เมนู

8. อัคคิกสูตร



ว่าด้วยผู้ถึงพร้อมด้วยไตรวิชชา



[652] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน
อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนคหาชคฤห์
ก็โดยสมัยนั้นแล อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ปรุงข้าวปายาสด้วยเนยใส
ด้วยคิดว่า เราจักบูชาไฟ จักบำเรอการบูชาไฟ.
[653] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตร
และจีวรเสด็จเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาตในเวลาเช้า เสด็จไปบิณฑบาต
ในกรุงราชคฤห์ตามลำดับตรอก เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอัคคิกภารทวาชพราหมณ์
ครั้นแล้วได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[654] อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ
ยืนเพื่อบิณฑบาต ครั้นแล้วได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
พราหมณ์ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยไตร-
วิชชา มีชาติ ฟังคัมภีร์เป็นอันมาก ถึง
พร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ พราหมณ์
นั้นควรบริโภคปายาสนี้.

[655] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
พรามหมณ์ผู้กล่าวถ้อยคำแม้มาก เป็น
ผู้เน่าและเศร้าหมองในภายใน อันความ
โกหกแวดล้อมแล้ว ย่อมไม่ชื่อว่าเป็น
พราหมณ์เพราะชาติ ผู้ใดรู้บุพเพนิวาส
และเห็นทั้งสวรรค์ทั้งอบาย อนึ่ง ถึงความ

สิ้นไปแห่งชาติ เป็นมุนีผู้อยู่จบแล้วเพราะ
รู้ยิ่ง ผู้นั้นเป็นผู้มีไตรวิชชาด้วยวิชชาสาม
เหล่านี้ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ผู้ถึงพร้อมแล้ว
ด้วยวิชชาและจรณะ พราหมณ์นั้นควร
บริโภคปายาสนิ.

อัคคิกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ขอเชิญ
บริโภคเถิด พระโคดมเป็นพราหมณ์ผู้เจริญ.
[656] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เราไม่พึงบริโภคโภชนะที่ได้เพราะ
การขับกล่อม ดูก่อนพราหมณ์นั่นไม่ใช่
ธรรมของผู้พิจารณาอยู่ พระพุทธเจ้าทั้ง
หลายย่อมรังเกียจโภชนะที่ได้เพราะการขับ
กล่อม ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่
ความเลี้ยงชีพนี้ก็ยังมี อนึ่ง ท่านจงบำรุง
พระขีณาสพทั้งสิ้นผู้แสวงหาคุณอันใหญ่
ผู้มีความคนองอันสงบแล้วด้วยข้าวน้ำอัน
อื่น เพราะว่าการบำรุงนั้น ย่อมเป็นเขต
ของผู้มุ่งบุญ.

[657] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อัคคิกภารทวาช
พราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ฯลฯ ก็แหละท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระ-
อรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

อรรถกถาอัคคิกสูตร


ในอัคคิกสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อคฺคิกภารทฺวาโช ได้แก่ พราหมณ์แม้นี้ ก็ชื่อว่าภารทวาชะ
เหมือนกัน แต่โดยที่เขาบำเรอไฟ พระสังคีติกาจารย์จึงดังชื่อเขาอย่างนั้น.
บทว่า สนฺนิหิโต ได้แก่. อันเขาปรุงอย่างดี. บทว่า อฏฺฐาสิ ความว่า
เพราะเหตุไร จึงยืนอยู่ในที่นั้น. เล่ากันมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจ
ดูโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นพราหมณ์นี้ ทรงพระดำริว่า พราหมณ์นี้ถือ
ข้าวปายาสอันเลิศเห็นปานนี้เอาไปเผาไฟ ด้วยตั้งใจจะให้มหาพรหมบริโภค
ย่อมกระทำสิ่งที่ไร้ผล ก้าวลงสู่ทางอบาย เมื่อไม่ละลัทธินี้ ก็จักทำอบายให้เต็ม
จำเราจักไปทำลายทิฎฐิของเขาด้วยธรรมเทศนาแล้วให้บรรพชา ให้มรรค 4
ผล 4 แก่เขา เพราะฉะนั้น ในเวลาเช้า จึงเสด็จเข้ากรุงราชคฤห์ ได้ประทับ
ยืนอยู่ ณ ที่นั้น.
บทว่า ตีหิ วิชฺชาหิ ได้แก่ ด้วยเวท 3. บทว่า ชาติมา ความว่า
ประกอบด้วยชาติที่บริสุทธิ์ 7 ชั่วโคตร. บทว่า สุตวา พหู ความว่า ฟัง
คัมภีร์ต่างๆ เป็นอันมาก. บทว่า โสมํ ภุญฺเชยฺย ความว่า พราหมณ์กล่าวว่า
พราหมณ์นั้นได้วิชชา 3 ควรบริโภคข้าวปายาสนี้ แต่ข้าวปายาสนี้ไม่ควรแก่
พระองค์.
บทว่า เวทิ ความว่า รู้ คือแทงตลอดด้วยบุพเพนิวาสญาณ. บทว่า
สคฺคาปายํ ได้แก่ เห็นทั้งสวรรค์ทั้งอบายด้วยทิพยจักษุ. บทว่า ชาติกฺขยํ
ได้แก่พระอรหัต. บทว่า อภิญฺญาโวสิโต ความว่า ผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว