เมนู

[831] พระผู้มีพระภาคเจ้าตอบว่า
พราหมณ์ผู้ดับกิเลสเสียได้แล้วไม่ติด
อยู่ในกามทั้งหลาย เป็นผู้เย็น ปราศจาก
อุปธิ ย่อมเป็นสุขเสมอไป ผู้ที่ตัดตัณหา
เครื่องเกี่ยวข้องได้หมดแล้ว กำจัดความ
กระวนกระวายในใจเสียได้ เป็นผู่สงบอยู่
เป็นสุข เพราะถึงสันติด้วยใจ.


อรรถกถาสุทัตตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสุทัตตสูตรที่ 8 ต่อไปนี้ :-
บทว่า เกนจิเทว กรณีเยน ได้แก่ ประสงค์เอาพาณิชยกรรม.
อนาถบิณฑิกคฤหบดี และราชคหเศรษฐี เป็นคู่เขยกันและกัน. เมื่อใด ใน
กรุงราชคฤห์ มีสินค้าส่งออกมีค่ามาก เมื่อนั้น ราชคหเศรษฐี พาเอาสินค้านั้น
ไปกรุงสาวัตถีด้วยเกวียนร้อยเล่ม พักอยู่ในที่ประมาณโยชน์หนึ่งให้ผู้อื่นรู้ว่าตน
มาแล้ว. อนาถบิณฑิกคฤหบดี ไปต้อนรับ ทำสักการะเป็นอันมากแก่เขาแล้ว
จึงขึ้นยานเดียวกันเข้าไปกรุงสาวัตถี. ถ้าว่า สินค้าจำหน่ายได้เร็ว เขาก็จำหน่าย
ถ้าจำหน่ายไม่ได้ ก็จะเก็บไว้ในเรือนพี่สาวแล้ว ก็หลีกไป. แม้อนาถบิณฑิก
คฤหบดี ก็กระทำอย่างนั้น เหมือนกัน . แม้ในกาลนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีนี้

นั้น ได้ไปด้วยกรณียกิจนั้นแล. ข้อนั้น ท่านหมายถึงกรณียกิจนั้น จึงกล่าว
แล้ว.
ก็ในวันนั้น ราชคหเศรษฐี ได้ฟังข่าว อันอนาถบิณฑิกคฤหบดีพัก
อยู่ในที่ประมาณโยชน์หนึ่งส่งไปแล้ว เพื่อจะได้รู้ว่าคนมาแล้ว จึงได้ไปวิหาร
เพื่อฟังธรรม. เขาฟังธรรมกถาแล้ว นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
เพื่อฉันในวันพรุ่ง จึงให้ช่วยกันขุดเตาไฟ และผ่าฟืนเป็นต้น ในเรือนของตน.
แม้อนาถบิณฑิกคฤหบดีคิดว่า ท่านเศรษฐี จักทำการต้อนรับเราบัดนี้ จักทำ
เดี๋ยวนี้ แม้ที่ประเรือน ก็ไม่ได้การต้อนรับ จึงเข้าไปภายในเรือน ก็ได้การ
ปฏิสันถาร ไม่มากนัก. การปฏิสันถารได้มีประมาณเท่านี้ว่า ท่านมหาเศรษฐี
ท่านไม่เหน็ดเหนื่อยในหนทางของรูปทารกในตระกูลหรือ. อนาถบิณฑิก
คฤหบดีนั้น เห็นการขวนขวายมากของท่านเศรษฐีนั้นแล้ว ยังถ้อยคำให้เป็นไป
โดยนัยมาแล้วในขันธกะว่า ข้าแต่ท่านคหบดี ท่านจักมีอาวาหมงคลหรือ ดังนี้
ได้ฟังเสียงว่า พระพุทธเจ้า จากปากของท่านราชคหเศรษฐีนั้น ก็ได้ปีติมี
วรรณะ 5. ปีตินั้นตั้งขึ้นที่ศีรษะของอนาถบิณฑิกคฤหบดีนั้น จนถึงหลังเท้า
ตั้งขึ้นที่หลังเท้า แผ่ไปจนถึงศีรษะ. ตั้งขึ้นแต่ข้างทั้งสองรวมลงท่ามกลาง ตั้ง
ขึ้นท่ามกลางแผ่ไปโดยข้างทั้งสอง. เขาอันปีติถูกต้องชั่วนิรันดร จึงกล่าวว่า
คหบดี ขอท่านได้กล่าวว่าพระพุทธเจ้าเถิด. ข้าพเจ้ากล่าวอยู่ว่า พระพุทธเจ้า.
ถามสามครั้งอย่างนี้แล้ว กล่าวว่า เสียงว่า พุทฺโธ นั้นแล หาได้ยากในโลก.
ท่านหมายถึงข้อนี้ จึงกล่าวว่า อนาถบิณฑิกคหบดี ได้สดับว่า เขาลือกันว่า
พระพุทธเจ้า ทรงอุบัติแล้วในโลกดังนี้.
บทว่า เอตทโหาสิ อกาโล โข อชฺช ความว่า ท่านอนาถบิณฑิก
คฤหบดีถามท่านเศรษฐีว่า คหบดี พระศาสดา ประทับอยู่ที่ไหน. ครั้งนั้น ท่าน

เศรษฐี จึงบอกแก่ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ธรรมดา พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เข้าใกล้ได้ยากเช่นกับอสรพิษ พระศาสดา ประทับอยู่ในป่าช้า ผู้เช่นท่านไม่
อาจเพื่อจะไปเฝ้าในเวสานี้ในที่นั้นได้. ครั้งนั้น ท่านเศรษฐี ได้มีความดำรินั้น.
บทว่า พุทฺธคตาย สติยา นิปชฺชิ ความว่า ได้ยินว่า ในวันนั้น แม้จิตของ
ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ไม่เกิดขึ้นในเกวียนบันทุกสิ้นค้าหรือในคนใช้ ไม่รับ
ประทานอาหารมื้อเย็น ได้ขึ้นปราสาท 7 ชั้น เมื่อทำการสาธยายว่า พุทฺโธ
พุทฺโธ
บนที่นอนอันประเสริฐที่จัดไว้ดีและตกแต่งไว้อย่างดี นอนหลับไป.
เพราะเหตุนั้น. ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อมีสติถึงพระพุทธเจ้า จึงหลับไป.
บทว่า รตฺติยา สุทํ ติกฺขตฺตุํ อุฏฺฐาสิ ปภาตนฺติ มญฺญมาโน
ความว่า เมื่อปฐมยามล่วงไป เขาลุกขึ้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า. ในกาลนั้น ความ
เลื่อมใสของอนาถบิณฑิกนั้น ได้เกิดมีกำลัง. แสงสว่างแห่งปีติได้มีแล้ว. ความ
มืดก็หมดไป. เหมือนประทีปพันดวงลุกโพลงและดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ขึ้นฉะนั้น.
อนาถบิณฑิกคฤหบดีนั้นคิดว่า เราถึงแล้วซึ่งความเสื่อมใส ถูกเขาลวงแล้ว
ดวงอาทิตย์ขึ้น ดังนี้ แล้วลุกขึ้น ยืนบนพื้นอากาศ มองดูดวงจันทร์คิดว่า ยาม
หนึ่งล่วงไปแล้วยังเหลืออยู่อีกสองยาม จึงเข้าไปนอนอีก. โดยอุบายนั้น เขาลุก
ขึ้นสามครั้งคือ ในที่สุดมัชฌิมยามครั้งหนึ่ง ส่วนในที่สุดปัจฉิมยาม ลุกขึ้นใน
เวลาจวนสว่างมายังพื้นอากาศ มุ่งหน้าต่อประตูใหญ่. ประตู 7 ชั้นได้เปิดเอง
ลงจากปราสาทเดินไประหว่างทาง.
บทว่า วิวรึสุ ความว่า อมนุษย์ทั้งหลายคิดกันว่า มหาเศรษฐีนี้
ออกไปด้วยคิดว่า เราจักไปอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล
ด้วยการเห็นครั้งแรกแล ได้เป็นอุปัฏฐากอันเลิศแห่งพระรัตนตรัย ทำสังฆาราม
ให้เป็นสถานที่หาที่เปรียบมิได้ แต่จักไม่เปิดประตูรับหมู่พระอริยะผู้มาจาก-
จาตุรทิศ มหาเศรษฐีนี้ ไม่ควรปิดประตูเลยดังนี้ จึงได้เปิดแล้ว. บทว่า

