เมนู

ทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดย
เป็นทุกข์ และอย่าเห็นโดยความเป็นตน
ท่านจงดับราคะอันแรงกล้า ท่านจงอย่าถูก
ราคะเผาผลาญบ่อย ๆ ท่านจงเจริญจิตใน
อสุภกัมมัฏฐาน ให้เป็นจิตมีอารมณ์เป็น
อันเดียวตั้งมั่นด้วยดีเถิด ท่านจงมีการ-
คตาสติ ท่านจงเป็นผู้มากด้วยความหน่าย
ท่านจงเจริญความไม่มีนิมิต และจงถอน
มานานุสัยเสีย เพราะการรู้เท่าถึงมานะ
ท่านจักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป ดังนี้.


อรรถกถาอานันทสูตร



ในอานันทสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ราโค เป็นต้น ความว่า ท่านพระอานนท์เป็นผู้มีปัญญามาก
อบรมตนดีแล้ว พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชานิมนต์ท่านให้นั่ง
ภายในนิเวศน์. พวกสตรีประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง เข้าไปหาพระเถระ
ไหว้แล้วพัดด้วยพัดใบตาล. เข้าไปนั่งถามปัญหา ฟังธรรม. ในที่นั้น
เมื่อท่านพระวังคีสะ บวชใหม่ ไม่อาจที่จะกำหนดอารมณ์ได้ ความกำหนัด
ในรูปารมณ์คือสตรีรบกวนจิต. เพราะบวชด้วยศรัทธา ท่านจึงเป็นคนตรง
คิดว่า ความกำหนัดของเรานี้กำเริบมากขึ้น พึงทำประโยชน์ปัจจุบันและ
ประโยชน์ภายหน้าให้เสียไป. นั่งอยู่ถัดกันนั่นแหละ เมื่อจะเปิดเผยตนแก่
พระเถระ จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า กามราเคน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิพฺพาปนํ ได้แก่เหตุดับราคะ. บทว่า
วิปริเยสา ได้แก่โดยคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง. บทว่า ราคูปสญฺหิตํ
ได้แก่อิฏฐารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งราคะ. บทว่า ปรโต ปสฺส ความว่า จงเห็น
โดยความเป็นของไม่เทียง. บทว่า มา จ อตฺตโต ความว่า จงอย่าเห็น
โดยความเป็นอัตตา. บทว่า กายคตา ตฺยตฺถุ ความว่า ท่านจงมีสติไปใน
กาย. บทว่า อนิมิตฺตญฺจ ภาเวหิ ความว่า เพราะท่านเพิกนิจจนิมิตมีเที่ยง
เป็นต้นเสียได้ วิปัสสนาจึงชื่อว่าหานิมิตมิได้. พระอานนทเถระกล่าวกะท่าน
พระวังคีสะนั้นว่า ภาเวทิ ท่านจงเจริญ ดังนี้. บทว่า มานาภิสมยา
ได้แก่ เพราะรู้ด้วยการเห็นมานะอย่างหนึ่ง เพราะรู้ด้วยการละอย่างหนึ่ง.
บทว่า อุปลนฺโต ได้แก่ ชื่อว่าเป็นผู้สงบเพราะราคะเป็นต้นสงบ.
จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ 4

5. สุภาสิตสูตร



ว่าด้วยวาจาสุภาษิต 4 ประการ



[738] สาวัตถีนิทาน.
ในสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาอัน
ประกอบด้วยองค์ 4 เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มี
โทษ และเป็นวาจาอันวิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน องค์ 4 เป็นไฉน ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมกล่าวแต่วาจาที่บุคคลกล่าวดีแล้ว
เท่านั้น ไม่กล่าววาจาที่บุคคลกล่าวชั่วแล้ว 1 ย่อมกล่าวแต่วาจาที่เป็นธรรม