เมนู

พระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึง
พระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อรรถกถากัฏฐหารสูตร



ในกัฏฐหารสูตรที่ 8 วินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนฺเตวาสิกา ได้แก่ มีผู้ทำการขวนขวายเล่าเรียนศิลปะ ซึ่ง
ว่า ธัมมันเตวาสิก. บทว่า นิสินฺนํ ได้แก่ ประทับนั่งเปล่งพระรัศมีมีวรรณะ
6. บทว่า คมฺภีรรูเป ได้แก่ มีสภาพลึก.
บทว่า พหุเภรเว ได้แก่อันน่าสะพึงกลัวมาก เพราะสิ่งที่มีวิญญาณ
และไม่มีวิญญาณที่น่าสะพึงกลัวซึ่งอยู่ในที่นั้น. บทว่า วิคาหิย ไดแก่ เข้า
ไปแล้วโดยลำดับ. บทว่า อนิญฺชมาเนน เป็นต้นเป็นกายพิเศษ. อธิบาย
ว่าด้วยทั้งกายเห็นปานนี้. ด้วยคำว่า สุจารุรูปํ วต ท่านกล่าวว่า ท่านแห่ง
ฌานดียิ่งหนอ.
บทว่า วนวสฺสิโต มุนิ ได้แก่ พระมุนีคือพระพุทธเจ้าทรงอาศัย
ป่า. บทว่า อิทํ ความว่า เหตุที่ท่านนั่งในป่าอย่างนี้นี่ ย่อมปรากฏเป็นสิ่งที่
น่าอัศจรรย์แก่ข้าพเจ้า. บทว่า ปีติมโน ได้แก่ ผู้มีจิตยินดี. บทว่า วเน วเส
ได้แก่ อยู่ในป่า.
บทว่า มญฺญามหํ ความว่าข้าพเจ้า ย่อมสำคัญ บทว่า โลกาธิปติ-
สหพฺยตํ
ได้แก่ ความเป็นสหายของท้าวมหาพรหมผู้เป็นใหญ่ในโลก. บทว่า
อากงฺขมาโน แปลว่า ปรารถนาอยู่. คำว่า ติวิธํ อนุตฺตรํ นี้ ท่านกล่าว
หมายพรหมโลกนั้นแหละ. บทว่า กสฺมา ภวํ วิชนมรญฺญมสฺสิโต ความ

ว่า ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ เราเข้าใจว่าท่านหวังพรหมโลกอันดับแรก พราหมณ์
ถามว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านจงบอกแก่เรา เหตุไร ท่านจึงชอบอยู่ป่า. บทว่า
พฺรหฺมปตฺติยา แปลว่า เพื่อถึงความเป็นผู้ประเสริฐในที่นี้ ข้อนี้ พราหมณ์
ถามโดยอาการอื่นอีกว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงทำความเพียร.
บทว่า กงฺขา ได้แก่ตัณหา. ด้วยบทว่า อภินนฺทนา นี้ แม้ตัณหา
ท่านก็เรียกว่า อภินันทนา. บทว่า อเนกธาตูสุ ได้แก่ ในอารมณ์ทั้งหลาย
มีสภาวะมากมาย. บทว่า ปุถู ได้แก่ ตัณหาหรือกิเลสที่เหลือมีประการต่างๆ
บทว่า สทา สิตา ได้แก่ อยู่ในอำนาจตลอดกาลเป็นนิตย์. บทว่า อญาณ-
มูลปฺปภวา
ได้แก่ ตัณหาเป็นธรรมชาติมีอวิชชาเป็นมูลราก. ด้วยบทว่า
ปชปฺปิติ นี้ ก็ตัณหาท่านเรียกว่า ปชัปปิตา โดยเป็นเหตุให้กระซิบว่า
แม้นี้เป็นของเรา แม้นี้ เป็นของเรา. บทว่า สพฺพา มยา พยนฺตีกตา ความ
ว่าตัณหาทั้งหมดอันเราทำให้สิ้นสุดคือหมดที่สุดแล้วด้วยอรหัตมรรค. บทว่า
สมูลิกา ได้แก่ พร้อมด้วยสิ่งที่มีอวิชชาเป็นมูล.
บทว่า อนุปโย ได้แก่ไม่มีตัณหาเข้าไปใกล้. ด้วยบทว่า สพฺเพสุ
ธมฺเมสุ วิสุทฺธทสฺสโน
นี้ ทรงแสดงถึงพระสัพพัญญุตญาณ. ด้วยบทว่า
สมฺโพธิมนุตฺตรํ ตรัสหมายเอาพระอรหัต. บทว่า สิวํ ได้แก่ ประเสริฐ
สุด. บทว่า ฌายามิ ความว่า เราย่อมเพ่งด้วยฌาน 2. บทว่า วิสารโท
ได้แก่ ปราศจากความกำหนัด.
จบอรรถกถากัฏฐหารสูตรที่ 8

9. มาตุโปสกสูตร



ว่าด้วยการเลี้ยงมารดาและบิดา



[713] สาวัตถีนิทาน.
ครั้งนั้น ทาตุโปสกพราหมณ์ผู้เลี้ยงมารดาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ
ปราศรัยกันตามทำเนียมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มาตุโปสกพราหมณ์
นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระ -
โคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าแสวงหาภิกษาโดยธรรมแล้วเลี้ยงมารดาและบิดา ข้าพเจ้า
ทำเช่นนี้ ชื่อว่าทำกิจที่ควรทำหรือไม่.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ชอบยิ่ง พราหมณ์ ท่านทำดังนี้ ชื่อว่า
ได้ทำกิจที่ควรทำแล้ว ด้วยว่า ผู้ใดแสวงหาภิกษาโดยธรรมแล้ว เลี้ยงมารดา
และบิดาผู้นั้นย่อมได้บุญเป็นอันมาก.
[714] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ-
ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
บุคคลใดเลี้ยงมารดาและบิดาโดย
ธรรม เพราะการบำรุงมารดาและบิดานั่น
แล บัณฑิตย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นในโลก
นี้ทีเดียว บุคคลนั้นละไปจากโลกนี้แล้ว
ย่อมบันเทิงในสวรรค์.

[715] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว มาตุโปสกพราหมณ์
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง
นัก ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม