักพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นศาสดาของพวกเรา เมื่อ
กล่าวโดยนัยเป็นต้นว่า ผู้อยู่ในภพดุสิตตรวจดูมหาวิโลก 5 ครั้ง จนถึงยัง
ธรรมจักรให้เป็นไป กล่าวถึงบุรพนิมิต 32 ประการในปฏิสนธิเป็นต้นแล้ว
จึงกล่าวว่า ผู้มีอายุ ท่านไม่ได้เห็นอัศจรรย์ แม้เหล่านี้. อาฬวกยักษ์นั้น
แม้เห็นแล้ว ก็พูดว่า ไม่เห็น ด้วยอำนาจความโกรธ. ยักษ์ทั้งหลายกล่าวว่า
อาฬวกะผู้มีอายุ ท่านพึงเห็น หรือไม่เห็นก็ตาม ประโยชน์อะไรด้วยท่านจะเห็น
หรือไม่เห็น ท่านจักทำอะไรพระศาสดาของพวกเราได้ ท่านเปรียบพระศาสดา
นั้น ปรากฏเหมือนลูกโคเกิดในวันนั้น ในที่ใกล้โคใหญ่ที่ทรงกำลัง เหมือน
ลูกช้างรุ่น ในที่ใกล้ช้างซับมัน โดยส่วนสาม เหมือนสุนัขจิ้งจอกแก่ ในที่ใกล้
พญาเนื้อ มีคองามด้วยขนห้อยมีแสงพราวแพรว เหมือนลูกกาปีกขาด ในที่
ใกล้พญาครุฑมีร่างใหญ่ 150 โยชน์ ท่านจงไป จงทำกิจซึ่งท่านควรทำเถิด.
เมื่อพวกยักษ์กล่าวอย่างนี้ อาฬวกยักษ์โกรธ ลุกขึ้นกระทืบเท้าซ้าย บนแผ่นมโน
ศิลากล่าวว่า วันนี้ พวกเจ้าจะได้เห็นกัน พระศาสดาของพวกเจ้า มีอานุภาพ
มาก หรือว่า เรามีอานุภาพมากดังนี้ แล้วยกเท้าขวา เหยียบยอดภูเขาไกรลาส
ประมาณ 60 โยชน์. เพราะฉะนั้น ก้อนเหล็กกระจายออกสะเก็ดกระเด็น เหมือน
ทุบด้วยค้อนเหล็ก เขายืนบนภูเขานั้น ประกาศว่าเราเป็นอาฬวกยักษ์. เสียง
กระจายไปทั่วชมพูทวีป.
ได้ยินว่า คนในชมพูทวีป ได้ยินเสียง 4 อย่างทั่วกันคือ เสนาบดี
ยักษ์ ชื่อปุณณกะชนะการพนันของพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะ ปรบมือประกาศว่า
เราชนะแล้ว. ท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมเทพ เมื่อศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า กัสสปะ เสื่อมลง จึงให้วิศวกรรมเทพบุตรเป็นสุนัข ประกาศว่า เรา
จะกัดภิกษุชั่ว ภิกษุณีชั่ว อุบาสก อุบาสิกา และอธรรมวาทีบุคคลทั้งปวง.
เมื่อพระนครถูกพระราชา 7 พระองค์ เข้าไปปิดแล้ว เพราะมีนางปภาวดีเป็น

เหตุ ในกุสชาดก พระมหาบุรุษ ยกนางปภาวดีขึ้นคอช้างกับตน ออกไปจาก
พระนครประกาศว่า เราเป็นสีหัสสรกุสมหาราช. อาฬวกยักษ์ ยืนบนยอดเขา
ไกรลาส. ความจริง ในคราวนั้นอาฬวกยักษ์ได้เป็นเช่นกันบุคคลยืนประกาศที่
ประตูในสกลชมพูทวีป. อนึ่ง ป่าหิมพานต์กว้างสามพันโยชน์ หวั่นไหวแล้ว
ด้วยอานุภาพของยักษ์.
ยักษ์นั้น บันดาลให้ลมบ้าหมู เกิดขึ้นด้วยคิดว่า เราจักให้สมณะหนีไป
ด้วยลมบ้าหมูนั้นแล. ลมเหล่านั้นต่างด้วยลมตะวันออกเป็นต้น เกิดขึ้นแล้ว
ทำลายยอดภูเขาได้ประมาณกึ่งโยชน์ หนึ่งโยชน์ สองโยชน์ สามโยชน์ ถอนก่อ
ต้นไม้ในป่าเป็นต้น ทั้งรากพัดไปยังอาฬวีนคร ทำลายโรงช้างเก่าให้เป็นผุยผง.
กระเบื้องมุงหมุนลอยไปในอากาศ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอธิษฐานว่า
อันตรายจงอย่ามีแก่ใคร ๆ เลย. ลมเหล่านั้นถึงพระทศพล ไม่อาจแล้วเพื่อจะให้
แม้แต่เพียงชายจีวรไหวได้ แต่นั้น บันดาลให้ฝนใหญ่ตก ด้วยคิดว่า
เราจะให้น้ำท่วมสมณะตาย. เมฆตั้งขึ้นเบื้องบนยังฝนให้ตก ฝนร้อยห่า พันห่า
เป็นต้นด้วยอานุภาพของยักษ์นั้น. แผ่นดิน เป็นช่องด้วยกำลังสายฝน. ห้วง
น้ำใหญ่หลากมาบนต้นไม้ในป่าเป็นต้น ไม่อาจเพื่อจะให้แม้เพียงหยาดน้ำเปียก
ที่จีวรพระทศพลได้ แต่นั้น บันดาลให้ฝนแผ่นหินตก ยอดภูเขาใหญ่ ๆ มีควัน
ลุกโพลงลอยมาทางอากาศถึงพระทศพล กลายเป็นกลุ่มดอกไม้ทิพย์. แต่นั้น
บันดาลให้ฝนเครื่องประหารตก. ศัสตรามีดาบ หอก ลุกธนูเป็นต้น ที่มีคม
ข้างเดียว มีคมสองข้างมีควันลุกโพลงลอยมาทางอากาศถึงพระทศพล กลายเป็น
ดอกไม้ทิพย์. แต่นั้น บันดาลให้ฝนถ่านเพลิงตก. ถ่านเพลิงมีสีคล้ายดอกทอง
กวาว ลอยมาทางอากาศกระจายเป็นดอกไม้ทิพย์ใกล้พระบาทพระทศพล. แต่
นั้น บันดาลให้ฝนเถ้ารึงตก. เถ้ารึงร้อนจัดลอยมาทางอากาศตกลงเป็นผงจันทน์
ใกล้พระบาทพระทศพล. แต่นั้น บันดาลให้ฝนทรายตก. ทรายละเอียดมาก

