เมนู

10. บทว่า อุปฺปาทวยธมฺมิโน ได้แก่ มีการเกิดและการดับเป็นสภาวะ.
บทว่า เตสํ วูปสโม สุโข ความว่า พระนิพพานกล่าวคือการเข้าไปสงบ
แห่งสังขารเหล่านั้นนั่นเองเป็นสุข. ด้วยคำว่า ตทาสิ ท่านกล่าวหมายเอาแผ่น
ดินไหวที่ท่านกล่าวไว้ในมหาปรินิพพานสูตรอย่างนี้ว่า แผ่นดินใหญ่ไหวย่อมมี
พร้อมกับปรินิพพาน ความจริงแผ่นดินใหญ่ไหว้นั้นให้เกิดขึ้นพองสยองเกล้า
และมีอาการน่าสะพึงกลัว. บทว่า สพฺพาการวรูเปเต ได้แก่ประกอบด้วย
การกระทำอันประเสริฐโดยอาการทั้งปวง. บทว่า นาหุอสฺสาสปสฺสาโส ได้แก่
ลม อัสฺสาสปัสสาสะ ไม่เกิด. บทว่า อเนโช ความว่า ชื่อว่า อเนชะ
เพราะไม่มีกิเลสชาติเครื่องหวั่นไหวกล่าวคือตัณหา. บทว่า สนฺติมารพฺภ
ได้แก่อาศัยคือหมายเอาอนุปาทิเสสนิพพาน. บทว่า จกฺขุมา ได้แก่ ผู้มีจักษุ
ด้วยจักษุ 5. บทว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่ ปรินิพพานด้วยขันธปรินิพพาน.
บทว่า อสลฺลีเนน ได้แก่ มีจิตไม่หดหู่ ไม่คดงอ คือเบิกบานด้วยดีนั่นเอง.
บทว่า เวทนํ อชฺณาวสยิ ได้แก่ อดกลั้นเวทนา ไม่คล้อยตามเวทนากระสับ
กระส่ายไปข้างโน้นข้างนี้. บทว่า วิโมกฺโข ได้แก่ หลุดพ้น ไม่มีเครื่อง
กีดขวาง. อธิบายว่า เข้าถึงความไม่มีบัญญัติโดยประการทั้งปวง เป็นเสมือน
ไฟที่ลุกโพลงดับไป ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาปรินิพพานสูตรที่ 5 วรรคที่ 2
แห่งพรหมสังยุต เพียงเท่านี้


รวมพระสูตร


พรหมปัญจกะนี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์ แสดงด้วย 1. สนังกุมาร
สูตร 2. เทวทัตตสูตร 3. อันธกวินทสูตร 4. อรุณวตีสูตร 5.
ปรินิพพานสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา