เมนู

นอนหลับในที่แห่งหนึ่ง คิดว่า เราจะได้อาหารอย่างดีในเวลาบริโภคของ
คนทั้งหลาย ดังนี้ เมื่อใกล้เที่ยง ก็ลุกขึ้นเอาเครื่องกรองน้ำตักน้ำล้างตาแล้ว
ไปหาอาหารฉันตามต้องการ ครั้นเลยเที่ยงแล้วก็หลีกไป. บทว่า ทิวา จ อาคนฺ
ตฺวา
ความว่า ชื่อว่า ผู้เข้าไปเกินเวลา พึงมาก่อนภิกษุทั้งหลายอื่น แต่ท่าน
มาสายเกินไป. บทว่า ภายามิ นาคทตฺตํ ได้แก่ เรากลัวท่านนาคทัตตะ
นั้น. บทว่า สุปคพฺภํ ได้แก่ คะนองด้วยดี. บทว่า กุเลสุ คือ ในตระกูล
ผู้อุปัฏฐากมีตระกูลกษัตริย์เป็นต้น.
จบอรรถกถานาคทัตตสูตรที่ 7

8. กุลฆรณีสูตร



ว่าด้วยเทวดาเตือนภิกษุรูปหนึ่งผู้คลุกคลี



[780] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน
แคว้นโกศล สมัยนั้นแล ภิกษุนั้นไปอยู่คลุกคลีในสกุลเเห่งหนึ่งเกินเวลา.
[781] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในราวป่านั้น มีความเอ็นดูใคร่
ประโยชน์แก่ภิกษุนั้น ใคร่จะให้เธอสังเวช จึงเนรมิตเพศแห่งหญิงแม้เรือน
ในตระกูลนั้นเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า
ชนทั้งหลาย ย่อมประชุมสนทนา
กันที่ฝั่งแม่น้ำ ในโรงที่พัก ในสภา และ
ในถนน ส่วนเราและท่านเป็นดังเรือ.

[782] แท้จริงเสียงที่เป็นข้าศึกมีมากอัน
ท่านผู้มีตบะ พึงอดทน ไม่พึงเก้อเขิน