เมนู

4. อรุณวตีสูตร



ว่าด้วยตรัสเล่าเรื่องอรุณวตีราชธานี



[613] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน
อารามของท่าน. อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ในที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
[614 ] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชาพระนามว่า อรุณวา ราชธานีของพระเจ้าอรุณวา
มีนามว่า อรุณวตี พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี
ทรงเข้าไปอาศัยราชธานีอรุณวตีประทับอยู่.
ก็พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ได้มีคู่พระ-
สาวกนามว่าพระอภิภูและพระสัมภวะ เป็นคู่พระสาวกที่เจริญเลิศ.
[605] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ตรัสเรียกภิกษุนามว่าอภิภูมาว่า ดูก่อนพราหมณ์
มาเถิด เราจักไปพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่งชั่วกาลกว่าจะถึงเวลาฉัน.
ภิกษุอภิภูทูลรับ พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าสิขีแล้ว.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันคสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี
และภิกษุอภิภูได้หายไปจากอรุณวตีราชธานี ปรากฏในพรหมโลกนั้น เหมือน
อย่างบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่งอเข้ามาแล้วออกไป หรืองอแขนที่เหยียดออก
ไปแล้วเข้ามาฉะนั้น

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี
ตรัสกะภิกษุอภิภูว่า ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมีกถาจงแจ่มแจ้งแก่พรหม พรหม
บริษัทและพรหมปาริสัชชะทั้งหลายเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอภิภูรับ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนานว่าสิขีแล้ว แล้ว
ยังพรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะทั้งหลาย ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว.
[616] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าในกาลนั้น พรหม พรหม
บริษัท และพรหมปาริสัชชะทั้งหลาย ยกโทษติเตียนโพนทะนาว่า แน่ะท่าน
ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาเลย ก็เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะหน้า
เหตุไฉน พระสาวกจึงแสดงธรรม.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี
ตรัสเรียกภิกษุอภิภูมาว่า ดูก่อนพราหมณ์ พรหม พรหมบริษัท และพรหม
ปาริสัชชะเหล่านั้นติเตียนว่า แน่ะท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาเลย
ก็เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะหน้า เหตุไฉน พระสาวกจึงแสดงธรรม
ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้พรหม พรหมบริษัท และพรหม
ปาริสัชชะทั้งหลายสลดใจประมาณยิ่ง.
ภิกษุอภิภูทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าสิขีแล้ว มีกายปรากฏแสดงธรรมบ้าง มีกายไม่ปรากฏแสดงธรรมบ้าง
มีกายปรากฏกึ่งหนึ่งตอนล่าง ไม่ปรากฏกึ่งหนึ่งตอนบนแสดงธรรมบ้าง มีกาย
ปรากฏกึ่งหนึ่งตอนบน ไม่ปรากฏกึ่งหนึ่งตอนล่างแสดงธรรมบ้าง.
[617] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ในกาลนั้น พรหม พรหม
บริษัท และพรหมปาริสชัชะทั้งหลาย ได้มีจิตพิศวงเกิดแล้วว่า น่าอัศจรรย์จริง
ไม่เคยมีมาเลย ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ความที่สมณะเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ

มาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ภิกษุอภิภูได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนานว่าสิขีว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ย่อมทราบ
ข้าพระองค์เป็นผู้กล่าววาจาเห็นปานนี้ ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ว่า ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย เราอยู่ที่พรหมโลกสามารถยังหมื่นโลกธาตุให้รู้แจ่มแจ้งด้วยเสียงได้.
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขีตรัสว่า ดูก่อน
พราหมณ์ เป็นกาลของเธอที่เธอดำรงอยู่ที่พรหมโลก พึงยังหมื่นโลกธาตุให้รู้
แจ่มแจ้งด้วยเสียงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอภิภูทูลรับพระดำรัสของพระ
ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขีว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า
ดังนี้แล้ว ดำรงอยู่ในพรหมโลก ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ว่า
ท่านทั้งหลายจงริเริ่ม จงก้าวหน้า
จงประกอบ (ความเพียร) ในพระพุทธ-
ศาสนา จงกำจัดเสนาแห่งมัจจุเหมือนช้าง
กำจัดเรือนไม้อ้อฉะนั้น ผู้ใดจักไม่ประมาท
ในพระธรรมวินัยนี้อยู่ ผู้นั้นจักละสงสาร
คือชาติ แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

[618] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี และภิกษุอภิภูยังพรหม พรหมบริษัท และ
พรหมปาริสัชชะทั้งหลายให้สลดใจแล้ว ได้หายไปจากพรหมโลกนั้น (มา)
ปรากฏในอรุณวตีราชธานี เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่งอเข้ามาแล้ว
ออกไป หรืองอแขนที่เหยียดออกไปแล้วเข้ามาฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอภิภูดำรงอยู่ในพรหมโลก
กล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ เธอทั้งหลายได้ยินหรือไม่.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เมื่อภิกษุอภิภูยืนอยู่ในพรหมโลก กล่าว
คาถาทั้งหลายอยู่ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ยินแล้ว พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุอภิภูดำรงอยู่ในพรหมโลก กล่าวคาถาทั้งหลาย
อยู่ เธอทั้งหลายได้ยินว่าอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า พระเจ้าข้า เมื่อภิกษุอภิภูดำรงอยู่ใน
พรหมโลกกล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ยินอย่างนี้ว่า
ท่านทั้งหลายจงริเริ่ม จงก้าวหน้า
จงประกอบ (ความเพียร) ในพระพุทธ-
ศาสนา จงกำจัดเสนาแต่งมัจจุเหมือนช้าง
กำจัดเรือนไม้อ้อฉะนั้น ผู้ใดจักไม่ประมาท
ในพระธรรมวินัยนี้อยู่ ผู้นั้นจักละสงสาร
คือชาติ แล้วจักกระทำที่สุดทุกข์ได้
พระเจ้าข้า.

เมื่อภิกษุอภิภูดำรงอยู่ในพรหมโลกกล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ ข้าพระองค์
ทั้งหลายได้ยินแล้วอย่างนี้.
[619] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ตรัส
ว่าดีละ ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ดีแท้ ภิกษุทั้งหลาย เนื้อภิกษุอภิภูดำรงอยู่ใน
พรหมโลก กล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ เธอทั้งหลายได้ยินแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย
เหล่านั้นมีใจยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ดังนี้แล.

อรรถกถาอรุณวตีสูตร



ในอรุณวตีสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อภิภูสมฺภวํ ได้แก่ พระอภิภูและพระสัมภวะ. ในท่านทั้ง 2
นั้น พระอภิภูเถระ เป็นผู้เลิศทางปัญญา ดุจพระสารีบุตรเถระ พระสัมภวเถระ
เป็นผู้เลิศทางสมาธิ ดุจพระมหาโมคคัลลานเถระ. บทว่า อุชฺฌายนฺติ ได้แก่
ย่อมดูหมิ่น คือ ย่อมคิดทางต่ำทราม. บทว่า ขียฺยนฺติ ได้แก่ พูดกันว่า
นี่อย่างไรกัน นี่อย่างไรกัน . บทว่า วิปาเจนฺติ ได้แก่ ย่อมพูดยืดยาว คือ
พูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ. บทว่า เหฏฺฐิเมน อุปฑฺฒกาเยน ได้แก่ กายเบื้องล่าง
ตั้งแต่สะดือลงไป ในพระบาลีมาเพียงเท่านี้เอง. ฝ่ายพระเถระแสดงการทำฤทธิ์
ต่าง ๆ มากประการที่มาโดยนัยเป็นต้นว่า ละเพศปกติ เเละเพศนาคบ้าง
แสดงเพศครุฑบ้าง. บทว่า อิมา คาถาโย อภาสิ ความว่า ได้ยินว่า
พระเถระคิดว่า แสดงธรรมอย่างไร จึงจะเป็นที่รักที่ชอบใจทั้งคนทั้งปวง
แต่นั้นเมื่อรำพึงถึงจึงรู้ว่า เจ้าลัทธิแม้ทั้งปวง เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง
จัดสรรเสริญความเพียรของบุรุษในลัทธิของตน ผู้ที่ไม่สรรเสริญ
ความเพียรไม่มี เราจักแสดงให้เกี่ยวด้วยความเพียร การแสดงธรรม
อย่างนี้จักเป็นที่รักที่ชอบใจของคนทุกจำพวก
ได้เลือกเฟ้นในพระไตร-
ปิฎกแล้วจึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ .
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารพฺภถ ได้แก่ จงเริ่มความเพียร.
บทว่า นิกฺกมถ ได้แก่ จงเพียรก้าวหน้า. บทว่า ยุญฺชถ ได้แก่ จงประกอบ
เพียร คือ จงบากบั่น. บทว่า มจฺจุโน เสนํ ความว่า กองทัพกิเลส ชื่อว่า
กองทัพมฤตยู. บทว่า ชาติสํสารํ ได้แก่ ชาติและสงสาร หรือสงสารกล่าว.