เมนู

อรรถกถาอรุณวตีสูตร



ในอรุณวตีสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อภิภูสมฺภวํ ได้แก่ พระอภิภูและพระสัมภวะ. ในท่านทั้ง 2
นั้น พระอภิภูเถระ เป็นผู้เลิศทางปัญญา ดุจพระสารีบุตรเถระ พระสัมภวเถระ
เป็นผู้เลิศทางสมาธิ ดุจพระมหาโมคคัลลานเถระ. บทว่า อุชฺฌายนฺติ ได้แก่
ย่อมดูหมิ่น คือ ย่อมคิดทางต่ำทราม. บทว่า ขียฺยนฺติ ได้แก่ พูดกันว่า
นี่อย่างไรกัน นี่อย่างไรกัน . บทว่า วิปาเจนฺติ ได้แก่ ย่อมพูดยืดยาว คือ
พูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ. บทว่า เหฏฺฐิเมน อุปฑฺฒกาเยน ได้แก่ กายเบื้องล่าง
ตั้งแต่สะดือลงไป ในพระบาลีมาเพียงเท่านี้เอง. ฝ่ายพระเถระแสดงการทำฤทธิ์
ต่าง ๆ มากประการที่มาโดยนัยเป็นต้นว่า ละเพศปกติ เเละเพศนาคบ้าง
แสดงเพศครุฑบ้าง. บทว่า อิมา คาถาโย อภาสิ ความว่า ได้ยินว่า
พระเถระคิดว่า แสดงธรรมอย่างไร จึงจะเป็นที่รักที่ชอบใจทั้งคนทั้งปวง
แต่นั้นเมื่อรำพึงถึงจึงรู้ว่า เจ้าลัทธิแม้ทั้งปวง เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง
จัดสรรเสริญความเพียรของบุรุษในลัทธิของตน ผู้ที่ไม่สรรเสริญ
ความเพียรไม่มี เราจักแสดงให้เกี่ยวด้วยความเพียร การแสดงธรรม
อย่างนี้จักเป็นที่รักที่ชอบใจของคนทุกจำพวก
ได้เลือกเฟ้นในพระไตร-
ปิฎกแล้วจึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ .
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารพฺภถ ได้แก่ จงเริ่มความเพียร.
บทว่า นิกฺกมถ ได้แก่ จงเพียรก้าวหน้า. บทว่า ยุญฺชถ ได้แก่ จงประกอบ
เพียร คือ จงบากบั่น. บทว่า มจฺจุโน เสนํ ความว่า กองทัพกิเลส ชื่อว่า
กองทัพมฤตยู. บทว่า ชาติสํสารํ ได้แก่ ชาติและสงสาร หรือสงสารกล่าว.

คือชาติ บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ ได้แก่ จักกระทำการกำหนดวัฏทุกข์.
ถามว่า ก็พระเถระทำอย่างไร จึงทำให้หมื่นโลกธาตุรู้กันได้. ตอบว่า ก่อนอื่น
พระเถระเข้านีลกสิณแล้วแผ่ความมืดไปในที่มีแสงสว่างทั้งปวง. เข้าโอทาตกสิณ
แล้วทำที่มืดให้สว่าง แสดงอาโลกกสิณในเมื่อพวกสว่างเกิดคำนึงขึ้นว่า ทำไม
ถึงมืดอย่างนี้. ในที่มีแสงสว่าง ไม่มีกิจด้วยแสงสว่าง. เมื่อเหล่าสัตว์ต้นคว้า
อยู่ว่า แสงสว่างนี้คืออะไร จึงแสดงตน. ครั้งนั้น เมื่อสัตว์เหล่านั้นพูดกันว่า
พระเถระ จึงได้กล่าวคาถาเหล่านั้น. สัตว์ทั้งปวงฟังเสียงพระเถระประดุจนั่ง
แสดงธรรมอยู่ในท่ามกลางบริษัทผู้ประชุมกัน. แม้เนื้อความได้ปรากฏแก่สัตว์
เหล่านั้น.
จบอรรถกถาอรุณวตีสูตรที่ 4

5. ปรินิพพานสูตร



ว่าด้วยพระพุทธเจ้าปรินิพพาน



[620] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่สาลวัน แห่ง
มัลกษัตริย์ทั้งหลาย อันเป็นทางกรุงกุสินารา ระหว่างแห่งสาลพฤกษ์ทั้งคู่
ในสมัยจะเสด็จปรินิพพาน.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เอาเถิด บัดนี้ เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมี
ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงให้ถึงพร้อมด้วยความ
ไม่ประมาทเถิด ดังนี้ นี้เป็นวาจาครั้งสุดท้ายของพระตถาคต.
[621] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าปฐมฌาน ออกจาก
ปฐมฌานแล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากททุติยฌานแล้ว ทรงเข้าตติยฌาน
ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าจตุติยฌาน ออกจากจตุตถาฌานแล้ว ทรงเข้า
อากาสานัญจายตนฌาน ออกจากอากาสานัญจายตนฌานแล้ว ทรงเข้าวิญญา-
ณัญจายตนฌาน ออกจากวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว ทรงเข้าอากิญจัญญาย
ตนฌาน ออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้ว ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตน
ฌาน ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
สมาบัติ ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญาย-
ตนฌาน ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว ทรงเข้าอากิญจัญญายตน
ฌาน ออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้ว ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน
ออกจากวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว ทรงเข้าอากาสานัญจายตนฌาน ออกจาก
อากาสานัญจายตนฌานแล้ว ทรงเข้าจตตุถฌาน ออกจากจุตตถฌานแล้ว
ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าททุติยฌาน ออกจากททุติยฌาน