เมนู

และความสุข บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียก
ภิกษุผู้เช่นนั้นว่า เป็นผู้เห็นธรรม เพราะ-
ฉะนั้น ท่านจงเป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงตะปู
เครื่องตรึงใจในโลกนี้ เป็นผู้มีความเพียร
จงละนิวรณ์ทั้งหลายเสีย เป็นผู้บริสุทธิ์
และละมานะอย่าให้มีส่วนเหลือแล้ว ทำ
ที่สุดแห่งกิเลสด้วยวิชชา เป็นผู้สงบระงับ
ดังนี้.


อรรถกถาเปสลาติมัญญนาสูตร



ในเปสลาติมัญญนาสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อติมญฺติ ความว่า ท่านพระวังคีสะดูหมิ่นว่า พระแก่ ๆ
เหล่านี้จะรู้อะไร บาลีก็ไม่รู้ อรรถกถาก็ไม่รู้ ความไพเราะของบทและ
พยัญชนะก็ไม่รู้ ส่วนพวกเรา ทั้งบาลีทั้งอรรถกถาปรากฏตั้งร้อยนัยพันนัย.
เพราะตนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้โคตมะ จึงเรียกตนว่าโคตมะ. บทว่า
มานปถํ ได้แก่อารมณ์แห่งมานะ และธรรมที่เกิดกับมานะ. บทว่า
วิปฺปฏิสารีหุวา ความว่า ได้เป็นผู้มีความร้อนใจ. บทว่า มคฺคชิโน
ได้แก่ผู้ชนะกิเลสด้วยมรรค. บทว่า กิตฺติญฺจ สุขญฺจ ได้แก่การกล่าว
สรรเสริญ และความสุขทางกายทางใจ. บทว่า อขีโลธ ปธานวา ความว่า
ในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังตะปู มีความเพียร คือสมบูรณ์ด้วยความเพียร.
บทว่า วิสุทฺโธ ความว่า พึงเป็นผู้บริสุทธิ์. บทว่า อเสสํ ได้แก่ละมานะ

เก้าอย่างไม่ให้เหลือ. บทว่า วิชฺชายนฺตกโร ได้แก่ ผู้กระทำที่สุดแห่งกิเลส
ทั้งหลายด้วยวิชชา. บทวา สมิตาวี ได้แก่ เป็นผู้สงบเพราะกิเลสมีราคะ
เป็นต้นสงบ.
จบอรรถกถาเปสลาติมัญญนาสูตรที่ 3

4. อานันทสูตร



ว่าด้วยวิธีแก้จิตกระสัน



[735] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้วถือบาตรและจีวร
เข้าไปเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี มีท่านพระวังคีสะเป็นปัจฉาสมณะ
ก็โดยสมัยนั้นแล ความกระสันได้เกิดขึ้น ความกำหนัดย่อมรบกวนจิตของท่าน
พระวังคีสะ.
[736] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ด้วย
คาถาว่า
ข้าพเจ้าเร่าร้อนเพราะกามราคะ จิต
ของข้าพเจ้ารุ่มร้อน ขอท่านจงบอกวิธี
เป็นเครื่องดับราคะ เพื่ออนุเคราะห์แก่
ข้าพเจ้าด้วยเถิด โคดม.

[737] ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า
จิตของท่านรุ่มร่อน เพราะสัญญา
อันวิปลาส ท่านจงละเว้นนิมิตอันสวยงาม
อันเกี่ยวด้วยราคะเสีย ท่านจงเห็นสังขาร