มีควันลุกโพลงลอยมาทางอากาศ ตกลงเป็นดอกไม้ทิพย์ใกล้พระบาทพระทศพล.
แต่นั้น บันดาลให้ฝนเปือกตมตก, ฝนเปือกตมนั้น มีควันลุกโพลงลอยมาทาง
อากาศตกลงเป็นของหอมทิพย์ใกล้พระบาทพระทศพล. แต่นั้น บันดาลให้
ความมืดตั้งขึ้นด้วยคิดว่า เราจักให้สมณะ กลัวแล้วหนีไป. ความมืดนั้น
เช่นกับความมืดประกอบด้วยองค์สี่ถึงพระทศพลก็หายไป เหมือนถูกแสงสว่าง
ดวงอาทิตย์กำจัดฉะนั้น.
ยักษ์ เมื่อไม่สามารถให้พระผู้มีพระภาคเจ้าหนีได้ด้วยลมบ้าหมู ฝน
ใหญ่ ฝนแผ่นหิน ฝนเครื่องประหาร ฝนถ่านเพลิง ฝนเถ้ารึง ฝนทราย
ฝนเปือกตม และด้วยความมืด รวม 9 อย่างเหล่านี้ เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยตนเอง ด้วยเสนามีองค์สี่ เกลื่อนกล่นด้วยพวกผีมีรูปหลายอย่าง เพื่อประหาร
มีอย่างต่าง ๆ กัน. พวกผีเหล่านั้น ทำอาการแปลกประหลาดหลายประการแล้ว
กล่าวว่า พวกเจ้าจงรับ จงฆ่าเสียเถิด ประหนึ่งว่า ต่างพากันมาอยู่เบื้องบน
พระผู้มีพระภาคเจ้า. แต่ก็ไม่สามารถเข้าไปติดพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ เหมือน
แมลงวันเกาะแท่งโลหะที่กำลังเป่าฉะนั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ มารกลับแล้วใน
เวลามาที่โพธิมัณฑ์เท่านั้น ฉันใด พวกผีไม่กล้าฉันนั้น ได้กระทำความยุ่งเหยิง
อยู่ประมาณครึ่งคืน. อาฬวกยักษ์ เมื่อไม่อาจให้พระผู้มีพระภาคเจ้าหวั่นไหวได้
แม้ด้วยการแสดงสิ่งที่น่ากลัวหลายประการประมาณครึ่งคืน ด้วยอาการอย่างนี้
แล้วจึงคิดว่า ถ้ากระไร เราพึงปล่อยทุสสาวุธ อัน ใคร ๆ ทำให้แพ้ไม่ได้ดังนี้.
นัยว่า อาวุธ 4 อย่างคือ วชิราวุธ
ของท้าวสักกะ 1 คทาวุธของท้าวเวสวัณ 1
นัยนาวุธของพญายม 1 ทุสสาวุธของอาฬวก
ยักษ์ 1 เป็นอาวุธประเสริฐในใลก.

ก็ถ้าท้าวสักกะโกรธ พึงประหารวชิราวุธบนยอดภุเขาสิเนรุ พึงแทง
ทะลุลงไปภายใต้ได้ตลอด 168,000 โยชน์. คทาวุธอันท้าวเวสวัณปล่อยไปใน
เวลาโกรธ ตีศีรษะของยักษ์หลายพันให้ตกลงแล้ว กลับนาตั้งอยู่ยังเงื้อมมืออีก
ด้วยเหตุเพียงพญายมโกรธ มองดูด้วยนัยนาวุธ พวกกุมภัณฑ์หลายพัน ล้ม
พินาศไป เหมือนหญ้าบนกระเบื้องร้อน. ถ้าอาฬวกยักษ์โกรธ พึงปล่อย
ทุสสาวุธไปในอากาศ ฝนไม่ตกตลอด 12 ปี ถ้าปล่อยไปในแผ่นดิน รุกขชาติ
มีต้นไม้และหญ้าทั้งหมดเป็นต้น เหี่ยวแห้งแล้ว จะไม่งอกขึ้นอีกในระหว่าง
12 ปี. ถ้าปล่อยไปในสมุทร น้ำจะแห้งหมด เหมือนหยาดน้ำบนกระเบื้อง
ร้อน. ถ้าปล่อยไปที่ภูเขาแม้เช่นสิเนรุ ภูเขาพึงกระจายออกเป็นชิ้นใหญ่ชิ้นน้อย.
อาฬวกยักษ์นั้น ปล่อยทุสสาวุธมีอานุภาพมากอย่างนี้ทำให้เป็นผ้าคลุม
จับไว้แล้ว. โดยมากเทวดาในหมื่นโํลกธาตุ รีบประชุมกันว่า วันนี้พระผู้
พระภาคเจ้า จักทรมานอาฬวกยักษ์ พวกเรา จักฟังธรรมในที่นั้น. เทวดา
แม้ประสงค์จะชมยุทธวิธี ประชุมกันแล้ว อากาศแม้ทั้งสิ้น ได้เต็มแล้ว
ด้วยเทวดาอย่างนี้.
ครั้งนั้น อาฬวกยักษ์ เที่ยวไปแล้ว จึงปล่อยวัตถาวุธไปเบื้องบนใกล้
พระผู้มีพระภาคเจ้า. วัตถาวุธนั้น ส่งเสียงน่ากลัวมีควันลุกโพลงในอากาศ
เหมือนฟ้าแลบ ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ตกลงใกล้พระบาทกลายเป็นท่อน
ผ้าเช็ดเท้า เพื่อทำลายมานะของยักษ์. อาฬวกยักษ์ เห็นดังนั้น เป็นผู้หมด
อำนาจ หมดความจองหอง ลดมานะอันแข็งกระด้าง เปรียบเหมือนโคเขาขาด
เหมือนงูถูกถอนเขี้ยว จึงคิดว่า ทุสสาวุธของเราไม่ครอบงำสมณะ เหตุอะไร
หนอ เหตุนี้ สมณะประกอบด้วยเมตตาวิหารธรรม เอาเถิด เราแค้นสมณะ
นั้น จะพรากเสียจากเมตตา ข้อนั้น ท่านกล่าวไว้ด้วยสัมพันธ์ดังนี้ว่า ครั้งนั้นแล
อาฬวกยักษ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ท่านจงออกไปเถิด สมณะ

ในข้อนั้น มีอธิบายดังนี้ว่า เพราะท่านไม่ได้รับอนุญาตเรา เข้าไปยังที่อยู่ของ
เราแล้ว ยังนั่งในท่ามกลางเรือนสนมเหมือนเจ้าของเรือน ข้อนี้คือการบริโภค
สิ่งที่เขาไม่ได้ และการคลุกคลีกับหญิง ไม่ควรแก่สมณะ ฉะนั้น ถ้าท่าน
ตั้งอยู่ในสมณธรรม ขอท่านจงออกไปเถิดสมณะ. ส่วนอาจารย์บางคนกล่าวว่า
อนึ่ง อาฬวกยักษ์นี้แล กล่าวคำหยาบอื่นเหล่านั้นแล้ว จึงได้กล่าวคำนี้อย่างนี้.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้ว่า เพราะอาฬวกยักษ์ เป็น
ผู้กระด้าง ใครไม่อาจแนะนำด้วยความกระด้างตอบได้ เพราะว่า เขาเมื่อใคร
ทำความกระด้างตอบ ก็กลับเป็นผู้กระด้างขึ้นกว่า เหมือนคนราดน้ำดีที่
จมูกของสุนัขดุร้าย สุนัขนั้น พึงดุร้ายขึ้นโดยประมาณยิ่งฉะนั้น ส่วนอาฬวก
ยักษ์ อาจแนะนำได้ด้วยควานอ่อนโยนดังนี้ ทรงรับคำเป็นที่รักของอาฬวกยักษ์
นั้น ด้วยพระดำรัสเป็นที่รักว่า ดีละ ผู้มีอายุ แล้วจึงเสด็จออกไป. เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เสด็จออกไป ด้วยพระดำรัสว่า ดีละ
ผู้มีอายุ.
แต่นั้น อาฬวกยักษ์ เป็นผู้มีจิตอ่อนด้วยคิดว่า สมณะนี้ หนอว่าง่าย
พูดคำเดียว ก็ออกไป. เราพึงครอบงำสมณะผู้อยู่สบาย ให้ออกไปชื่ออย่างนี้
โดยไม่ใช่เหตุด้วยการรบ ตลอดคืนดังนี้ จึงคิดอีกว่า เราไม่อาจรู้ได้แม้บัดนี้
สมณะออกไป เพราะเป็นผู้ว่าง่ายหรือ หรือว่า โกรธออกไป เอาเถิด เราจัก
ทดลองดู. ลำดับนั้น จึงกล่าวว่า ท่านจงเข้าไปหาเถิด สมณะ. ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสคำเป็นที่รักแก่อาฬกยักษ์ ผู้มีจิตอ่อนด้วยเข้าใจว่า
เป็นผู้ว่าง่ายอีก เพื่อทำการกำหนดจิต จึงตรัสว่า ดีละ ผู้มีอายุ ก็เสด็จเข้าไป.
อาฬวกยักษ์ทดลองความเป็นผู้ว่าง่ายนั้นแลบ่อยๆ จึงกล่าวครั้งที่สอง ครั้งที่สาม
ว่า ท่านจงออกมา ท่านจงเข้าไปดังนี้. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำตาม
นั้น. ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่พึงทำตามปกติ จิตของยักษ์กระด้างจะกลับ

