เมนู

ไม่รู้เนื้อความแห่งธรรมนั้น. บทว่า อาโลเกติ ได้แก่ ยังนิ้วหัวแม่มือที่ลุก
โพลงอยู่ด้วยฤทธิ์ของปุถุชนของท่านให้สว่าง. บทว่า น ปสฺสติ ความว่า
ย่อมไม่เห็นเหตุการณ์นี้ว่า ในที่นี้ ไม่มีน้ำมัน ไม่มีไส้ ไม่มีตะเกียง แต่นิ้ว
หัวแม่มือนี้ลุกโพลงด้วยอานุภาพของพระเถระ. บทว่า ทส ปชฺโชเต คือ
ประทีป 10 ดวง ในนิ้วมือ 10 นิ้ว. บทว่า รูปานิ ได้แก่ รูปที่เป็นเหตุ.
บทว่า จกขุํ คือ ปัญญาจักษุ. บทว่า สํเวคมาปาทิ ความว่า ท่านพระ-
กัสสปโคตรคิดว่า จะมีประโยชน์อะไรแก่เรา กับพรานนี้ จึงประคองความ
เพียรดำเนินตามอรหัตมรรคที่เป็นธรรมวิเวก.
จบอรรถกถากัสสปโคตตสูตรที่ 3

4. สัมพหุลสูตร



ว่าด้วยเทวดาคร่ำครวญถึงภิกษุผู้จากไป



[768] สมัยหนึ่ง ภิกษุมากด้วยกัน พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน
แคว้นโกศล ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นอยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสแล้วหลีกไปสู่
จาริก.
[769] ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น เมื่อไม่เห็นภิกษุ
เหล่านั้นก็คร่ำครวญถึง ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ความสนิทสนมย่อมปรากฏประดุจ
ความไม่ยินดีเพราะเห็นภิกษุเป็นอันมากใน
อาสนะอันสงัด ท่านเหล่านั้น เป็นพหูสูต
มีถ้อยคำไพเราะ ท่านเป็นสาวกของพระ-
โคดม ไปที่ไหนกันเสียแล้ว.

[770] เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าว
กะเทวดานั้นด้วยคาถาว่า
ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ไม่อาลัยที่อยู่
เที่ยวไปเป็นหมู่ ประดุจวานรไปสู่แคว้น
มคธและโกศล บางพวกก็บ่ายหน้าไปสู่
แคว้นวัชชี.


อรรถกถาสัมพหุลสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสัมพหุลสูตร ที่ 4 ต่อไปนี้ :-
บทว่า สมฺพหุลา คือ ผู้ทรงพระสูตร ผู้ทรงพระอภิธรรม ผู้ทรง
พระวินัย เป็นอันมาก. บทว่า วิหรนฺติ ได้แก่ เรียนกัมมัฏฐานในสำนัก
พระศาสดาแล้วอยู่. บทว่า ปกฺกมึสุ ความว่า ได้ยินว่า คนทั้งหลายเห็น
ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปยังหมู่บ้านแห่งใดแห่งหนึ่งในชนบทนั้น ก็มีจิตเลื่อมใส ปู
ลาดผ้าขนแกะเป็นต้นไว้ที่หอฉัน ถวายข้าวต้มและของขบเคี้ยวแล้วนั่งใกล้.
พระมหาเถระ กล่าวกะพระธรรมกถึกรูปหนึ่งว่า เธอจงกล่าวธรรม. พระธรรกถึก
นั้นจึงกล่าวธรรมกถาอย่างไพเราะ. คนทั้งหลายเลื่อมใสแล้วได้ถวายโภชนะอัน
ประณีตในเวลาฉัน. พระมหาเถระได้กระทำอนุโมทนาอาหารอย่างพึงพอใจ.
คนทั้งหลายเลื่อมใสอย่างยิ่งแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์จำพรรษา
อยู่ในที่นี้ตลอด 3 เดือนเถิด ให้ท่านรับปฏิญญาแล้ว ให้สร้างเสนาสนะในที่
ซึ่งสะดวกด้วยการไปมาอุปฐากด้วยปัจจัย 4.
พระมหาเถระสอนภิกษุในวันเข้าพรรษาว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พวกท่าน
เรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาผู้เป็นครู ชื่อว่า ความปรากฏแห่งพระ-