เมนู

อรรถกถาปัตตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปัตตสูตรที่ 6 ต่อไป :-
บทว่า ปญฺจนฺนํ อุปาทานกฺขนฺธานํ อุปาทาย ความว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงถือเอาอุปาทานขันธ์ 5 ขึ้นจำแนกแสดง โดยประการต่างๆ
ด้วยอำนาจสภาวะและสามัญลักษณะ. บทว่า สนฺทสฺเสติ ได้แก่ ทรงแสดง
สภาวะและลักษณะเป็นต้นของขันธ์ทั้งหลาย. บทว่า สมาทเปติ ได้แก่
ทรงให้ถือไว้. บทว่า สมุตฺเตเชติ ได้แก่ ทรงให้เกิดอุตสาหะในการสมาทาน
ถือเอา. บทว่า สมฺปหํเสติ ได้แก่ ทรงให้ผ่องแผ้ว ให้สว่างด้วยคุณที่
แทงตลอดแล้ว. บทว่า อฏฺฐิกตฺวา แปลว่า ทำให้เป็นประโยชน์ ได้แก่
กำหนดอย่างนี้ว่า เราพึงได้ประโยชน์นี้ แล้วมีความต้องการด้วยเทศนานั้น.
บทว่า มนสิกริตฺวา ได้แก่ ตั้งไว้ในจิต. บทว่า สพฺพโส สมนฺนาหริตฺวา
ได้แก่ รวบรวมไว้ด้วยจิตที่ทำการนั้นทั้งหมด. บทว่า โอหิตโสตา ได้แก่
ตั้งโสตไว้. บทว่า อชฺโฌกาเส นิกฺขิตฺตา ได้แก่ บาตรที่เหล่าภิกษุวางไว้
กลางแจ้งเพื่อผึ่งแดด.
บทว่า รูปํ เวทยิตํ สญฺญํ ได้แก่ ขันธ์ 3 มีรูปเป็นต้นเหล่านั้น
ทรงถือเอาสังขารขันธ์ ด้วยบทนี้ว่า ยญฺจ สงฺขตํ. บทว่า เอวํ ตตฺถ วิรชฺชติ
ได้แก่ พระอริยสาวกเมื่อเห็นว่า เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ของเรา ย่อม
เบื่อหน่ายในขันธ์เหล่านั้นอย่างนี้. บทว่า เขมตฺตํ ได้แก่ อัตภาพที่มี
ความเกษม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงขณะแห่งผลจิต ด้วยบทนี้. บทว่า
อนฺเวสํ ได้แก่ แสวงหาในที่ทั้งปวง กล่าวคือ ภพ กำเนิด คติ ฐิติและ
สัตตาวาส. บทว่า นาชฺฌคา ได้แก่ ไม่เห็น.
จบอรรถกถาปัตตสูตรที่ 6