อนฺตรธายิ ความว่า ได้ยินว่า กรุงราชคฤห์ มีมนุษย์เกลือนกล่นภายใน
เมือง เก้าโกฏิ ภายนอกเมือง เก้าโกฏิ รวมได้มนุษย์ 18 โกฎิ เข้าไปอาศัย
กรุงราชคฤห์นั้นอยู่. พวกมนุษย์ ไม่สามารถ เพื่อจะน่าเอาคนตายออกไปภาย
นอกในมิใช่เวลาได้ วางไว้บนธรณีประตูทิ้งไปภายนอกประตู. มหาเศรษฐี
พอออกไปภายนอกเมือง เท้าก็เหยียบซากที่ยังสด. หลังเท้า ก็กระทบซากที่
ยังสด. หลังเท้า ก็กระทบซากแม้อื่นอีก. ฝูงแมลงวัน ก็บินขึ้น กระจายออก
รอบ ๆ. กลิ่นเหม็น ก็กระทบโพรงจมูก. ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็ถึง
ความลดน้อยลง. เพราะเหตุนั้น แสงสว่างของมหาเศรษฐีนั้น ก็อันตรธานไป.
ความมืดปรากฏขึ้น. บทว่า สทฺทมนุสฺสาเวสิ ความว่า สิวกยักษ์คิดว่า
เราจักยังความอุตสาหะให้เกิดแก่เศรษฐีได้ส่งเสียงให้ได้ยินด้วยเสียงอันไพเราะ
เหมือนคนเคาะกระดิ่งทองฉะนั้น.
บทว่า สตํ กญฺญาสหสฺสานิ ความว่า แม้บทแรก เชื่อมกับบท
สหัสสะนี้แล ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า กับหญิงสาวแสนหนึ่ง ช้างแสนหนึ่ง
ม้าแสนหนึ่ง รถแสนหนึ่ง. แต่ละแสนท่านแสดงไว้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ปทวีติหารสฺส ได้แก่ ขนาดศอกกำมาหนึ่งในระหว่างเท้าทั้งสอง ใน
การเดินไปสม่ำเสมอ ชื่อว่าการย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง. บทว่า กลํ นาคฺฆนฺติ
โสฬสึ
ความว่า ส่วนหนึ่งอันจำแนก 16 ส่วนโดย 16 ครั้งอย่างนี้คือ แบ่งการ
ย่างเท้าไปก้าวหนึ่งออกเป็น 16 ส่วน จาก 16 ส่วนนั้น แบ่งส่วนหนึ่งออกเป็น
16 ส่วนอีก. จาก 16 ส่วนนั้น แบ่งส่วนหนึ่งออกเป็น 16 ส่วน ชื่อว่าเสี้ยวที่ 16
สี่แสนเหล่านี้ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 นั้น มีคำอธิบายว่า เจตนาที่เป็นไปในส่วน
กล่าวคือเสี้ยวที่ 16 นั้น ของบุคคลกำลังไปยังวิหาร เป็นเจตนาที่ยอดเยี่ยม
กว่า การได้นี้ประมาณเท่านี้คือ ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง รถแสนหนึ่ง

นางสาวแสนหนึ่ง ก็นางสาวเหล่านั้นแลที่สวมแก้วมณีและกุณฑลเป็น
ราชธิดาอยู่ในชมพูทวีปทั้งสิ้นเทียว. ถามว่า ก็การไปวิหารนี้ ท่านถือแล้ว
ด้วยอำนาจของใคร. ตอบว่า ของผู้ไปยังวิหารแล้ว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
โดยไม่มีอันตราย. ด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้ไปด้วยคิดว่า เราจักทำการบูชา
ด้วยของหอมและดอกไม้ เป็นต้น จักไหว้พระเจดีย์ จักฟังธรรม จักบูชาด้วย
เทียนและธูป นิมนต์สงฆ์ ถวายทาน จักตั้งอยู่ในสิกขาบท หรือว่า สรณะ
ดังนี้ ย่อมควรเหมือนกัน.
บทว่า อนฺธกาโร อนฺตรขายิ ความว่า นัยว่า ท่านเศรษฐีคิดว่า
เราทำความสำคัญว่า เราอยู่คนเดียว แม้การประกอบความเพียรก็มีแก่เรา
เพราะเหตุไร เราจึงต้องกลัวเล่า ดังนั้น จึงได้เป็นผู้กล้า. ครั้งนั้น ความ
เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า มีกำลังเกิดขึ้นแล้ว. เพราะฉะนั้น ความมืด จึง
อันตรธานไป. แม้ในวาระที่เหลือก็มีนัยนี้และ อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้เดินไป
ข้างหน้า ๆ ได้เห็นซากศพหลายอย่างเป็นต้นว่า ร่างกระดูกมีเนื้อและเลือดติด
อยู่ในทางป่าช้าอันน่ากลัว ได้ยินเสียงสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น. เขา
ยังความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าให้เจริญบ่อย ๆ ย่ำยีอันตรายทั้งหมดนั้นไปได้.
บทว่า เอหิ สุทตฺต ความว่า ได้ยินว่า เศรษฐีนั้นเดินคิดไปว่า ในโลกนี้มี
เดียรถีย์มีปูรณกัสสปะเป็นต้นเป็นอันมาก ก็กล่าวว่าเราทั้งหลายเป็นพระพุทธเจ้า
เราทั้งหลายเป็นพระพุทธเจ้า เราพึงรู้ความที่ศาสดาเป็นพุทธเจ้าได้อย่างไร หนอ
แล ครั้งนั้น ท่านเศรษฐีได้มีความดำรินั้นว่า มหาชน รู้จักชื่อซึ่งเกิดด้วย
อำนาจคุณของเรา แต่ใครๆ ยังไม่รู้จักกุลทัตติยะเป็นชื่อของเรา นอกจากเรา
หากว่าพระพุทธเจ้าจักมี พระองค์ก็ทรงเรียกเราโดยชื่อว่า กุลทัตติกะ. พระ-
ศาสดา ทรงรู้จิตของเขาแล้ว จึงตรัส อย่างนี้.

