เมนู

เป็นนิตย์ ก็แลภิกษุทั้ง 2 นี้ ถึงความคลุกคลี บางที่ภิกษุนี้จะพึงประทุษร้าย
ตระกูลนี้ เราจักเตือนภิกษุนั้น ดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงกล่าว.
บทว่า สณฺฐาเน ความว่า ในที่ใกล้ประตูเมืองซึ่งคนทิ้งสิ่งของไว้
ระเกะระกะ. บทว่า สงฺคมฺม แปลว่า มาประชุมกัน. บทว่า มนฺเตนฺติ
แปลว่า พูดกัน. บทว่า มญฺจ ตญฺจ แปลว่า กล่าวกะเราด้วย กล่าวกะ
เขาด้วย. บทว่า กิมนฺตรํ. แปลว่า เพราะเหตุไร. บทว่า พหู หิ สทฺทา
ปจฺจูหา ความว่า เสียงที่เป็นข้าศึกเหล่านี้มีมากในโลก. บทว่า น เตน
แปลว่า เพราะเหตุนั้น หรืออันผู้มีตบะนั้นไม่พึงเก้อเขิน. บทว่า น หิ เตน
ความว่า ก็สัตว์จักเศร้าหมองเพราะคำที่คนอื่นกล่าวแล้วนั้นก็หาไม่. เทวดา
นั้นแสดงว่า ก็จักเศร้าหมองด้วยบาปกรรมที่คนเห็นแล้วเอง. บทว่า วาตมิโค
ยถา
ความว่า เนื้อสมันในป่าย่อมสะดุ้งด้วยเสียงแห่งใบไม้เป็นต้น ที่ถูกลมพัด
ฉันใด เขาชื่อว่าเป็นผู้สะดุ้งด้วยเสียงนั้น ฉันนั้น. บทว่า นาสฺส สมฺปชฺชเต วตํ
ความว่า วัตรของผู้มีจิตเบานั้น ย่อมไม่สมบูรณ์. ก็แล พึงทราบว่า พระเถระ
มีวัตรบริบูรณ์แล้ว เพราะเป็นพระขีณาสพ.
จบอรรถกถากุลฆรณีสูตรที่ 8

9. วัชชีปุตตสูตร



ภิกษุวัชชีได้ฟังดนตรีแล้วคร่ำครวญ



[783] สมัยหนึ่ง ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่า
แห่งหนึ่ง ใกล้เมืองเวสาลี สมัยนั้นแล วาระแห่งมหรสพตลอดราตรีทั้งปวง
ย่อมมีในเมืองเวสาลี.
[784] ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้นได้ฟังเสียงกึกก้องแห่งดนตรี อันบุคคล
ตีและบรรเลงแล้วในเมืองเวสาลี คร่ำครวญอยู่ ได้ภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า

เราเป็นคน ๆ เดียวอยู่ในป่า ประดุจ
ท่อนไม้ที่เขาทิ้งแล้วในป่า ฉะนั้น ใครจะ
เป็นผู้ลามกกว่าเราในราตรีเช่นนี้หนอ.

[785] ลำดับนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู ใคร่
ประโยชน์แก่เธอ ใคร่จะยังเธอให้สลดจึงเข้าไปหาจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้
กล่าวกะเธอด้วยคาถาว่า
ท่านเป็นคน ๆ เดียวเท่านั้นอยู่ในป่า
ประดุจท่อนไม้ที่เขาทิ้งแล้วในป่าฉะนั้น
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมากย่อม
รักท่าน ประดุจสัตว์นรกรักผู้ที่จะพาไป
สวรรค์ ฉะนั้น.

ลำดับนั้นแล ภิกษุนั้นเป็นผู้อันเทวดาให้สังเวชถึงซึ่งความสลดแล้วแล.

อรรถกถาวัชชีปุตตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในวัชชีปุตตสูตรที่ 9 ต่อไปนี้ :-
บทว่า วชฺชีปุตฺตโก คือ ราชบุตรในแคว้นวัชชี. สละเศวตฉัตร
ออกบวช. บทว่า สพฺพรตฺติจาโร ความว่า การรื่นเริงที่เขาป่าวร้อง การ
เล่นในเดือนสิบสอง ตกแต่งด้วยธงชัยและธงแผ่นผ้าเป็นไปทั่วพระนคร ชื่อว่า
ผู้เที่ยวตลอดทั้งคืน. จริงอยู่ นักขัตฤกษ์นี้ มีติดต่อเป็นอันเดียวกันตลอด
ถึงชั้นจาตุมหาราชิกา. บทว่า ตุริยตาฬิตวาทิตนิคฺโฆสสทฺทํ คือ เสียง
กึกก้องแห่งดนตรีมีกลองเป็นต้นที่เขาตีแล้ว และเครื่องสายมีพิณเป็นต้นที่เขา