กระด้างขึ้นกว่า ไม่พึงเป็นภาชนะแห่งธรรมกถา. เพราะฉะนั้น บุตรน้อยย่อม
ปรารถนาสิ่งใด มารดาให้ หรือกระทำสิ่งนั้นแล้ว จึงปลอบบุตรน้อยผู้ร้องไห้อยู่
ให้ยินยอมได้ ชื่อฉันใด ยักษ์นั้น กล่าวสิ่งใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงทำ
สิ่งนั้น เพื่อปลอบให้ยักษ์ ผู้ร้องไห้อยู่ด้วยการร้องไห้ คือกิเลสยินยอมฉันนั้น.
อนึ่ง แม่นมให้สิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งกอดจูบทารก ผู้ไม่ดื่มน้ำนั้นแล้ว
ให้ดื่มฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ฉันนั้น โอบรัดไว้ด้วยสรรหาถ้อยคำที่
กล่าวแล้วแก่ยักษ์นั้น เพื่อให้ยักษ์ได้ดื่มน้ำนมคือโลกุตรธรรม จึงได้ทรง
กระทำแล้ว. อนึ่ง บุรุษประสงค์จะบรรจุของอร่อย 4 อย่าง ให้เต็มในน้ำเต้า
ย่อมชำระภายในน้ำเต้านั้นให้สะอาดฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะ
บรรจุของอร่อย 4 อย่าง คือ โลกุตรธรรมให้เต็มในจิตของยักษ์ฉันนั้นได้ทรง
กระทำการออกและการเข้าจนถึงสามครั้ง ก็เพื่อให้มละคือความโกรธภายในของ
ยักษ์นั้นหมดจด.
ครั้งนั้น อาฬวกยักษ์ให้เกิดจิตลามกขึ้นว่า สมณะนี้ว่าง่าย เราสั่งว่า
ท่านจงออก ก็ออก. สั่งว่าท่านจงเข้าก็เข้า ถ้ากระไร เราให้สมณะนี้ลำบาก
ตลอดคืนยังรุ่งอย่างนี้แล้ว พึงจับที่เท้าเหวี่ยงไปที่ฝั่งแม่น้ำคงคาดังนี้ จึงกล่าว
ครั้งที่ 4 ว่า ท่านจงออก สมณะ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบข้อนั้นแล้ว
จึงตรัสว่า น ขฺวาหนฺตํ. เมื่อยักษ์นั้น กล่าวอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทราบว่า ยักษ์แสวงหากรณียกิจที่ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น จักสำคัญปัญหาที่ควร
ถาม ข้อนั้น จักเป็นมุขธรรมกถา จึงตรัสว่า น ขฺวาหนฺตํ. ศัพท์ว่า
ในบทนั้น ลงในอรรถว่า ปฏิเสธ. ศัพท์ว่า โข ลงในอรรถว่า อวธารณะ.
บทว่า อหํ คือแสดงตน. บทว่า ตํ คือคำที่เป็นเหตุ เพราะเหตุนั้นแล
พึงเห็นความในข้อนี้ อย่างนี้ว่า เพราะท่านคิดอย่างนี้ ฉะนั้น ผู้มีอายุ เรา
จักไม่ออกเด็ดขาด สิ่งใด ท่านควรทำ ท่านจงทำสิ่งนั้นเถิด.

แต่นั้น เพราะอาฬวกยักษ์ ได้ถามปัญหาพวกดาบสและปริพาชก ผู้มี
ฤทธิ์มาสู่วิมานของตน ในเวลาไปโดยทางอากาศ แม้ในกาลก่อนด้วยการคิด
อย่างนี้ว่า วิมานทอง หรือวิมานเงิน หรือวิมานแก้วมณีอย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่
อย่างไรหนอ เอาเถิด พวกเราจะดูวิมานนั้น ดังนี้ เมื่อตอบไม่ได้ จึงเบียดเบียน
ด้วยทำจิตให้ฟุ้งซ่านเป็นต้น ฉะนั้นจึงสำคัญอยู่ว่า เราจักเบียดเบียนแม้พระผู้มี-
พระภาคเจ้าอย่างนั้น จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ปญฺหํ ตํ ดังนี้.
ถามว่า ก็ปัญหา ยักษ์นั้น เรียนมาแต่ไหน. ตอบว่า ได้ยินว่า
มารดาบิดาของเขาเข้าไปหากัสสปะพระผู้มีพระภาคเจ้า เรียนได้ปัญหา 8 ข้อ
พร้อมด้วยคำเฉลย. ท่านเหล่านั้น ให้อาฬวกยักษ์เรียนไว้แล้วในเวลาหนุ่ม. เขา
ลืมคำเฉลยหมดโดยกาลล่วงไป. ต่อแต่นั้นคิดว่า แม้ปัญหาเหล่านี้ จงอย่า
พินาศเสียดังนี้ จึงให้เขียนลงบนแผ่นทองด้วยชาด เสร็จแล้ว ก็เก็บไว้ในวิมาน.
ปัญหาเหล่านั้น ล้วนเป็นปัญหาของพระพุทธเจ้า เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า
เท่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงฟังปัญหานั้น เพราะอันตรายแห่งลาภที่สละ
เพื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี อันตรายชีวิตก็ดี การกำจัดพระสัพพัญญุตญาณและ
รัศมีวาหนึ่งก็ดี ใคร ๆ ไม่อาจทำได้ ฉะนั้น เมื่อทรงแสดงพุทธานุภาพอันไม่
ทั่วไปนั้นในโลก จึงตรัสคำเป็นต้นว่า เราไม่เห็นใครเลยในโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงห้ามความคิดเบียดเบียนของอาฬวกยักษ์นั้น
อย่างนี้แล้ว เมื่อให้เขาเกิดความอุตสาหะในการถามปัญหาจึงตรัสว่าเอาเถิด ท่าน
มีอายุ เชิญถามปัญหาตามที่ท่านจำนงเถิด. เนื้อความแห่งปัญหานั้นว่า ถ้า
ท่านจำนง เชิญท่านถามเถิด ในการตอบปัญหาไม่เป็นเรื่องหนักสำหรับเรา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปวารณาพระสัพพัญญูปวารณาไม่ทั่วไปกับพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวกและมหาสาวกว่า เชิญถามตามที่ท่านจำนงเถิด

เราจักตอบปัญหานั้นทั้งหมดแก่ท่าน เมื่อพระสัพพัญญูปวารณา อันพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงปวารณาแล้วอย่างนี้ ลำดับนั้น อาฬวกยักษ์ กราบทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถา.
บทว่า กึสูธ วิตฺตํ ความว่า อะไร เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจในโลกนี้.
บทว่า วิตฺตํ แปลว่า ทรัพย์. ก็ทรัพย์นั้น ย่อมกระทำความปลื้มใจกล่าว
คือปีติ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ. บทว่า สุจิณฺณํ
แปลว่า ทำไว้ดีแล้ว. บทว่า สุขํ ได้แก่ ความยินดีทางกายและทางจิต. บทว่า
อาวหาติ ได้แก่ ย่อมนำมา คือย่อมมา คือย่อมให้ ได้แก่ เอิ่บอิ่ม. บทว่า
หเว เป็นนิบาตลงในอรรถว่ามั่นคง. บทว่า สาทุตรํ ได้แก่ ดียิ่ง. พระ-
บาลีว่า สาธุตรํ ดังนี้ก็มี. บทว่า รสานํ ได้แก่ ธรรม. ด้วยประการไร
คืออย่างไร. ชีวิตของผู้เป็นอยู่อย่างไร ชื่อว่า กถํชีวีชีวิตํ. ก็เรียก สานุนาสิก
เพื่อสะดวกแก่การประพันธ์คาถา. อีกอย่างหนึ่ง พระบาลีว่า กถํชีวีชีวิตํ
ความว่า ความเป็นอยู่อย่างไรแห่งความเป็นอยู่ของบุคคลนั้น. อาฬวกยักษ์ จึง
ทูลถามปัญหา 4 ข้อเหล่านี้ ด้วยคาถานี้อย่างนี้ว่า อะไรเป็นทรัพย์เครื่องปลื้ม
ใจอันประเสริฐของตนในโลกนี้ อะไรที่บุคคลพระพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้
อะไรเป็นรสอันเลิศกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่
อย่างไรว่า ประเสริฐสุด.
ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงวิสัชนาตามนัยที่พระกัสสป-
ทศพลทรงวิสัชนาแก่เขา จึงตรัสคาถานี้ว่า สทฺธีธ วิตฺตํ เป็นต้น. พึงทราบ
คำว่า ทรัพย์เครื่องปลื้มใจในคาถานั้น ทรัพย์เครื่องปลื้มใจมีเงินทองเป็นต้น
ย่อมนำมาซึ่งความสุขในการใช้สอย ย่อมป้องกันความทุกข์ที่เกิดจากความหิว
กระหายเป็นต้น ย่อมระงับความยากจน ย่อมเป็นเหตุให้ได้แก้วมีมุกดาเป็นต้น
และย่อมนำมาซึ่งความสืบต่อแห่งโลกฉันใด แม้ศรัทธา ทั้งที่เป็นโลกิยะและ

โลกุตระ ย่อมนำมาซึ่งวิบากสุข ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตรตามที่เกิดขึ้น
ย่อมป้องกันทุกข์มีชาติและชราเป็นต้นของผู้ปฏิบัติตามหน้าที่ศรัทธา ย่อมระงับ
ความยากจนแห่งคุณ และเป็นเหตุให้ได้แก่มีสติสัมโพชฌงค์เป็นต้น ฉันนั้น
ศรัทธา ท่านกล่าวว่า เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจ เพราะจัดว่า ย่อมนำมา ซึ่ง
ความสืบต่อแห่งโลกตามพระพุทธพจน์ว่า
ผู้มีศรัทธาถึงพร้อมด้วยศีล เอิบอิ่ม
ด้วยยศ และโภคะไปสู่ถิ่นใด ๆ เขาบูชา
ในถิ่นนั้น ๆ.

ก็เพราะทรัพย์เครื่องปลื้มใจคือศรัทธานี้ เป็นเครื่องติดตามไป ไม่ทั่วไปแก่คน
อื่น เป็นเหตุแห่งสมบัติทั้งปวง เป็นเค้ามูลแห่งทรัพย์เครื่องปลื้มใจ มีเงินและ
ทองเป็นต้นที่เป็นโลกิยะ. จริงอยู่ ผู้มีศรัทธา ทำบุญมีทานเป็นต้น ย่อมได้
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ. ส่วนผู้ไม่มีศรัทธา ก็มีจิตใจเพียงเพื่อสิ่งอันไม่เป็น
ประโยชน์เท่านั้น เพราะฉะนั้น ทรัพย์เครื่องปลื้มใจคือศรัทธา ท่านจึงกล่าวว่า
ประเสริฐ. บทว่า ปุริสสฺส คือแสดงข้อกำหนดอย่างอุกฤษฏ์. เพราะฉะนั้น
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจคือศรัทธา แม้ของหญิงเป็นต้น ก็พึงทราบว่า ประเสริฐ
ไม่ใช่ของบุรุษฝ่ายเดียวเท่านั้น. บทว่า ธมฺโม คือกุศลธรรม 10 หรือธรรม
มีทานและศีลเป็นต้น. บทว่า สุจิณฺโณ ได้แก่ กระทำดีแล้ว คือประพฤติ
ดีแล้ว. บทว่า สุขมาวหาติ ความว่านำมาซึ่งความสุขของมนุษย์เช่นความสุข
ของโสณเศรษฐีบุตร และพระรัฐบาลเป็นต้น ซึ่งความสุขทิพย์ เช่นความสุข
ของท้าวสักกะเป็นต้น และนิพพานสุข เช่นความสุขของพระมหาปทุมเป็นต้น
ในปริโยสาน. สัจจะศัพท์นี้ ในบทว่า สจฺจํ ย่อมปรากฏในหลายอรรถกล่าว
คือ ปรากฏในวาจาสัจจะ ในบทเป็นต้นว่า พึงกล่าวคำสัจ ไม่พึงโกรธดังนี้.

ปรากฏในวิรัติสัจจะ ในบทเป็นต้นว่า สมณพราหมณ์ ดังอยู่ในความสัจดังนี้.
ปรากฏในทิฏฐิสัจจะ ในบทเป็นต้นว่า เพราะเหตุไร คนทั้งหลาย จึงกล่าว
สัจจะต่างๆ กัน ผู้ตั้งอยู่ในความดี ย่อมขัดแย้งกันดังนี้ . ปรากฏในพราหมณสัจจะ
ในบทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณสัจจะมี 4 อย่างนี้. ปรากฏในปรมัตถ
สัจจะ ในบทเป็นต้นว่า ก็สัจจะมีอย่างเดียว ไม่มีที่ 2 ดังนี้. ปรากฏในอริยสัจจะ
ในบทเป็นต้นว่า สัจจะ 4 มีกุศลเท่าไร. แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาวาจาสัจจะ
ทำปรมัตถสัจจะให้เป็นนิพพาน และทำวิรัติสัจจะให้เป็นภายใน. สมณพราหมณ์
ย่อมยังน้ำเป็นต้น ให้เป็นไปในอำนาจด้วยอานุภาพแห่งสัจจะใด ย่อมข้ามฝั่ง
แห่งชาติชราและมรณะได้. เหมือนสัจจะ (นั้น ) ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
เขากั้นน้ำด้วยคำสัจ บัณฑิต ย่อม
กำจัดแม้พิษได้ด้วยสัจจะ ฝนฟ้าคะนองตก
ลงด้วยสัจจะ สมณพราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ใน
สัจจะย่อมปรารถนาความสงบ รสอย่างใด
อย่างหนึ่งเหล่านี้ มีอยู่ในแผ่นดิน สัจจะดี
กว่ารสเหล่านั้น สมณพราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ใน
สัจจะ ย่อมข้ามฝั่งแห่งชาติชราและมรณะ
ได้.