บทว่า ปรินิพฺพุโต ความว่า พราหมณ์ ผู้ดับแล้ว ด้วยความดับกิเลส.
บทว่า อาสตฺติโย แปลว่า ตัณหา. บทว่า สนฺตึ แปลว่า ความสงบ
ระงับกิเลส. บทว่า ปปฺปุยฺย แปลว่า ถึงแล้ว. ก็แลพระศาสดา ตรัสพระ-
ดำรัสนี้ จึงตรัสอนุปุพพีกถา แก่เศรษฐีนั้น แล้วก็ทรงประกาศสัจจะ 4 ใน
ที่สุด. เศรษฐีฟังพระธรรมเทศนาแล้ว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล นิมนต์ภิกษุ
สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เริ่มถวายมหาทานตั้งแต่วันรุ่งขึ้น. อิสรชนมี
พระเจ้าพิมพิสารเป็นต้น ส่งสาสน์ไปแก่เศรษฐีว่า ท่านเป็นอาคันตุกะ สิ่งใด
ไม่พอ ท่านจงให้นำสิ่งนั้นมาแต่ที่นี้เถิด. ท่านห้ามชนทั้งหมดว่า พอ พวก
ท่านมีกิจมาก ได้ถวายมหาทาน 6 วัน ด้วยสมบัติที่ตนนำมาด้วยเกวียน 500
เล่ม. ก็ในที่สุดแห่งการถวายทาน ทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึง
การอยู่จำพรรษาในกรุงสาวัตถีแล้ว ได้ถวายแสนหนึ่งทุก ๆ โยชน์ เมื่อให้
สร้างวิหาร 40 แห่ง ระหว่างกรุงราชคฤห์กับกรุงสาวัตถี ได้ไปยังกรุงสาวัตถี
ให้สร้างเชตวันมหาวิหารเสร็จแล้ว ได้มอบถวายภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข.
จบอรรถกถาสุทัตตสูตรที่ 8

9. ปฐมสุกกาสูตร



ว่าด้วยยักษ์สรรเสริญสุกกาภิกษุณี



[832] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน
อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.
สมัยนั้นแล ภิกษุณีชื่อสุกกา อื่นบริษัทใหญ่แวดล้อมแสดงธรรมอยู่.
[833] ครั้งนั้นแล ยักษ์ผู้เลื่อมใสยิ่งในสุกกาภิกษุณีจากถนนนี้ไปยัง
ถนนโน้น จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในกรุงราชคฤห์ ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้
ในเวลานั้นว่า
มนุษย์ทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ ไม่
เข้าไปนั่งใกล้สุกกาภิกษุณี ผู้แสดงอมต-
บทอยู่ มัวทำอะไรกัน เป็นผู้ประดุจดื่ม
น้ำผึ้งหอมแล้วก็นอน ก็แลอมตบทนั้น
ใครจะคัดค้านไม่ได้ เป็นของไม่ได้เจือ
ปรุง แต่มีโอชา ผู้มีปัญญาคงได้ดื่ม
อมตธรรม เหมือนคนเดินทางได้ดื่มน้ำฝน
ฉะนั้น.