เมนู

พระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์
ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจะมอง
เห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับ
พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อรรถกถานวกัมมิกสูตร



ในนวกัมมิกสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นวกมฺมิกภารทฺวาโช ความว่า เล่ากันมาว่าพราหมณ์นั้น
ให้ตัดต้นไม้ในป่าประกอบเป็นปราสาทและเรือนยอดในป่านั้นเอง แล้วนำมา
ขายยังพระนครชื่อว่า นวกัมมิก เพราะอาศัยนวกรรมเลี้ยงชีพดังกล่าวแล้ว
โดยโคตรชื่อว่า ภารทวาชะ เหตุนั้นจึงชื่อว่า นวกัมมิกภารทวาชะ. บทว่า
ทิสฺวานสฺส เอตทโหสิ ความว่า พราหมณ์นั้นได้มีความคิดดังนี้ เพราะ
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง เปล่งพระฉัพพัณณรังสี. บทว่า วนสฺมึ
ได้แก่ในไพรสนฑ์นี้. บทว่า อุจฺฉินฺนมูลํ เม วนํ ความว่า ป่าคือกิเลส
อันเราถอนรากเสียแล้ว. บทว่า นิพฺพนโถ ได้แก่ ปราศจากป่าคือกิเลส.
บทว่า เอโก รเม ได้แก่ เรายินดีแต่ผู้เดียวเท่านั้น. บทว่า อรตึ วิปฺปหาย
ความว่า ละความระอาในการเสพเสนาสนะอันสงัดและการเจริญภาวนา.
จบอรรถกถานวกัมมิกสูตรที่ 7

8. กัฏฐหารสูตร



ว่าด้วยความเป็นพรหม



[709] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์
แห่งหนึ่งในแคว้นโกศล.
ก็สมัยนั้น พวกมาณพหลายคน ซึ่งเป็นอันเตวาสิกของพราหมณ์
ภารทวาชโคตรคนหนึ่ง เที่ยวหาฟืนพากันเข้าไปยังไพรสณฑ์นั้น แล้วได้เห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งขัดสมาธิ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติไว้
เฉพาะหน้า อยู่ในไพรสณฑ์นั้น จึงเข้าไปหาพราหมณ์ ภารทวาชโคตรถึงที่อยู่
แล้วบอกพราหมณ์ ภารทวาชโคตรว่า ขอท่านพึงทราบ พระสมณโคดมประทับ
นั่งขัดสมาธิ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติไว้เฉพาะหน้า อยู่ในไพรสณฑ์.
[710] ลำดับนั้น พราหมณ์ ภารทวาชโคตรพร้อมด้วยมาณพเหล่านั้น
เข้าไปยังไพรสณฑ์นั้นแล้ว ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งขัดสมาธิ
ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติไว้เฉพาะหน้า ครั้นเห็นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่นั้น แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
ภิกษุ ท่านเข้าไปสู่ป่าที่ว่างเปล่า
ปราศจากตนในป่าหนาทึบ น่าหวาดเสียว
นัก มีกายไม่หวั่นเป็นประโยชน์ งาม
เพ่งพินิจฌานอย่างดีหนอ ท่านเป็นมุนี
อาศัยป่า อยู่ในป่าผู้เดียว ซึ่งไม่มีการ
ขับร้อง และการบรรเลง การที่ท่านมีจิต
ยินดี อยู่ในป่าแต่ผู้เดียวนี้ ปรากฏเป็น
ข้อน่าอัศจรรย์แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้า