เมนู

ภิกษุ ท่านอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลาย
ย่อมไม่สาธยายบทแต่งพระธรรม เพราะ
เหตุไร บุคคลฟังธรรมแล้วย่อมได้ความ
เลื่อมใส ผู้กล่าวธรรมย่อมได้รับความ
สรรเสริญในทิฏฐธรรมเทียว.

[788] ภิกษุกล่าวตอบว่า
ความพอใจในบทแห่งพระธรรมได้
มีแล้วในกาลก่อน จนถึงกาลที่เรามาร่วม
ด้วยวิราคะ และเพราะเรามาร่วมด้วยวิราคะ
แล้ว สัตบุรุษทั้งหลายรู้ทั่วถึง รูป เสียง
กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ อย่างใด
อย่างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวการวางเสีย.


อรรถกถาสัชฌายสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสัชฌายสูตรที่ 10 ต่อไปนี้ :-
บทว่า ยํ สุทํ สักว่าเป็นนิบาต. บทว่า สชฺฌายพหุโล ความว่า
เมื่อท่องอยู่ด้วยอำนาจแห่งนิสสรณะและปริยัติ คือท่องตลอดเวลามากกว่า
ได้ยินว่า ภิกษุนั้นปัดกวาดที่พักกลางวันของอาจารย์แล้วยืนดูอาจารย์. เมื่อเห็น
อาจารย์นั้นกำลังเดินมา จึงลุกขึ้นไปรับบาตรและจีวร. เมื่ออาจารย์นั่งบน
อาสนะที่ปูไว้แล้ว ก็เอาพัดใบตาลพัดให้ บอกน้ำฉันให้ ล้างเท้า ทาน้ำมัน
ไหว้แล้วยืนเรียนอุเทศทำการท่องตลอดถึงพระอาทิตย์ตก. ภิกษุนั้น เอาน้ำ

เข้าไปตั้งไว้ในซุ้ม จุดไฟในเตาก่อน. เมื่ออาจารย์อาบน้ำมาแล้ว ก็เช็ดน้ำ
ที่เท้า นวดหลัง ไหว้แล้วเรียนอุเทศ ทำการท่องในปฐมยาม พักผ่อน
ร่างกายในมัชฌิมยาม ลุกขึ้นในปัจฉิมยาม เรียนอุเทศทำการท่องจนถึง
อรุณขึ้นแล้ว จึงพิจารณาเสียงที่ดับไปแล้ว โดยความสิ้นไป. เจริญวิปัสสนา
ในขันธ์ 5 คืออุปาทายรูปที่เหลือจากนั้น ภูตรูป นามรูปแล้วบรรลุพระอรหัต.
บทว่า อปฺโปสฺสุโก ความว่า ไม่ขวนขวายในการเรียนอุเทศและในการ
ทำการท่อง. บทว่า สกมายติ ความว่า ภิกษุนั้นคิดว่า บัดนี้ เราจะพึงทำการ
ท่องเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ของเรานั้นถึงที่สุดแล้ว บัดนี้ จะเป็นประโยชน์
อะไรกับ การท่องของเราดังนี้แล้ว ยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความสุขอันเกิดจากผล
สมาบัติ. บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เทวดาคิดว่า ความไม่สบายเกิดแก่
พระเถระ หรือว่าแก่อาจารย์ของท่าน เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงไม่ท่องด้วย
เสียงอันไพเราะเหมือนในก่อน ดังนี้แล้วจึงไปยืนพูดอยู่ในที่ใกล้. พระพุทธ
วจนะทั้งปวงท่านประสงค์เอาในบทว่า ธมฺมปทานิ. บทว่า นาธิยสิ แปลว่า
ไม่ท่อง. บาลีว่า นาทิยสิ บ้าง ความว่า. ไม่ถือเอา. บทว่า ปสํสํ คือ
ผู้กล่าวธรรมย่อมได้ความสรรเสริญ. ผู้ที่กล่าวธรรมนั้นย่อมมีผู้สรรเสริญว่า
ผู้ทรงจำอภิธรรม ผู้ทรงจำพระสูตร ผู้ทรงพระวินัย. บทว่า วิราเคน ได้แก่
ด้วยอริยมรรค. บทว่า อญฺญาย แปลว่า รู้แล้ว. บทว่า นิกฺเขปนํ ความว่า
ท่านแสดงแก่พระเถระนั้นว่า สัตบุรุษย่อมกล่าววิสัชนาสิ่งที่เห็นแล้วและฟัง
แล้วะเป็นต้น. ไม่ใช่ (แสดง) แก่พระพุทธเจ้า. อธิบายว่า พระเถระให้วิสัชนา
พุทธพจน์ด้วยคำประมาณเท่านี้. ไม่พึงเป็นผู้ท่องตลอดกาลเป็นนิตย์. แต่
ว่าภิกษุนั้นท่องแล้วรู้ว่า เราสามารถเป็นผู้ทรงจำอรรถหรือธรรมประมาณเท่านี้
ดังนี้แล้ว พึงปฏิบัติเพื่อทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์.
จบอรรถกถาสัชฌายสูตรที่ 10

11. อโยนิโสมนสิการสูตร



อกุศลวิตกเกิดเพราะไม่มนสิการโดยแยบคาย



[789] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน
แคว้นโกศล สมัยนั้นแล เธอไปที่พักในกลางวัน ตรึกอกุศลวิตกอันลามก
คือกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก.
[790] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิ่งอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู
ใคร่ประโยชน์ หวังจะให้ภิกษุนั้นสังเวช จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว
ได้กล่าวกะภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า
ท่านถูกวิตกกิน เพราะมนสิการ
ไม่แยบคาย ท่านจงละมนสิการไม่แยบคาย
เสีย และจงใคร่ครวญโดยแยบคาย ท่าน
ปรารภพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์
และศีลของตนแล้ว จะบรรลุความปรา-
โมทย์ ปีติและสุขโดยไม่ต้องสงสัย แต่นั้น
ท่านจักเป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ จัก
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

ลำดับนั้นแล ภิกษุนั้น เป็นผู้อันเทวดานั้นให้สังเวชถึงซึ่งความ
สลดใจแล้วแล.