เมนู

[700] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว มานัตถัทธพราหมณ์
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์
ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง
แก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักมองเห็นรูปได้
ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับพระธรรมและ
พระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึง
พระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อรรถกถามานัตถัทธสูตร



ในมานัตถัทธสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มานตฺถทฺโธ ความว่า ผู้กระด้างเพราะมานะ เหมือน
ลูกโป่งเต็มไปด้วยลม. บทว่า อาจริยํ ความว่า ในเวลาเรียนศิลปะ อาจารย์
ไม่ให้ศิลปะแก่ผู้ไม่ไหว้. แต่ในกาลอื่น พราหมณ์นั้นไม่ไหว้อาจารย์. แม้
ผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีอยู่ พราหมณ์ก็ไม่รู้. บทว่า นายํ สมโณ ความว่า
พราหมณ์นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เพราะเหตุที่พระสมณะนี้ เมื่อพราหมณ์
ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเช่นเรานาถึงเข้า ก็ไม่ทำกิจมาตรว่าปฏิสันถาร ฉะนั้น จึง
ไม่รู้อะไร.
บทว่า อพฺภูตจิตฺตชาตา ได้แก่ประกอบด้วยความยินดี อันไม่
เคยมีก็มามีขึ้น. บทว่า เกสฺ วสฺส ความว่า พึงเคารพในใคร. บทว่า
กฺยสฺส ความว่าพวกไหน เป็นที่เคารพของบุคคลนั้น. บทว่า อปจิตา อสฺสุ

ความว่าพวกไหนพึงเป็นผู้ควรเพื่อแสดงความนบนอบ. ด้วยคาถานี้ว่า อรหนฺเต
เป็นต้น ทรงแสดงปูชนียบุคคล โดยยกพระองค์เป็นตัวอย่าง เพราะพระองค์
เป็นผู้ฉลาดในเทศนา.
จบอรรถกถามานัตถัทธสูตรที่ 5

6. ปัจจนิกสูตร



ว่าด้วยคำอันเป็นสุภาษิต



[701] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พราหมณ์มีนามว่า
ปัจจนิกสาตะ อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี ปัจจนิกสาตพราหมณ์มีความดำริว่า
อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมยังที่ระทับเถิด พระสมณโคดม
จักตรัสคำใด ๆ เราจักเป็นข้าศึกคำนั้น ๆ ดังนี้.
[702] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง
ลำดับนั้น ปัจจนิกสาตพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับแล้ว
เดินตามพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งกำลังเสด็จจงกรมอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า ขอท่านพระสมณะจงตรัสธรรม.
[703] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
คำอันเป็นสุภาษิต อันบุคคลผู้ยินดี
จะเป็นข้าศึก มีจิตเศร้าหมอง มากไปด้วย
ความแข่งดี จะรู้แจ้งด้วยดีไม่ได้ ส่วนว่า