บทว่า สาธุตรํ ความว่า ดีกว่า ไพเราะกว่า ประณีตกว่า. บทว่า
รสานํ ความว่า รสเหล่านี้ใด มีลักษณะซึมทราบโดยนัยเป็นต้นว่า รสที่
เกิดจากราก รสที่เกิดจากต้น. ธรรมมีการอยู่ด้วยกำจัดกิเลส เว้นโทษและ
พยัญชนะที่เหลือเป็นต้น เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ท่านเรียกว่า ธรรมรส
โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรสผลไม้ทั้งปวง พระโคดม

ผู้เจริญ มีรูปไม่เป็นรส ดูก่อนพราหมณ์ รสแห่งรูป รสแห่งเสียงเหล่าใดแล
ไม่เป็นอาบัติในเพราะรสแห่งรส. ธรรมวินัยนี้ มีรสอย่างเดียวกัน มีวิมุตติ
เป็นรส. พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มีส่วนแห่งอรรถรส แห่งธรรมรส. แห่งรส
เหล่านั้น. คำสัจนั่นแลดีกว่า คือความสัจเท่านั้น ดีกว่า. หรือว่า บทว่า
สาธุตรํ แปลว่า ประเสริฐกว่า ยิ่งกว่า. จริงอยู่ รสแห่งรากเป็นต้น ย่อม
ยังร่างกายให้เติบโต. ชื่อว่า นำมาซึ่งความสุขอันประกอบด้วยสังกิเลส รส
แห่งสัจจะคือรสแห่งวิรัติสัจจะและวาจาสัจจะ ย่อมเพิ่มพูนจิตด้วยสมถะและ
วิปัสนาเป็นต้น ชื่อว่า นำมาซึ่งความสุขอันไม่ประกอบด้วยสังกิเลส. วิมุตติรส
ชื่อว่า ดี เพราะมีรสคือปรมัตถสัจจะอบรมแล้ว. อรรถรสและธรรมรสก็
เหมือนกัน. เพราะอาศัยอรรถและธรรมที่เป็นอุบายบรรลุวิมุตติรสนั้น ย่อม
เป็นไป.
ก็ในบทว่า ปญฺญาชีวึ นี้ พึงทราบความอย่างนี้ว่า ในบรรดาผู้มี
จักษุบอดข้างเดียวและมีจักษุสองข้าง บุคคลผู้มีจักษุสองข้างนี้นั้น
ที่เป็นคฤหัสถ์บำเพ็ญข้อปฏิบัติของคฤหัสถ์มีการขยันทำการงานถึงสรณะแจก-
ทานสมาทานศีล และรักษาอุโบสถเป็นต้น หรือเป็นบรรพชิตบำเพ็ญข้อปฏิบัติ
ของบรรพชิตกล่าวคือ ศีลที่ไม่ให้เดือดร้อน ต่างด้วยจิตตวิสุทธิที่ยิ่งกว่านั้น
เป็นต้น ด้วยปัญญาเป็นอยู่ ท่านกล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญานั้น คือ
ท่านกล่าวชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญานั้นว่า ประเสริฐที่สุด.
ยักษ์ได้ฟังปัญหาทั้ง 4 ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนาอย่างนี้แล้ว
ก็พอใจ เมื่อจะถามปัญหาที่ยังเหลืออีก 4 ข้อ จึงกล่าวคาถาว่า กถํสุ ตรติ
โอฆํ
ดังนี้ (คนจะข้ามโอฆะได้อย่างไร) เป็นต้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า เมื่อจะทรงวิสัชนาโดยนัยก่อนจึงตรัสคาถาว่า สทฺธาย ตรติ เป็นต้น

(คนจะข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา). ในข้อนั้นผู้ใดข้ามโอฆะ 4 อย่างได้ ผู้นั้นย่อม
ข้ามห้วงสงสารก็ได้ ล่วงพ้นวัฏทุกข์ก็ได้ ย่อมหมดจดจากมลทินคือกิเลสก็ได้
ก็จริง แต่เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อไม่เชื่อก็แล่นไปสู่ที่ข้ามโอฆะไม่ได้.
ผู้ประมาทแล้วด้วยการปล่อยใจไปในกามคุณ 5 ก็ข้ามห้วงสงสารไม่ได้ เพราะ
ติดอยู่ในกามคุณนั้น. ผู้เกียจคร้านคลุกเคล้าด้วยอกุศลธรรม ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ผู้ไม่มีปัญญา ไม่รู้ทางบริสุทธิ์ ย่อมไม่บริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น เมื่อพระผู้มี
พระภาคเจ้าจะทรงแสดงข้อความที่เป็นปฏิปักษ์นั้น จึงตรัสคาถานี้. ก็เมื่อตรัส
คาถานี้อย่างนี้แล้ว เพราะสัทธินทรีย์เป็นปทัฏฐานแห่งโสดาปัตติยังคะ ฉะนั้น
จึงทรงประกาศโสดาปัตติมรรคอันเป็นเครื่องข้ามโอฆะคือทิฏฐิ และโสดาบัน
ด้วยบทนี้ว่า สทฺธาย ตรติ โอฆํ (คนข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา). ก็เพราะ
พระโสดาบันประกอบด้วยความไม่ประมาท กล่าวคือการกระทำที่ติดต่อกัน
ด้วยการเจริญกุศลธรรม บำเพ็ญมรรคที่ 2 เว้นมรรคที่จะมาสู่โลกนี้เพียง
ครั้งเดียว ย่อมข้ามห้วงสงสารอันเป็นที่ตั้งแห่งภโวฆะที่เหลือยังข้ามไม่ได้ด้วย
โสดาปัตติมรรค ฉะนั้น จึงทรงประกาศสกทาคามิมรรคอันเป็นเครื่องข้าม
ภโวฆะและพระสกทาคามี ด้วยบทนี้ว่า อปฺปมาเทน อณฺณวํ (บุคคลย่อม
ข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท ดังนี้ . และเพราะพระสกทาคามีบำเพ็ญ
มรรคที่ 3 ด้วยความเพียร ย่อมล่วงกามทุกข์อันเป็นที่ตั้งแห่งกาโมฆะและ
กำหนดว่าเป็นกาโมฆะที่ไม่ล่วงแล้ว ด้วยสกทาคามิมรรค ฉะนั้น จึงทรงประกาศ
อนาคามิมรรคอันเป็นเครื่องข้ามกาโมฆะและพระอนาคามีด้วยบทนี้ว่า วิริเยน
ทุกฺขมจฺเจติ
(บุคคลย่อมล่วงความทุกข์ได้ด้วยความเพียงดังนี้). แต่เพราะ
พระอนาคามีบำเพ็ญปัญญาแห่งมรรคที่ 4 อันบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ด้วยปัญญา
อันบริสุทธิ์ ปราศจากเปือกตมคือกาม ละมลทินอย่างยิ่ง กล่าวคืออวิชชาที่ยัง
ละไม่ได้ด้วยอนาคามิมรรค ฉะนั้น จึงทรงประกาศอรหัตมรรค และความ

เป็นพระอรหันต์ อันเป็นเครื่องข้ามอวิชชา ด้วยบทนี้ว่า ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ
(บุคคลย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา) ดังนี้ . ก็แลในที่สุดแห่งคาถาที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสด้วยธรรมมีพระอรหัตเป็นยอดนี้ ยักษ์ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.
บัดนี้ ยักษ์ถือเอาบทว่า ปัญญา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบท
นี้ว่า ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ นั้น เมื่อจะถามปัญหาที่เจือด้วยโลกุตระด้วย
ปฏิภาณของตน จึงทูลถามคาถา 6 บทนี้ว่า กถํสุ ลภเต ปญฺญํ (บุคคล
ย่อมได้ปัญญาอย่างไรเล่า) เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า กถํสุ เป็นคำถาม
ที่ไม่ยุติในที่ทั้งปวง. จริงอยู่ ยักษ์นี้รู้อรรถมีปัญญาเป็นต้นแล้ว จึงถามยุติแห่ง
อรรถนั้นว่า บุคคลย่อมได้ปัญญาอย่างไร คือด้วยยุติอะไร ด้วยเหตุไร.
ในทรัพย์เป็นต้น ก็มีนัยนี้แล. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ
ทรงแสดงการได้ปัญญาด้วยเหตุ 4 อย่างแก่ยักษ์นั้น จึงตรัสคำว่า สทฺทหาโน
เป็นต้น. พึงทราบเนื้อความแห่งธรรมนั้น (ดังต่อไปนี้)พระอรหันต์ พระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้าถึงนิพพานด้วยธรรมอัน
ต่างด้วยกายสุจริตเป็นต้นในเบื้องต้น และต่างด้วยโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ
ในเบื้องปลายอันใด บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์นั้น จึงได้ปัญญาทั้งที่
เป็นโลกิยะและโลกุตระเพื่อบรรลุพระนิพพาน. ก็แลการได้นั้น ย่อมไม่ได้
ด้วยธรรมเพียงศรัทธาเท่านั้น. ก็เพราะบุคคลเกิดศรัทธาแล้วก็เข้าไปหา เมื่อ
เข้าไปหาก็เข้าไปนั่งใกล้ เมื่อเข้าไปนั่งใกล้ย่อมเงี่ยหู เงี่ยหูแล้ว ย่อมฟังธรรม
ฉะนั้น จำเดิมแต่เข้าไปหา จนถึงการฟังธรรม ฟังด้วยดีย่อมได้ (ปัญญา).
ท่านกล่าวไว้อย่างไร. ท่านกล่าวไว้ว่า แม้เขาเชื่อธรรมนั้นแล้ว เข้าไปหา
อาจารย์อุปัชฌาย์ตามกาลเวลา เข้าไปนั่งใกล้ไหว้ด้วยการกระทำวัตรปฏิบัติ
เมื่อใดมีจิตใจยินดีในการเข้าไปนั่งใกล้ย่อมเป็นผู้ใคร่จะกล่าวอะไร ๆ เมื่อนั้น
เขาเงี่ยหูฟังเพราะความเป็นผู้ใคร่ฟังย่อมได้ (ปัญญา). ก็แล แม้เมื่อเขาตั้งใจ

ฟังอย่างนี้ ไม่ประมาทโดยไม่อยู่ปราศจากสติ เป็นผู้พิจารณาด้วยความเป็นผู้รู้
คำสุภาษิตและทุพภาษิตก็ย่อมได้(ปัญญา) เหมือนกัน. ไม่ใช่คนนอกนี้. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้พิจารณาดังนี้.
เพราะเขาปฏิบัติตามข้อปฏิบัติอันเป็นไปเพื่อได้ปัญญาด้วยศรัทธา ฟังอุบายเป็น
เครื่องเข้าถึงปัญญาด้วยการตั้งใจฟัง คือด้วยความเคารพ ไม่หลงลืมข้อที่รับไว้
แล้วด้วยความไม่ประมาท ถือเอาไม่ยิ่งไม่หย่อนและความไม่ผิดทำให้พิสดาร
ด้วยความเป็นผู้พิจารณา หรือเป็นผู้เงี่ยหูลงด้วยความตั้งใจฟังแล้ว ฟังธรรมอัน
เป็นเหตุได้ปัญญา ครั้นฟังด้วยความไม่ประมาทแล้วทรงจำธรรม ใคร่ครวญ
เนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้วด้วยความพิจารณา ทำปรมัตถสัจจะให้แจ้ง
โดยลำดับ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกถามว่า กถํสุ ลภเต ปญฺญํ
(บุคคลจะได้ปัญญาอย่างไรเล่า) เมื่อจะทรงแสดงเหตุ 4 อย่างนี้แก่อาฬวกยักษ์
นั้น จึงตรัสคาถานี้ว่า สทฺทหาโน ฯลฯ วิจกฺขโณ ดังนี้ . บัดนี้ เมื่อจะ
ทรงวิสัชนาปัญหา 3 ข้ออื่นจากนั้น จึงตรัส คาถานี้ว่า ปฏิรูปการี เป็นต้น. ใน
คาถานั้น บุคคลใดไม่ท่าเทศะและกาละเป็นต้นให้เสียหาย ทำการงานให้
เหมาะสมคือให้เป็นอุบายที่จะได้ทรัพย์อันเป็นโลกิยะหรือโลกุตระ เหตุนั้น
บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ปฏิรูปการี (ผู้ทำการงานให้เหมาะเจาะ). บทว่า ธุรวา
คือไม่ทอดธุระด้วยอำนาจความเพียรทางใจ. บทว่า อุฏฺฐาตา ความว่า
ประกอบด้วยความขยันด้วยอำนาจความเพียรทางกาย มีความบากบั่นไม่
ย่อหย่อนโดยนัยเป็นต้นว่า ก็ผู้ใดไม่สำคัญความเย็นและความร้อนให้ยิ่งไปกว่า
หญ้า. บทว่า วินฺทเต ธนํ ความว่า บุคคลย่อมได้โลกิยทรัพย์เหมือนลูกน้อง
ของจุลลกเศรษฐีได้ทรัพย์ 4 แสนโดยไม่ช้า ด้วยหนูตัวเดียว และได้โลกุตร-
ทรัพย์ เหมือนพระมหาติสสเถระผู้เฒ่า. เขาคิดว่า เราจักอยู่ด้วยอิริยาบถ 3
อย่างเท่านั้น ดังนี้แล้วทำวัตรปฏิบัติ ในเวลาง่วงนอนก็เอาใบไม้ชุบน้ำวางไว้บน

ศีรษะ ลงน้ำประมาณคอป้องกันความง่วงนอน บรรลุพระอรหัตโดยพรรษา
10. บทว่า สจฺเจน ความว่า บุคคลย่อมได้รับชื่อเสียงอย่างนี้ว่า เป็นผู้กล่าว
คำสัตย์ กล่าวคำจริงด้วยวจีสัจจะบ้าง ว่าพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
พระอริยสาวกด้วยปรมัตถสัจจะบ้าง. บทว่า ททํ ความว่า ผู้ให้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ที่เขาต้องการปรารถนา ย่อมผูก ย่อมเพิ่มพูน ย่อมกระทำไมตรีได้. หรือว่า
ผู้ให้ของไม่ดี ก็ย่อมได้ของไม่ดี. หรือว่า สังคหวัตถุ 4 พึงทราบว่า ท่าน
ก็จัดเอาทานเป็นหัวหน้า. ท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลย่อมทำไมตรีด้วยสังคหวัตถุ
4 นั้น.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนาปัญหา 4 ข้อ โดยนัยที่เจือโลกิยะ
และโลกุตระปะปนกันทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จะทรงวิสัชนา
ปัญหาที่ 5 นี้ ว่า กถํ เปจฺจ น โสจติ (บุคคลตายไปแล้วจะไม่เศร้าโศก
อย่างไร) ด้วยอำนาจคฤหัสถ์ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ยสฺเสเต ดังนี้.
พึงทราบเนื้อความแห่งข้อนั้น (ดังนี้) คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามมีศรัทธา
เพราะประกอบด้วยศรัทธาที่ก่อให้เกิดกัลยาณธรรมทั้งปวง ที่ตรัสไว้ในบทนี้ว่า
สทฺทหาโน อรหตํ (เธอธรรมของอรหันต์) เป็นผู้แสวงหาการครองเรือน
หรือกามคุณทั้ง 5 ในคำนี้ว่า สทฺธสฺส ฆรเมสิโน (ผู้ครองเรือน) มีธรรม
4 อย่างนี้ คือสัจจะอย่างที่ตรัสไว้แล้วในบทนี้ว่า สจฺเจน กิตฺตึ ปปฺโปติ
(บุคคลย่อมได้รับชื่อเสียงด้วยคำสัตย์) ธรรมดังที่ตรัสไว้แล้วด้วยชื่อแห่งปัญญา
ที่ได้ด้วยการตั้งใจฟังในบทนี้ว่า สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ (ผู้ตั้งใจฟังย่อมได้
ซึ่งปัญญา) ธิติที่ตรัสไว้แล้วด้วยชื่อว่าธุระและด้วยชื่อว่าขยัน ในบทนี้ว่า
ธุรวา อุฏฺฐาตา (มีธุระ ขยัน) และจาคะอย่างที่ตรัสไว้แล้วในบทนี้ว่า ททํ
มิตฺตานิ คนฺถติ
(ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้. บทว่า ส เว ปจฺจ น โสจติ
ความว่า เขาละไปสู่โลกนี้และโลกอื่น ย่อมไม่เศร้าโศก.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนาปัญหาที่ 5 อย่างนี้แล้ว จะเตือน
ยักษ์นั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อิงฺฆ อญฺเญปิ (เชิญถาม) ธรรมแม้อย่างอื่น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อิงฺฆ เป็นนิบาตในอรรถแห่งคำเตือน. บทว่า อญฺเญปิ
ความว่า จงถามธรรมแม้อย่างอื่นกะสมณพราหมณ์เป็นอันมาก. หรือว่า จง
ถามสมณพราหมณ์เป็นอันมาก ที่ปฏิญญาตนว่าเป็นสัพพัญญู มีปูรณกสัสปเป็น
ต้น แม้เหล่าอื่น. หรือว่า หากจะมีเหตุที่ได้รับชื่อเสียงยิ่งไปกว่าสัจจะอย่างที่
เรากล่าวไว้แล้วในบทนี้ว่า สจฺเจน กิตฺตึ ปปฺโปติ (บุคคลย่อมได้รับชื่อ
เสียงด้วยคำสัตย์). หรือว่ายังมีเหตุได้โลกิยปัญญาและโลกุตรปัญญายิ่งกว่าทมะ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยอ้างถึงปัญญา ว่า สุสฺสูสา ในบทว่า สุสฺสูสํ
ลภเต ปญฺญํ
(ผู้ตั้งใจฟังย่อมได้ปัญญา). หรือว่า เหตุเป็นเครื่องผูกไมตรี
ยิ่งกว่าจาคะ อย่างที่ตรัสไว้แล้วในบทนี้ว่า ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ (ผู้ให้ย่อม
ผูกไมตรีไว้ได้). หรือว่าเหตุที่เป็นเครื่องได้โลกิยะทรัพย์และโลกุตรทรัพย์ยิ่ง
กว่าขันติกล่าวคือความเพียรที่ถึงความพากเพียรโดยอรรถว่านำของหนักหน่วงไป
ตามที่ทรงอาศัยอำนาจแห่งเหตุนั้น ๆ ตรัสไว้ด้วยชื่อว่า ธุระและด้วยความขยัน
ในบทนี้ว่า ธุรวา อุฏฺฐาตา. หรือว่า เหตุที่ไม่เศร้าโศก เพราะละจากโลก
นี้ไปสู่โลกอื่นยิ่งกว่าธรรม อย่างนี้ ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า สจฺจํ ธมฺโม ธิติ
จาโค
นี้เป็นพรรณนาความพร้อมกับการเธอความโดยย่อในบทนี้ว่า อิธ
วิชฺชติ
ดังนี้ (มีอยู่ในโลกนี้) แต่พึงแยกบทหนึ่ง ๆ โดยนัยที่ยกอรรถ ยก
บทและพรรณนาบทแล้วทราบการพรรณนาอรรถโดยพิสดาร.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ยักษ์จะพึงถามสมณพราหมณ์
อื่นด้วยความสงสัยใดเพราะเป็นผู้ละความสงสัยนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า บัดนี้
ข้าพระองค์จะพึงถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากอย่างไรเล่า ดังนี้ เมื่อจะให้คน

