เมนู

ทุติยวรรคที่ 2



1. ปาสาณสูตร



มารกลิ้งศิลาขู่พระพุทธเจ้า



[446] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ
กรุงราชคฤห์.
ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในที่แจ้ว ในเวลากลางคืน
เดือนมืด และฝนกำลังตกประปรายอยู่.
[447] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปต้องการจะยังความกลัว ความ
หวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า ให้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเข้าไป
ณ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ครั้นแล้ว กลิ้งศิลาก้อนใหญ่ ๆ ไปใกล้
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
[448] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป
จึงตรัสสำทับกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
แม้ถึงว่าท่านจะพึงกลิ้งภูเขาคิชฌกูฏ
หมดทั้งสิ้น ความหวั่นไหวก็จะไม่มีแก่
พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้วโดย
ชอบแน่แท้.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นเอง.

ทุติยวรรคที่ 2



อรรถกถาปาสาณสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปาสาณสูตรที่ 1 วรรคที่ 2 ต่อไป :-
บทว่า นิสินฺโน ได้แก่ ประทับนั่ง กำหนดความเพียรตามนัยที่
กล่าวไว้แล้วในสูตรต้น ๆ นั่นแล. แม้มารก็รู้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
ประทับนั่งสบาย จึงเข้าไปเฝ้าด้วยหมายจะแกล้ง. บทว่า ปคฺคเฬสิ ความว่า
มารยืนที่หลังเขา แงะก้อนหิน ก้อนหินทั้งหลายก็ตกกระทบกัน ไม่ขาดสาย.
บทว่า เกวลํ แปลว่า ทั้งสิ้น. แม้ทั้งหมดก็เป็นไวพจน์ของคำว่า เกวลํ
นั้นนั่นแล.
จบอรรถกถาปาสาณสูตรที่ 1