เมนู

อรรถกถาอหิงสกสูตร



ในอหิงสกสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อหึสกภารทฺวาโช ได้แก่ พราหมณ์นั้น ชื่อว่า อหิงสก
ภารทวาชะ. แต่พราหมณ์นั้น ถามอหญิงสกปัญหา. เพราะเหตุนั้น พระสังคีติ-
กาจารย์ทั้งหลายจึงได้ตั้งชื่อเขาเช่นนั้น. อีกอย่างหนึ่ง พราหมณ์นั้นว่าโดยชื่อ
ชื่อว่า อหิงสกะ ว่าโดยโคตร ชื่อว่า ภารทวาชะ. บทว่า อหึสกาหํ
ความว่า เขากล่าวว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ รู้จักเราว่า เราชื่อว่า อหิงสกะ.
บทว่า ตถา จสฺส ตัดบทเป็น ตถา เจ อสฺส ความว่า ท่านพึงกล่าว.
บทว่า น หึสติ ได้แก่ ไม่เบียดเบียน คือไม่ให้ถึงความลำบาก.
จบอรรถกถาอหิงสกสูตรที่ 5

6. ชฏาสูตร



ว่าด้วยตัณหาพายุ่ง



[644] สาวัตถีนีทาน.
ครั้งนั้นแล ชฏาภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่
ประทับ ครั้นแล้ว สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัย
พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[645] ชฎาภารทวาชพราหมณ์ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
ตัณหาหาพายุ่งในภายใน พายุ่งในภาย
นอก หมู่สัตว์ถูกตัณหาพายุ่งไขว่ให้นุง ข้า
แต่พระโคดม เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์
ขอทูลถามพระองค์ว่า ใครพึงสางตัณหา
พายุ่งมิได้.

[646] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ภิกษุใดเป็นคนมีปัญญา ตั้งมั่นอยู่ใน
ศีล อบรมจิตและปัญญาให้เจริญ มีความ
เพียร มีปัญญารักษาตน ภิกษุนั้นพึงสาง
ตัณหาพายุ่งนี้ได้ ราคะโทสะและอวิชชา
อันชนเหล่าใด สำรอกแล้ว ชนเหล่านั้น
เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้วตัณหา
พายุ่งอันชนเหล่านั้นสางได้แล้ว นามและ
รูปย่อมดับไปไม่เหลือในที่ใด ปฏิฆสัญญา
รูปสัญญา และตัณหาพายุ่งนั่น ย่อมขาด
ไปในที่นั้น.

[647] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ชฏาภารทวาช-
พราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต
ของพระองค์แจ่มแจ้งนักฯลฯ ก็แหละท่านชฏาภารทวาชะ ได้เป็นพระอรหันต์
รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

อรรถกถาชฏาสูตร



ในชฏาสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ชฏาภารทฺวาโช ได้แก่ พราหมณ์นั้นชื่อภารทวาชะ แต่
เพราะเขาถามปัญหาที่ยุ่งๆ พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวอย่างนั้น. คำที่เหลือท่าน
กล่าวไว้แล้วในเทวตาสังยุตแล.
จบอรรถกถาชฏาสูตรที่ 6

7. สุทธิกสูตร



ว่าด้วยความหมดจด



[648] สาวัตถีนิทาน.
ครั้งนั้นแล สุทธิกภารทวาชพราหมณ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ยังที่ประทับ ครั้นแล้วสนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[649] สุทธิกภารทวาชพราหมณ์ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า