ที่ยังไม่รู้เหตุที่ไม่ถามให้รู้ จึงกล่าวว่า โยหํ อชฺช ปชานามิ โย อตฺโถ
สมฺปรายิโก
ดังนี้ (วันนี้เราได้รู้อยู่ว่า ประโยชน์ใดมีอยู่ในสัมรายภพ).
ในบทเหล่านั้น บทว่า อชฺช อธิบายว่า กำหนดเวลามีในวันนี้เป็น
ต้น. บทว่า ปชานามิ คือรู้โดยประการตามที่ตรัสแล้ว. บทว่า โย อตฺโถ
ความว่า ทรงแสดงข้อปฏิบัติในปัจจุบันที่ตรัสไว้แล้วโดยนัยว่า สุสฺสูสํ สภเต
ปญฺญํ
(ผู้ตั้งใจฟังย่อมได้ปัญญา) ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ทรงแสดงข้อ
ปฏิบัติในโลกหน้า ซึ่งกระทำการละไปแล้ว ไม่มีความเศร้าโศก ซึ่งตรัส
ไว้แล้วว่า ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา (ผู้ใดมีธรรม 4 อย่างนี้) ด้วยบทว่า
สมฺปรายิโก ดังนี้. ก็บทว่า อตฺโถ นี้เป็นชื่อของเหตุ. จริงอยู่ศัพท์ว่า
อตฺถ นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถแห่งปาฐะ ในบททั้งหลายเป็นต้นอย่างนี้ว่า
สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ (พร้อมด้วยอรรถ พร้อมด้วยพยัญชนะ). เป็นไปใน
ความต้องการในบทเป็นต้นว่า อตฺโถ เม คหปติ หิรญฺญสุวณฺเณน ดู
ก่อนคฤหบดี เราต้องการเงินและทอง. เป็นไปในความเจริญในบทเป็นต้นว่า
โหติ สีลวตํ อตฺโถ (ความเจริญย่อมมีแก่ผู้มีศีล). เป็นไปในทรัพย์ ในบท
เป็นต้นว่า พหุชดน ภชฺชเต อตฺถเหตุ (คนเป็นอันมากแตกกันเพราะทรัพย์).
เป็นไปในประโยชน์เกื้อกูล ในบทเป็นต้นว่า อุภินฺนมตฺถํ จรติ (ย่อม
ประพฤติประโยชน์แก่โลกทั้งสอง). เป็นไปในเหตุในบทเป็นต้นว่า อตฺเถ
ชาเต จ ปณฺฑิตํ
(ก็เมื่อเหตุเกิดขึ้นย่อมต้องการบัณฑิต). ก็แลศัพท์ว่า อตฺถ
ในที่นี้ เป็นไปในเหตุ. เพราะฉะนั้น เหตุแห่งการได้ปัญญาเป็นต้นที่เป็นไป
ในปัจจุบันอันใด และเหตุแห่งความละไปแล้วไม่มีความเศร้าโศกเป็นไปใน
สัมปรายภพอันใด เราย่อมรู้เหตุนั้นเองตามนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วใน
วันนี้ บัดนี้ เรานั้นจะพึงถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากอย่างไรเล่า ดังนี้ พึง
ทราบเนื้อความโดยสังเขปในข้อนี้อย่างนี้.

ยักษ์จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ปชานามิ โย อตฺโถ สมฺปรายิโก (เหตุใด
ที่มีในสัมปรายภพเรารู้) เมื่อจะแสดงความที่ญาณนั้นเป็นเค้ามูลของพระผู้มี
พระภาคเจ้า จึงกล่าวว่า อตฺถาย วต เม พุทฺโธ (พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับ
ณ เมืองอาฬวีเพื่อความประโยชน์แก่เรา).
ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถาย คือเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือเพื่อ
ความเจริญ. บทว่า ยตฺถ ทินฺนํ มหปฺผลํ ความว่า ทานที่ให้ในพระ-
พุทธเจ้าพระองค์ใดมีผลมาก เรารู้จักพระพุทธเจ้าผู้เป็นยอดทักขิไณยบุคคล
พระองค์นั้น ด้วยจาคะที่ตรัสไว้ในบทว่า ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา (ผู้ใด
มีธรรม 4 อย่างนี้). แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ทรงหมายเอาพระสงฆ์จึง
ตรัสอย่างนี้. ครั้นยักษ์แสดงการบรรลุประโยชน์แก่ตนด้วยคาถานี้อย่างนี้แล้ว
บัดนี้จะแสดงอปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า เรานั้นจัก
ท่องเที่ยวไป.
ในบทเหล่านั้น บทว่า คามา คามํ ความว่า จากเทวคามสู่เทวคาม
จากเทวนครสู่เทวนคร. บทว่า นมสฺสมาโน สมฺพุทฺธํ ธมฺมสฺส จ
สุธมฺมตํ
ความว่า ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้าและซึ่งความเป็นธรรมดี
แห่งพระธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์
เองหนอ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว. ด้วยอำนาจ ศัพท์ก็
เป็นอันกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักเที่ยวชมเชยแล้ว ๆ ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์
นมัสการประกาศธรรมด้วยบทเป็นต้นว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ปฏิบัติดีแล้วหนอ ดังนี้ .
การสิ้นสุดแห่งคาถานี้ การแจ้งสว่างแห่งราตรี การส่งเสียงสาธุการ
การนำอาฬวกกุมารมายังที่อยู่ของยักษ์ ได้มีในขณะเดียวกันด้วยประการฉะนี้.
พวกราชบุรุษได้ยินเสียงสาธุการแล้ว นึกว่า เสียงสาธุการเห็นปานนี้ ย่อมไม่

