เมนู

บุคคลใด กำจัดความแข่งดี และความไม่
เลื่อมใสแห่งใจ ถอนความอาฆาตได้แล้ว
ผู้นั้นแลพึงรู้คำอันเป็นสุภาษิต.

[704] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว ปัจจนิกสาตพราหมณ์
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม
โดยอเนกปริยายดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง
ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าคนมีจักษุจะมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอด
ชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อรรถกถาปัจจนิกสูตร



ในปัจจนิกสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
เมื่อเขากล่าวว่า สิ่งทั้งปวงขาว พราหมณ์นั้นก็ทำการขัดแย้ง โดยนัย
เป็นต้นว่าสิ่งทั้งปวงดำ ย่อมมีความสำราญ คือมีความสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ปจฺจนิกสาโต. บทว่า โย จ วิเนยฺย สารมฺภํ ความว่า ผู้ใดกำจัด
ความแข่งดีมีลักษณะทำให้เกิดหน้ากันแล้วฟัง.
จบอรรถกถาปัจจนิกสูตรที่ 6

7. นวกัมมิกสูตร



ว่าด้วยความยินดี



[705] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์
แห่งหนึ่งในแคว้นโกศล.
สมัยหนึ่ง นวกัมมิกภารทวาชพราหมณ์ให้คนทำงานอยู่ในไพรสณฑ์
นั้น เขาได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งประทับนั่งคู้บัลลังก์ (นั่งขัดสมาธิ)
ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติไว้เฉพาะหน้า ที่โคนสาลพฤกษ์ต้นหนึ่ง ครั้น
เห็นแล้ว เขามีความคิดว่า เราให้คนทำงานอยู่ในไพรสณฑ์นี้จึงยินดี ส่วน
พระสมณะนี้ ให้คนทำอะไรอยู่จึงยินดี.
[706] ลำดับนั้น นวกัมมิกภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
ข้าแต่ท่านภิกษุ ท่านทำงานอะไร
หรือ จึงอยู่ในป่าสาลพฤกษ์ พระโคดม
อยู่ในป่าผู้เดียว ได้ความยินดีอะไร.

[707] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เราไม่มีกรณียกิจในป่าดอก เพราะ
เราถอนรากเง่าป่าอันเป็นข้าศึกเสียแล้ว
เราไม่มีป่าคือกิเลส ปราศจากลูกศรคือ
กิเลส ละความกระลันเสียแล้ว จึงยินดี
อยู่ผู้เดียวในป่า.

[708] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว นวกัมมิกภารทวาช-
พราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค จ้าว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของ