เมนู

เพราะถึงความดับ เพราะทำให้สิ้นทุกข์. อธิบายว่า เพราะให้ถึงความดับกิเลส
และเป็นไปเพื่อทำให้สิ้นทุกข์ในวัฏฏะ. อีกอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสพระ-
วาจาใด ซึ่งเป็นวาจาเกษม เพราะประกาศมรรคอันเกษม เพื่อประโยชน์ของ
นิพพานธาตุทั้งสอง คือเพื่อถึงพระนิพพาน เพื่อทำให้สิ้นทุกข์. ในคำว่า
สา เว วาจานมุตฺตมา นี้ พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า วาจานั้นประเสริฐ
ที่สุดแห่งวาจาทั้งปวง ดังนี้. ท่านพระวังคีสะเมื่อชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยคำประกอบด้วยปัญญา ด้วยคาถานี้ ให้จบเทศนาด้วยยอดธรรมคือพระ-
อรหัต ด้วยประการฉะนั้นแล.
จบอรรถกถาสุภาสิตสูตรที่ 5

6. สารีปุตตสูตร



ว่าด้วยการสรรเสริญพระสารีบุตร



[741] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย เห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวย
ไม่มีโทษ ไม่เคลื่อนคลาด อาจยังผู้ฟังให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง.
ส่วนภิกษุเหล่านั้นก็ทำธรรมนั้นให้เป็นประโยชน์ ใส่ใจกำหนดด้วยจิต
ทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรม.
[742] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า ท่านพระ-
สารีบุตรนี้ แนะนำชักชวนภิกษุทั้งหลายให้อาจหาญ รื่นเริงด้วยธรรมีกถา
ด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวย ไม่มีโทษ ไม่เคลื่อนคลาด อาจยังผู้ฟังให้
รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง.

ส่วนภิกษุเหล่านั้นเล่า ก็ทำธรรมนั้นให้เป็นประโยชน์ ใส่ใจกำหนด
ด้วยจิตทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรม อย่ากระนั้นเลย เราควรสรรเสริญท่าน
พระสารีบุตรด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรในที่เฉพาะหน้าเถิด.
ลำดับนั้นแล ท่านพระวงคีสะลุกจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า
ข้างหนึ่งแล้ว ประณมอัญชลีไปทางท่านพระสารีบุตรแล้ว ได้กล่าวกะท่าน
พระสารีบุตรดังนี้ว่า ท่านสารีบุตร เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพเจ้า ท่าน
สารีบุตร เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพเจ้า.
ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะท่านพระวังคีสะว่า เนื้อความนั้นจงแจ่มแจ้ง
กะท่านเถิด ท่านวังคีสะ.
[743] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้สรรเสริญท่านพระสารีบุตร
ต่อหน้าด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรว่า
ท่านสารีบุตรเป็นนักปราชญ์ มี
ปัญญาลึกซึ้ง ฉลาดในทางและมิใช่ทาง
มีปัญญามาก ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย แสดงโดยย่อก็ได้ แสดงโดย
พิสดารก็ได้ เสียงของท่านไพเราะดังก้อง
เหมือนเสียงนกสาริกา ปฏิภาณเกิดขึ้นโดย
ไม่รู้สิ้นสุด เมื่อท่านแสดงธรรมอยู่ ภิกษุ
ทั้งหลายย่อมฟังเสียงอันไพเราะ เป็นผู้
ปลื้มจิตยินดีด้วยเสียงอันเพราะ น่ายินดี
น่าฟัง เงี่ยโสตอยู่ ดังนี้.

อรรถกถาสารีปุตตสูตร



ในสารีปุตตสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โปริยา ได้แก่บริบูรณ์ด้วยอักขระและบท. บทว่า วิสฏฺฐาย
ได้แก่ อันโรคไม่เกี่ยวเกาะไม่พัวพัน. ก็เมื่อพระธรรมเสนาบดีกล่าว ย่อมมี
ถ้อยคำไม่พัวพันด้วยโรคดีเป็นต้น ย่อมเปล่งเสียง เหมือนเสียงจากกังสดาล
ที่ถูกเคาะด้วยท่อนเหล็ก. บทว่า อเนลคฬาย ได้แก่ไม่มีโทษไม่คลาดเคลื่อน
คือปราศจากโทษและมีบทพยัญชนะไม่คลาดเคลื่อน. จริงอยู่ เมื่อพระเถระพูด
บทหรือพยัญชนะไม่เสื่อมเสีย. บทว่า อตฺถสฺส วิญฺญาปนิยา ได้แก่สามารถ
ทำผู้พึงให้รู้เนื้อความแจ่มแจ้ง. บทว่า ภิกฺขุนํ คือ แก่ภิกษุทั้งหลาย.
บทว่า สงฺขิตฺเตนปิ ความว่า พระสารีบุตรเถระแสดงโดยย่ออย่าง
นี้บ้างว่า อาวุโส อริยสัจ 4 เหล่านี้ อริยสัจ 4 คืออะไรบ้าง คือทุกขอริยสัจ
ฯลฯ อาวุโส อริยสัจ 4 เหล่านี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ อาวุโส เธอพึงทำ
ความเพียรว่า นี้ทุกขอริยสัจ. บทว่า วิตฺถาเรนปิ ความว่า พระสารีบุตร
เมื่อจะจำแนกอริยสัจ 4 เหล่านั้น จึงกล่าวแม้โดยพิสดารโดยนัยมีอาทิว่า
อาวุโส ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ดังนี้ . แม้ในเทศนาขันธ์เป็นต้นก็นัยนี้เหมือน
กัน. บทว่า สาลิกา วิย นิคฺโฆโส ความว่า เมื่อพระเถระแสดงธรรม
ย่อมมีเสียงไพเราะกังวาน เหมือนเสียงของนางนกสาลิกาที่ลิ้มมะม่วงสุกมีรสหวาน
กระพือปีกเปล่งเสียงไพเราะ. บทว่า ปฏิภาณํ มุทีริยิ ความว่า ปฏิภาณเกิด
ขึ้นไม่สิ้นสุด เหมือนลูกคลื่นเกิดจากทะเล. บทว่า โอเธนฺติ ได้แก่ภิกษุเหล่า
นั้นย่อมเงี่ยโสตสดับ.
จบอรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ 6