เมนู

อรรถกถาปโรสหัสสสูตร



ในปโรสหัสสสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปโรสหสฺสํ ได้แก่เกิน 1,000. บทว่า อกุโตภยํ ความว่า
ในพระนิพพานไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ. จริงอยู่ ผู้บรรลุพระนิพพานก็ไม่มีภัยแต่
ที่ไหน ๆ ฉะนั้น พระนิพพานจึงชื่อว่า ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ. บทว่า อิสีนํ
อิสิสตฺตโม
ความว่า เป็นพระฤาษีองค์ที่ 7 จำเดิมแต่พระพุทธเจ้าทรง
พระนามว่าวิปัสสี.
คำว่า กึ นุ เต วงฺคีส นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยที่เกิดเรื่องขึ้น.
ได้ยินว่า เรื่องเกิดขึ้นท่ามกลางสงฆ์ว่า พระวังคีสเถระสละกิจวัตร ไม่สนใจ
อุทเทสปริปุจฉาและโยนิโสมนสิการ เที่ยวแต่งคาถาทำจุณณียบทเรื่อยไป.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่รู้ปฏิภาณสมบัติ
ของพระวังคีสะ เข้าใจว่า พระวังคีสะคิดแล้วคิดเล่าจึงกล่าว เราจักให้ภิกษุ
เหล่านั้นรู้ปฏิภาณสมบัติของท่าน ครั้นทรงพระดำริแล้ว จึงตรัสคำมีอาทิว่า กึ นุ
เต วงฺคีส
ดังนี้.
บทว่า อุมฺมคฺคสตํ ได้แก่ กิเลสที่ผุดขึ้นหลายร้อย. อนึ่ง ท่าน
กล่าวว่า สต เพราะเป็นทางดำเนินไป. บทว่า ปภิชฺช ขีลานิ ความว่า
เทียวทำลายกิเลส 5 อย่าง มีกิเลสเพียงดังตะปูคือราคะเป็นต้น. บทว่า ตํ
ปสฺสถ
ความว่า จงดูพระพุทธเจ้านั้นผู้เที่ยวครอบงำทำลายอย่างนี้. บทว่า
พนฺธปมุญฺจกรํ ได้แก่ ผู้กระทำการปลดเปลื้องกิเลสเป็นเครื่องผูก. บทว่า
อสิตํ ได้แก่ ผู้อันกิเลสไม่อาศัยแล้ว. บทว่า ภาคโส ปวิภชฺชํ ความว่า

ผู้ทรงจำแนกธรรมเป็นส่วน ๆ มีสติปัฏฐานเป็นต้น. ปาฐะว่า ปวิภช ดังนี้ก็มี
ความว่า จงแยกเป็นส่วนน้อยใหญ่ดู.
บทว่า โอฆสฺส ได้แก่โอฆะ 4. บทว่า อเนกวิหิตํ ได้แก่ มี
หลายอย่างมีสติปัฏฐานเป็นต้น. บทว่า ตสฺมึ เจ อมเต อกฺขาเต ความว่า
เมื่อพระองค์ตรัสบอกทางอันเป็นอมตะนั้น. บทว่า ธมฺมทฺทสา ได้แก่ผู้เห็น
ธรรม บทว่า ฐิตา อสํหิรา ความว่า ผู้ตั้งมั่นไม่ง่อนแง่น.
บทว่า อติวิชฺฌ ได้แก่ แทงตลอดแล้ว. บทว่า สพฺพทิฏฺฐีนํ ได้แก่
ที่ตั้งทิฏฐิหรือวิญญาณฐิติทั้งปวง. บทว่า อติกฺกมมทฺทส ได้แก่ ได้เห็น
พระนิพพานอันเป็นธรรมก้าวล่วง. บทว่า อคฺคํ ได้แก่ เป็นธรรมสูงสุด.
ปาฐะว่า อคฺเค ดังนี้ก็มี. ความว่า ก่อนกว่า. บทว่า ทสฏฺฐานํ ความว่า
ทรงแสดงธรรมอันเลิศแก่ภิกษุ 5 รูป คือ ปัญจวัคคีย์ หรือทรงแสดงธรรม
ในฐานะอันเลิศแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่ผู้รู้
อยู่ว่า ธรรมนี้ทรงแสดงดีแล้ว ไม่พึงทำความประมาท ฉะนั้น. บทว่า
อนุสิกฺเข ได้แก่ พึงศึกษาสิกขา 3.
จบอรรถกถาปโรสหัสสสูตรที่ 8

9. โกณฑัญญสูตร



พระวังคีสะสรรเสริญพระอัญญาโกณฑัญญะ



[751] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์
ครั้งนั้นแล ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับต่อกาลนานนักทีเดียว ครั้นแล้วได้หมอบลงแทบพระบาททั้งสอง
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า จูบพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าด้วยปาก นวดฟั้นด้วยมือทั้งสอง และประกาศชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอว่า โกณฑัญญะ ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
ชื่อว่าโกณฑัญญะ ดังนี้.
[752] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า ท่านพระ-
อัญญาโกณฑัญญะนี้ นานนักทีเดียวจึงได้เข้าเผ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้า
เฝ้าแล้ว ได้หมอบลงแทบพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า
จูบพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยปาก นวดฟั้นด้วยมือทั้งสอง
และประกาศชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ชื่อว่า โกณฑัญญะ
ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ชื่อว่า โกณฑัญญะ อย่ากระนั้นเลย เราพึงชมเชย
ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย
คาถาทั้งหลายตามสมควรเถิด.
ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะแล้ว ประณมอัญชลีไป
ทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เนื้อความนี้ย่อมแจ่มเเจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่
พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์.