บันลือลั่นแก่คนเหล่าอื่น เว้นพระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้วหนอ
ได้เห็นรัศมีพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ยืนอยู่ข้างนอกเหมือนก่อน
หมดความสงสัย หลบเข้าไปอยู่ข้างใน เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่
ในที่อยู่ของยักษ์และเห็น ยักษ์ยืนประคองอัญชลีอยู่ จึงกล่าวกะยักษ์ว่า ดูก่อน
มหายักษ์ พระราชกุมารนี้เขานำมาเพื่อพลีกรรมแก่ท่าน เชิญท่านจงเคี้ยวกิน
หรือเชิญกินเขาหรือทำตามต้องการเถิด. ยักษ์นั้นละอายเพราะความเป็น
พระโสดาบันและ เมื่อถูกเขากล่าวอย่างนี้ต่อพระพักตร์พระผู้มีภาคเจ้าด้วยคำ
แปลกประหลาด จึงเอามือทั้งสองประคองพระกุมารนั้นน้อมเข้าไปหาพระผู้มี
พระภาคเจ้าโดยกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุมารนี้เขาส่งมาให้ข้าพระองค์
ข้าพระองค์ขอถวายกุมารนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้
อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดรับเด็กนี้ เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อประโยชน์สุขแก่เด็กนี้เถิด พระเจ้าข้า. ก็แลยักษ์นั้นกล่าว
คาถานี้ว่า
ข้าพระองค์เต็มใจยินดีถวายกุมารนี้ผู้มี
ลักษณะบุญตั้งร้อยทั่วสรรพางค์กาย มีทรวด
ทรงบริบูรณ์ แต่พระองค์ ขอพระองค์ผู้มี
จักษุโปรดรับไว้เพื่อเกื้อกูลแก่ชาวโลกเกิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับกุมารไว้แล้ว. ก็แล เมื่อจะทรงรับก็กล่าวคาถาหย่อน
บาท เพื่อทำมงคลแก่ยักษ์และแก่กุมาร. ยักษ์ยังกุมารนั้นให้ถึงพระองค์ เป็น
สรณะ ให้บริบูรณ์ด้วยบาทที่ 4 ถึง 3 ครั้ง คือ
กุมารนี้ จงมีอายุยืน ดูก่อนยักษ์
เธอจงเป็นผู้เจริญและมีความสุข จงเป็นผู้

ไม่เจ็บไข้ดำรงอยู่เพื่อเกื้อกูลแก่ชาวโลก
กุมารนี้เข้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ.
กุมารนี้ จงมีอายุยืน ดูก่อนยักษ์ เธอ
จงเป็นผู้เจริญและมีความสุข จงเป็นผู้ไม่
เจ็บไข้ดำรงอยู่ เพื่อเกื้อกูลแก่ชาวโลก
กุมารนี้ เข้าถึงพระธรรมเป็นสรณะ.
กุมารนี้ จงมีอายุยืน ดูก่อนยักษ์ เธอ
จงเป็นผู้เจริญและมีความสุข จงเป็น
ผู้ไม่เจ็บไข้ดำรงอยู่เพื่อเกื้อกูลแก่ชาวโลก
กุมารนี้เข้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานกุมารแก่พวกราชบุรุษด้วยพระดำรัสว่า
ท่านทั้งหลายจงยังกุมารนี้ให้เจริญแล้วส่งให้เราอีก. กุมารนั้นเกิดมีชื่อว่า
หัตถกะอาฬวกะ เพราะไปสู่มือยักษ์จากมือของพวกราชบุรุษ ไปสู่พระหัตถ์ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจากมือยักษ์ แล้วไปสู่มือของพวกราชบุรุษจากพระหัตถ์ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าอีก. ชาวนาและคนทำงานในป่าเป็นต้น เห็นพวกราชบุรุษ
นำกุมารนั้นกลับมา กลัวแล้วถามว่า ยักษ์ไม่ต้องการกุมารเพราะเป็นเด็กเกินไป
หรือ. พวกราชบุรุษบอกเรื่องทั้งหมดว่า ท่านทั้งหลายอย่ากลัวเลย เพราะพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทำความปลอดภัยให้แล้ว ดังนี้ . แต่นั้นมา ชาวนครอาฬวีทั้งหมด
ก็กล่าวว่า ดีแล้ว ๆหันหน้าเข้าหายักษ์ด้วยเสียงอึกทึกกึกก้องเป็นอันเดียวกัน.
เมื่อถึงเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปภิกขาจาร แม้ยักษ์ก็ถือบาตรจีวรมาครึ่ง
ทางจึงกลับ . เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต ทรงทำภัตกิจแล้ว
ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสนะที่ปูลาดไว้ดีแล้วที่โคนไม้อันเงียบสงัดแห่งใดแห่ง
หนึ่งใกล้ประตูเมือง. ต่อจากนั้น พระราชาและชาวเมืองพร้อมด้วยชนหมู่ใหญ่

รวมเป็นอันเดียวกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้ว นั่งแวดล้อม
แล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงทรมานยักษ์ผู้ร้ายกาจได้
อย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการรณรงค์ของราชบุรุษเหล่านั้นให้เป็นต้น
แล้ว ตรัสว่า ยักษ์ยังฝน 9 ชนิดให้ตกอย่างนี้ ทำให้น่าสะพึงกลัวอย่างนี้ ถาม
ปัญหาอย่างนี้ เราวิสัชนาแก่ยักษ์นั้นอย่างนี้แล้ว จึงตรัสอาฬวกสูตรนั้น.
ในที่สุดแห่งถ้อยคำ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่ประชาชน 84,000. แต่นั้นมา
พระราชาและชาวเมืองกระทำที่อยู่ของยักษ์ในที่ใกล้ที่อยู่ของท้าวเวสวัณมหาราช
เปลี่ยนเป็นเครื่องสักการะมีดอกไม้ของหอมเป็นต้น ให้เป็นเครื่องเซ่นประจำ.
และเขาปล่อยกุมารนั้นผู้ถึงความเป็นวิญญูชนแล้วว่า เธออาศัยพระผู้มีพระภาค.
เจ้า จึงได้ชีวิต จงไป เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. หัตถกะ
อาฬกะนั้น เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ไม่นานก็ตั้งอยู่ใน
อนาคามิผลเรียนพระพุทธพจน์ทั้งปวง มีอุบาสก 500 เป็นบริวาร. ก็แลพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงประกาศเข้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคตะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายยอด
ของอุบาสกสาวกของเรา ผู้สงเคราะห์ชุมชนด้วยวัตถุ 4 คือ หัตถกะอาฬวก.
จบอรรถกถาอาฬวกสูตรที่ 12
จบอรรถกถายักขสังยุต ด้วยประการฉะนี้.


รวมพระสูตรแต่งยักขสังยุต 12 สูตร คือ


1. อินทกสูคร 2. สักกสูตร 3. สูจิโลมสูตร 4. มณิภัททสูตร
5. สานุสูตร 6. ปิยังกรสูตร 7. ปุนัพพสุสูตร 8. สุทัตตสูตร 9. ปรมสุกกา
สูตร 10. ทุติยสุกกาสูตร 11. จีราสูตร 12. อาฬวกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.