เมนู

5. อานันทสูตร



ว่าด้วยเทวดาเตือนพระอานนท์



[771] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์ พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่ง
ในแคว้นโกศล สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ เป็นผู้มากไปด้วยการรับแขก
ฝ่ายคฤหัสถ์เกินเวลาอยู่.
[772] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู
ใคร่ประโยชน์แก่ท่านพระอานนท์ ใคร่จะให้ท่านสังเวชจึงเข้าไปหาถึงที่อยู่
ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านด้วยคาถาว่า
ท่านเข้าไปสู่ที่รกคือโคนต้นไม้แล้ว
จงใส่ใจถึงพระนิพพาน โคตมะ ท่านจง
เพ่งฌาน อย่าประมาท ถ่อยคำที่สนทนา
ของท่านจัก ทำอะไรได้.

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ เป็นผู้อันเทวดานั้นให้สังเวชถึงซึ่งความ
สลดใจแล้วแล.

อรรถกถาอานันทสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอานันทสูตรที่ 5 ต่อไปนี้ :-
บทว่า อานนฺโท คือ พระเถระผู้เป็นคลังพระธรรม. บทว่า อติเวลํ
แปลว่า เกินเวลา. บทว่า คิหิสญฺญตฺติพหุโล ความว่า ยังคฤหัสถ์
ให้รู้จักเวลาเป็นอันมาก ทั้งกลางวันและกลางคืน. จริงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระกล่าวกะพระเถระว่า ดูก่อน

ผู้มีอายุ เราจักไปเข้าจำพรรษาในกรุงราชคฤห์แล้วสังคายนาพระธรรม ท่านจงไป
จงเข้าไปสู่ป่ากระทำความเพียร เพื่อประโยชน์แก่มรรคทั้ง 3 เบื้องบนเถิด.
พระอานันทเถระถือเอาบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าไปยังแคว้นโกศล อยู่
ในสำนักบ่าแห่งหนึ่ง รุ่งขึ้น จึงเข้าไปยังบ้านแห่งหนึ่ง. คนทั้งหลายเห็น
พระเถระแล้วกล่าวคำเป็นอันมากว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ในคราวก่อน
ท่านมากับพระศาสดา วันนี้มารูปเดียวเท่านั้น ท่านทอดทิ้งพระศาสดาไว้เสีย
ไหน บัดนี้ ท่านถือบาตรและจีวรของใครมา ท่านจะถวายน้ำล้างหน้า
จะปัดกวาดบริเวณ จะทำวัตรปฏิบัติแก่ใคร ดังนี้ พากันคร่ำครวญแล้ว
พระเถระกล่าวคำเป็นต้นว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย อยู่เศร้าโศกเลย อย่า
คร่ำครวญเลย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ยังเขาให้รู้พร้อมแล้ว ทำภัตกิจแล้ว
ไปสู่ที่พัก. แม้ในเวลาเย็น คนทั้งหลายไปในที่นั้น พากันคร่ำครวญอย่างนั้น
พระเถระก็สั่งสอนอย่างนั้นเหมือนกัน. คำนี้ ท่านกล่าวหมายถึงข้อนั้น.
บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เทวดาคิดว่า พระเถระนี้คิดว่า เรา
ฟังคำของภิกษุสงฆ์แล้วจักบำเพ็ญสมณธรรมดังนี้ แล้วเข้าไปสู่ป่า บัดนี้
ยังคฤหัสถ์ให้รู้พร้อมกันอยู่ ยังไม่กระทำศาสนาของพระศาสดาที่ตั้งอยู่ให้เป็น
ประมวลธรรมเหมือนกองดอกไม้ที่ไม่ได้รวบรวม เราจะเตือนท่าน ดังนี้แล้ว
จึงกล่าว. บทว่า ปสกฺกิย แปลว่า เข้าไปแล้ว. บทว่า หทยสฺมึ โอปฺปิย
ได้แก่ ใส่ไว้ในหทัยด้วยกิจและด้วยอารมณ์. พระเถระคิดว่า เราจะบรรลุ
พระนิพพาน ดังนี้แล้ว ทำความเพียรอยู่ ชื่อว่า ใส่พระนิพพานไว้ในหทัย
ด้วยกิจ แต่เพื่อยังสมาบัติมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ให้แนบแน่นนั่งอยู่. (ชื่อว่า
ใส่พระนิพพานไว้ในหทัย) ด้วยอารมณ์. เทวดานี้ย่อมกล่าวหมายถึงกิจและ
อารมณ์ทั้ง 2 นั้น. บทว่า ฌาย คือ จงเป็นผู้เพ่งด้วยฌานทั้งสอง. บทว่า
ปีฬิปีฬิกา แปลว่า นี้ถ้อยคำพูดกับคฤหัสถ์.
จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ 5.

6. อนุรุทธสูตร



ว่าด้วยภรรยาเก่าของพระอนุรุทธะ



[773] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะพำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน
แคว้นโกศล.
[774] ครั้งนั้นแล เทวดาชั้นดาวดึงส์องค์หนึ่งชื่อชาลินีเป็นภรรยา
เก่าของท่านพระอนุรุทธะ เข้าไปหาท่านถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านด้วย
คาถาว่า
ท่านจงตั้งจิตของท่านไว้ในหมู่ทวย-
เทพชั้นดาวดึงส์ ซึ่งพรั่งพร้อมด้วย
อารมณ์อันน่าใคร่ทั้งปวง ที่ท่านเคยอยู่ใน
กาลก่อน ท่านจะเป็นผู้อันหมู่เทวดาแวด-
ล้อมเป็นบริวาร ย่อมงดงาม

[775] ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า
เหล่านางเทพกัลยาผู้มีคติอันทราม
ดำรงมันอยู่ในกายของตน สัตว์ทั้งหลาย
เหล่านั้น แม้เป็นผู้มีคติอันทราม ก็ถูก
นางเทพกัลยาปรารถนา.

[776] เทวดาชื่อชาลินีกล่าวว่า
เหล่าสัตว์ผู้ไม่ได้เห็นที่อยู่อันเป็นที่
น่าเพลิดเพลินของนรเทพชั้นไตรทศผู้มียศ
ก็ชื่อว่าไม่รู่จักความสุข.

[777] ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า
ดูก่อนเทวดาผู้เขลา ท่านไม่รูแจ้ง
ตามคำของพระอรหันต์ว่า สังขารทั้งปวง