เมนู

ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือ
ส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า คนมีจักษุย่อมเห็นรูปฉฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอ
ถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอข้าพระองค์
พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญ.
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชาได้อุปสมบทแล้วในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ท่านอักโกสกภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นานแล หลีก
ไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก ก็
กระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษยอดเยี่ยมเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ซึ่งกุลบุตรทั้งหลาย
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบมีความต้องการ ด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
รู้ยิ่งเองในปัจจุบันนี้เข้าถึงอยู่ ได้ทราบว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล
กิจที่จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แหละ
ท่านพระอักโกสกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย ดังนี้แล.

อรรถกถาอักโกสกสูตร



ในอักโกสกสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อกฺโกสกภารทฺวาโช ได้แก่พราหมณ์นั้น ชื่อว่าภารทวาชะ.
ก็พราหมณ์นั้นได้มาด่าพระตถาคตด้วยคาถาประมาณ 500 เพราะเหตุนั้น พระ
สังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงตั้งชื่อว่า อักโกสกภารทวาชะ. บทว่า กุปิโต อนตฺ-
ตมโน
ความว่า โกรธและไม่พอใจด้วยเคืองว่าพระสมณโคดมให้พี่ชายของ
เราบวช ทำให้เสื่อมเสียให้แตกเป็นฝักฝ่าย. บทว่า อกฺโกสติ ความว่า ด่า

ด้วยอักโกสวัตถุ 10 คือ เจ้าเป็นโจร เป็นคนโง่ เป็นคนหลง เป็นอูฐ เป็น
โค เป็นลา เป็นสัตว์นรก เป็นสัตว์เดรัจฉาน เจ้าไม่มีสุคติ เจ้าหวังแต่ทุคติ
เท่านั้น. บทว่า ปริภาสติ ความว่า เมื่อกล่าวคำเป็นต้นว่า สมณะโล้น
ข้อนั้นจงยกไว้ เจ้ายังทำว่า ข้าไม่มีโทษ บัดนี้ ข้าไปสู่ราชสกุลแล้วจะบอกเขา
ให้ลงอาชญาแก่เจ้า ดังนี้ ชื่อว่า บริภาษ.
บทว่า สมฺภุญฺชติ ได้แก่ บริโภคร่วมกัน . บทว่า วีติหรติ ได้
แก่ ทำคืนการที่ทำมาแล้ว. บทว่า ภวนฺตํ โข โคตมํ ถามว่า เพราะเหตุไร
พราหมณ์จึงกล่าวอย่างนี้. ตอบว่า เพราะพราหมณ์ได้ฟังคำของพระสมณโคดม
นั้นว่า ดูก่อนพราหมณ์ นั่นเป็นของท่านผู้เดียว ดูก่อนพราหมณ์ นั่นเป็นของ
ท่านผู้เดียว โดยได้ฟังกันสืบ ๆ มาว่า ขึ้นชื่อว่าฤาษีทั้งหลายโกรธแล้ว ย่อม
สาบให้เป็นเหมือนลูกโคผอมเป็นต้น จึงเกิดความกลัวแต่คำสาปว่า พระสมณ
โคดมเห็นที่จะสาปเราก็ได้ เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงได้กล่าวอย่างนี้.
บทว่า ทนฺตสฺส ได้แก่ผู้หมดพยศ. บทว่า ตาทิโน ได้แก่ผู้ถึง
ลักษณะผู้คงที่. บทว่า ตสฺเสว เตน ปาปิโย ความว่า บุคคลนั้นแลเป็น
เลวกว่าบุคคลผู้โกรธนั้น. บทว่า สโต อุปสงฺกมติ ความว่า บุคคลเป็นผู้
ประกอบด้วยสติย่อมอดกลั้นไว้ได้. บทว่า อุภินฺนํ ติกิจฺฉนฺตานํ ได้แก่ผู้
อดกลั้นทั้ง 2 ฝ่าย. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน บุคคลใดมีสติเข้า
ไปสงบ ประพฤติประโยชน์อดกลั้นให้สำเร็จประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ชนทั้ง
หลายย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่าเป็นชนพาล ชนทั้งหลายเป็นเช่นไร คือเป็นผู้ไม่
ฉลาดในธรรม. บุทว่า ธมฺมสฺส ได้แก่ธรรมคือ เบญจขันธ์ หรือสัจธรรม
4. บทว่า อโกวิทา ได้แก่ผู้ไม่ฉลาดในธรรม คือเป็นปุถุชนอันธพาล.
จบอรรถกถาอักโกสกสูตรที่ 2

3. อสุรินทกสูตร



ว่าด้วยอสุรินทกพราหมณ์ด่าพระพุทธเจ้า



[635] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน
อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.
อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า ได้ยินว่า พราหมณภาร-
ทวาชโคตร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในสำนักของพระสมณโคดม โกรธ
ขัดใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ ด่า บริภาษ
พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาจาอันหยาบคาย มิใช่ของสัตบุรุษ.
เมื่ออสุรินทกภารทวาชพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ทรงนิ่งเสีย.
ลำดับนั้นแล อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้กล่าวกะพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าว่า พระสมณะ เราชนะท่านแล้ว พระสมณะ เราชนะท่านแล้ว.
[636] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ชนพาลกล่าวคำหยาบด้วยวาจา ย่อม
สำคัญว่าชนะทีเดียว แต่ความอดกลั้นได้
เป็นความชนะของบัณฑิตผู้รู้แจ้งอยู่ ผู้ใด
โกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้
ลามกกว่าบุคคลผู้โกรธแล้ว เพราะการ
โกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบบุคคล
ผู้โกรธแล้ว ย่อมชื่อว่าชนะสงความอัน
บุคคลชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่า ผู้อื่น
โกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบอยู่ได้ ผู้นั้น