เมนู

คลาน อันน่ากลัว สายฟัาฉวัดเฉวียน ฝน
ตกในราตรีอันมืด ก็ข้าพระองค์ไม่อาจ
กำหนดนับในใจของข้าพระองค์ได้เลยว่า
เหตุนี้ข้าพระองค์เคยเห็นแล้วแน่ ข้าพระ-
องค์ไม่กล่าวถึงเห็นนี้ว่าเป็นอย่างนี้ใน
พรหมจรรย์ (คือธรรมเทศนา) คราวหนึ่ง
เถิดมีพระขีณาสพผู้ละความตายได้มีจำนวน
พัน พระเสขะมากกว่าห้าร้อย และพระ-
เสขะทั้งสิบ ทั้งร้อย ทั้งหมดถึงถระแส
มรรคแล้ว ไม่ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เป็นผู้มีส่วนบุญดังนี้
เพราะกลัวมุสาวาท.


อรรถกถาอันธกวินทสูตร



ในอันธกวินทสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า อนฺธกวินฺทํ ความว่า บ้านมีชื่ออย่างนั้น . บทว่า อุปสงฺกมิ
ความว่า ท้าวสหัมบดีพรหมคิดว่า พระศาสดาทรงกระทำความเพียรอยู่แม้ใน
บัดนี้ ชนทั้งหลายประกอบความเพียรกันเนือง ๆ เราจะไปยืนอยู่ในสำนักแล้ว
จักกล่าวคาถาว่าด้วยเรื่องความเพียรที่เหมาะแก่คำสอน ดังนี้จึงเข้าไปเฝ้า.
บทว่า ปนฺตานิ ความว่า เสนาสนะที่อยู่นอกถิ่นมนุษย์เลยชุมชน
ออกไป. บทว่า สญฺโญชนวิปฺปโมกฺขา ความว่า เมื่อเสพเสนาสนะเหล่า

นั้น จะพึงเสพเพื่อต้องการจีวรเป็นต้นก็หามิได้ ที่แท้พึงประพฤติเพื่อต้อง
การหลุดพ้นจากสังโยชน์ 10. บทว่า สงฺเฆ วเส ความว่า เมื่อไม่ได้ความ
ยินดีในเสนาสนะเหล่านั้น ก็ไม่อยู่ในป่าซึ่งเกิดขึ้นเหมือนขี้ผงบนหลังลา พึง
อยู่ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อรักษาน้ำใจญาติโยมเป็นต้น. บทว่า รกฺขิตตฺโต
สติมา
ความว่า ก็ภิกษุเมื่ออยู่ในที่นั้นไม่เสียดสีไม่กระทบกระทั่งเพื่อนพรหม-
จรรย์ รักษาตนมีสติปัฏฐานเป็นเบื้องหน้าอยู่เหมือนโคผู้ตัวดุในถิ่นของตน.
บัดนี้สหัมบดีพรหมนั้นบอกภิกขาจารวัตรแก่ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์ จึงกล่าว
คำว่า กุลา กุลํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิณฺฑิกาย จรนฺโต
ได้แก่ เที่ยวไปเพื่อต้องการอาหาร. บทว่า เสเวถ ปนฺตานิ สยนาสนานิ
ความว่า แม้หยั่งลงสู่ท่ามกลางสงฆ์อยู่ ปลูกต้นตาลและมะพร้าวเป็นต้นใน
บริเวณใกล้ ไม่พึงเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วยอุปัฏฐากเป็นต้น ทำความคู่ควรแห่ง
จิตให้เกิด ให้จิตร่าเริงยินดี จึงอยู่ในเสนาสนะอันสงัดอีกเท่านั้น เพราะฉะนั้น
จึงกล่าวสรรเสริญป่าอย่างเดียว. บทว่า ภยา ได้แก่ จากภัยในวัฏฏะ. บทว่า
อภเย ได้แก่ พระนิพพาน. บทว่า วิมุตฺโต ได้แก่ พึงเป็นผู้น้อมไปอยู่.
บทว่า ยตฺถ เภรวา ความว่า สัตว์ที่มีวิญญาณครองมีสีหะและเสือ
โคร่งเป็นต้นที่ก่อให้เกิดภัยในที่ใด สิ่งที่ไม่มีวิญญาณมีคอไม้และเถาวัลย์เป็นต้น
มีมากในกลางคืน. บทว่า สิรึสปา ได้แก่ สัตว์เลื้อยคลานมีงูเป็นต้น. บทว่า
นิสีทิ ตตฺถ ภิกขุ ความว่า ภิกษุนั่งในที่เช่นนั้น. ด้วยคำว่า นิสีทิ ตตฺถ
ภิกฺขุ
นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความไว้ดังนี้ว่า บัดนี้พวกเธอนั่งไม่ใส่
ใจถึงอารมณ์ที่น่าสะพึงกลัวที่อยู่ในที่นั้น สัตว์เลื้อยคลานและสายฟ้าแลบเป็น
ต้น โดยประการใด ภิกษุทั้งหลายย่อมนั่งประกอบความเพียรโดยประการนั้น
เหมือนกัน.

บทว่า ชาตุ เม ทิฏฺฐํ แปลว่าที่เราเห็นแล้วโดยส่วนเดียว. คำว่า
อิทํ อิติห ในคำว่า นยิทํ อิติหีติหํ นี้ความว่า เรากล่าวเพราะเหตุแห่ง
ความตรึกเอา เพราะเหตุแห่งการคาดเอาหรือเพราะเหตุอ้างปิฎก คือตำราก็หา
ไม่. บทว่า เอกสฺมึ พฺรหฺมจริยสฺมึ ได้แก่ ในพระธรรมเทศนาอย่างหนึ่ง.
จริงอยู่ พระธรรมเทศนา ท่านประสงค์ว่า พรหมจรรย์ในที่นี้. บทว่า
มจฺจุหายินํ ได้แก่ พระขีณาสพผู้ละความตาย.
ในคำว่า ทสา จ ทสธา ทสา นี้ บทว่า ทสา ได้แก่จำนวน 10
เท่านั้น. ชื่อว่า สตํ เพราะเอา 10 คูณด้วย 10 อนึ่ง ท่านกล่าวว่า เราเห็น
ภิกษุเหล่าอื่นเป็นพระเสขะ 110 รูป. บทว่า โสตํ สมาปนฺนา ได้แก่บรรลุ
กระแสแห่งมรรค. บทว่า อติรจฺฉานคามิโน นี้ เป็นหัวข้อแห่งเทศนา.
อธิบายว่า ผู้ไม่มีความตกต่ำเป็นธรรมดา. บทว่า สงฺขาตุํ โนปิ สกฺโกมิ
ความว่า เราไม่อาจนับว่าเหล่าสัตว์ที่เป็นภาคีแห่งบุญมีเท่านี้ เพราะกลัวมุสาวาท
เพราะเหตุนั้น ท่านหมายเอาพรหมเทศนาเป็นอันมาก จึงกล่าวอย่างนี้.
จบอรรถกถาอันธกวินทสูตรที่ 3

4. อรุณวตีสูตร



ว่าด้วยตรัสเล่าเรื่องอรุณวตีราชธานี



[613] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน
อารามของท่าน. อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ในที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
[614 ] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชาพระนามว่า อรุณวา ราชธานีของพระเจ้าอรุณวา
มีนามว่า อรุณวตี พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี
ทรงเข้าไปอาศัยราชธานีอรุณวตีประทับอยู่.
ก็พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ได้มีคู่พระ-
สาวกนามว่าพระอภิภูและพระสัมภวะ เป็นคู่พระสาวกที่เจริญเลิศ.
[605] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ตรัสเรียกภิกษุนามว่าอภิภูมาว่า ดูก่อนพราหมณ์
มาเถิด เราจักไปพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่งชั่วกาลกว่าจะถึงเวลาฉัน.
ภิกษุอภิภูทูลรับ พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าสิขีแล้ว.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันคสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี
และภิกษุอภิภูได้หายไปจากอรุณวตีราชธานี ปรากฏในพรหมโลกนั้น เหมือน
อย่างบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่งอเข้ามาแล้วออกไป หรืองอแขนที่เหยียดออก
ไปแล้วเข้ามาฉะนั้น