เมนู

เป็นใหญ่นั้น ก็มีแก่บุตรทั้งหลายด้วยชื่อฉันใด ส่วนธิดาของนางได้สมบัติแล้ว
ด้วยอานุภาพของมารดาฉันนั้น. จำเดินแต่นั้น นางกับด้วยบุตรน้อยทั้งหลาย
ได้ต้นไม้เป็นที่อยู่ ณ ต้นไม้ใกล้พระคันธกุฏีแล้ว ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ฟังธรรม
ทั้งเช้าเย็น อยู่จำเพาะในที่นั้นแล ตลอดกาลนาน.
จบอรรถกถาปุนัพพสุสูตรที่ 7

8. สุทัตตสูตร



อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก



[826] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับในสีตวัน กรุงราชคฤห์.
สมัยนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีไปถึงกรุงราชคฤห์ด้วยกรณียกิจ
บางอย่าง.
อนาถบิณฑิกคฤหบดีได้สดับว่า เขาลือกันว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ
แล้วในโลก ในขณะนั้นเอง ปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีได้ดำริว่า วันนี้เป็นกาลไม่ควร
เพื่อจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พรุ่งนี้เถิด เราจึงจักเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตามเวลา ท่านคฤหบดีนอนรำพึงถึงพระพุทธเจ้า สำคัญว่าสว่างแล้วลุกขึ้นใน
ราตรีถึง 3 ครั้ง.
ลำดับนั้น ท่านคฤหบดีเดินไปทางประตูป่าช้า พวกอมนุษย์เปิด
ประตูให้.
[827] ครั้นเมื่ออนาถบิณฑิกคฤหบดีออกจากเมืองไป แสงสว่าง
ก่อนตรธานไป ความมืดปรากฏขึ้น ความกลัว ความหวาดเสียว ขนพอง
สยองเกล้าบังเกิดขึ้น ท่านคฤหบดีจึงใคร่ที่จะกลับเสียจากที่นั้น.

ครั้งนั้น ยักษ์ชื่อสีวกะไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า
ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง รถเทียม
ด้วยม้าอัสดรแสนหนึ่ง หญิงสาวที่สอด
สวมแก้วมณีและกุณฑลแสนหนึ่ง ย่อม
ไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 อันจำแนกแล้ว 16 ครั้ง
แห่งการยกย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง ท่านจง
ก้าวหน้าไปเถิด คฤหบดี ท่านจงก้าวหน้า
ไปเถิด คฤหบดี การก้าวหน้าไปของท่าน
ประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย.

ครั้งนั้นแล ความมืดได้หายไป แสงสว่างปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถ
บิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป.
[828] แม้ครั้งที่ 2 แสงสว่างหายไป ความมืดปรากฏขึ้นแก่ท่าน
อนาถบิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้า
บังเกิดขึ้น ท่านคฤหบดีจึงใคร่ที่จะกลับเสียจากที่นั้นอีก.
แม้ครั้งที่ 2 ยักษ์ชื่อสิวกะไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า
ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง รถเทียม
ด้วยม้าอัสดรแสนหนึ่ง หญิงสาวที่สอด
สวมแก้วมณีและกุณฑลแสนหนึ่ง ย่อม
ไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 อันจำแนกแล้ว 16 ครั้ง
แห่งการยกย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง ท่านจง
ก้าวหน้าไปเถิด คฤหบดี ท่านจงก้าวหน้า
ไปเถิด คฤหบดี การก้าวหน้าไปของท่าน
ประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย.

ครั้งนั้นแล ความมืดได้หายไป แสงสว่างปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถ
บิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป.
[829] แม้ครั้งที่ 3 แสงสว่างหายไป ความมืดปรากฏขึ้นแก่ท่าน
อนาถบิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้า
บังเกิดขึ้น ท่านคฤหบดีจึงใคร่ที่จะกลับเสียจากที่นั้นอีก.
แม้ครั้งที่ 3 ยักษ์ชื่อสิวกะไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า
ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง ฯลฯ
ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 อันจำแนกแล้ว 16
ครั้ง แห่งการยกย่างเท้าไปก้าวหนึ่งท่าน
จงก้าวหน้าไปเถิด คฤหบดีท่านจงก้าวหน้า
ไปเถิด คฤหบดี การก้าวหน้าไปของท่าน
ประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย.

ครั้งนั้นแล ความมืดได้หายไป แสงสว่างได้ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถ-
บิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป.
[830] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีเดินเข้าไปถึงสีตวัน.
สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี
เสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นอนาถบิณฑิกคฤหบดีผู้
มาแต่ไกล ครั้นแล้วเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้น
แล้วได้ตรัสเรียกอนาบิณฑิกคฤหบดีว่า มานีเถิดสุทัตตะ.
ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทัก
เราโดยชื่อ จึงหมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าในที่
นั้นเอง แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ พระองค์ประทับ
อยู่เป็นสุขหรือพระเจ้าข้า.

[831] พระผู้มีพระภาคเจ้าตอบว่า
พราหมณ์ผู้ดับกิเลสเสียได้แล้วไม่ติด
อยู่ในกามทั้งหลาย เป็นผู้เย็น ปราศจาก
อุปธิ ย่อมเป็นสุขเสมอไป ผู้ที่ตัดตัณหา
เครื่องเกี่ยวข้องได้หมดแล้ว กำจัดความ
กระวนกระวายในใจเสียได้ เป็นผู่สงบอยู่
เป็นสุข เพราะถึงสันติด้วยใจ.


อรรถกถาสุทัตตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสุทัตตสูตรที่ 8 ต่อไปนี้ :-
บทว่า เกนจิเทว กรณีเยน ได้แก่ ประสงค์เอาพาณิชยกรรม.
อนาถบิณฑิกคฤหบดี และราชคหเศรษฐี เป็นคู่เขยกันและกัน. เมื่อใด ใน
กรุงราชคฤห์ มีสินค้าส่งออกมีค่ามาก เมื่อนั้น ราชคหเศรษฐี พาเอาสินค้านั้น
ไปกรุงสาวัตถีด้วยเกวียนร้อยเล่ม พักอยู่ในที่ประมาณโยชน์หนึ่งให้ผู้อื่นรู้ว่าตน
มาแล้ว. อนาถบิณฑิกคฤหบดี ไปต้อนรับ ทำสักการะเป็นอันมากแก่เขาแล้ว
จึงขึ้นยานเดียวกันเข้าไปกรุงสาวัตถี. ถ้าว่า สินค้าจำหน่ายได้เร็ว เขาก็จำหน่าย
ถ้าจำหน่ายไม่ได้ ก็จะเก็บไว้ในเรือนพี่สาวแล้ว ก็หลีกไป. แม้อนาถบิณฑิก
คฤหบดี ก็กระทำอย่างนั้น เหมือนกัน . แม้ในกาลนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีนี้