เมนู

สาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ซึ่ง
ได้วิชชา 3 บรรลุอิทธิวิธิญาณ และฉลาด
ในเจโตปริยญาณ หมออาสวะ ไกล
กิเลส มีอยู่มาก ดังนี้.

[585] พรหมปาริสัชชะได้กล่าวคำนี้แล้ว พรหมมีใจยินดีชื่นชม
ภาษิตของพรหมปาริสัชชะนั้นแล.

อรรถกถาอปราทิฏฐิสูตร



ในสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เตโชธาตุํ สมาปชฺชิตา ความว่า พระเถระทำบริกรรมใน
เตโชกสิณแล้วออกจากฌานที่เป็นบาท อธิษฐานว่า ขอเปลวไฟจงพุ่งออกจาก
สรีระ ด้วยอานุภาพจิตอธิษฐาน เปลวไฟพุ่งออกทั่วสรีระ. พระเถระชื่อว่าเข้า
เตโชธาตุสมาบัติอย่างนี้. ครั้นเข้าสมาบัติอย่างนั้นแล้ว ก็ไปในพรหมโลกนั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระจึงได้ไปในที่นั้น. ตอบว่า ได้ยินว่า พระเถระเข้า
สมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์เห็นพระตถาคตประทับนั่งเหนือพรหมนั้น จึงได้มี
ความคิดดังนี้ว่าบุคคลนี้เป็นผู้แทงทะลุปรุโปร่งถึงอัฐิ ก็เราพึงไปในที่นั้น ฉะนั้น
จงได้ไปในที่นั้น. แม้ในการไปของพระเถระที่เหลือก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
แม้พรหมนั้นไม่ได้เห็นอานุภาพของพระตถาคตและสาวกของพระตถาคต จึงไม่
ควรเข้าถึงการแนะนำ. ด้วยเหตุนั้น จึงได้มีประชุมกันอย่างนั้นในที่ประชุมนั้น
เปลวไฟที่พุ่งออกจากสรีระของพระตถาคตล่วงเลยพรหมโลกทั้งสิ้นแล่นไปใน
อวกาศ ก็แลวรรณะเหล่านั้น ได้มี 6 สี รัศมีของสาวกพระตถาคตก็มีวรรณะ
ธรรมดานั่นเอง.

ด้วยคำว่า ปสฺสสิ วีติวตฺตนฺตํ นี้ พระเถระถามว่า ท่านเห็นรัศมี
ที่เปล่งออกจากพระสรีระของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอันล่วงเสียซึ่งรัศมีแห่ง
สรีระของพรหมวิมานและเครื่องประดับเป็นต้นอย่างอื่นในพรหมโลกนี้หรือ.
บทว่า น เม มาริส สา ทิฏฺฐิ ความว่า ทิฏฐินั้นใดของเราว่า คนอื่นไม่ว่า
สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามไม่สามารถจะมาในที่นี้ได้ ทิฏฐิของเรานั้นแต่ก่อนไม่
มี. บทว่า กถํ วชฺชํ ความว่า เพราะเหตุไร เราจงกล่าว. บทว่า นิจฺโจมฺหิ
สสฺสโต
ความว่า ได้ยินว่า พรหมนี้มีทิฏฐิ 2 อย่าง คือ ลัทธิทิฏฐิและ
สัสสตทิฏฐิ. ในทิฏฐิ 2 อย่างนั้น พรหมนั้นเมื่อเห็นพระตถาคตและสาวกของ
พระตถาคต ย่อมเป็นอันละลัทธิทิฏฐิได้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระ-
ธรรมเทศนาเป็นอันมากในเรื่องทิฏฐิ 2 อย่างนั้น. ในที่สุดเทศนา พรหมตั้ง
อยู่ในโสดาปัตติผล. อันพรหมนั้นละสัสสตทิฏฐิด้วยมรรค เพราะฉะนั้น พระ-
เถระจึงกล่าวอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า พฺรหฺมปาริสชฺชํ ได้แก่ พรหมปริจาริกาผู้ปรนนิบัติพรหม
จริงอยู่ ชื่อว่า พรหมปาริสัชชะแม้ของพรหมทั้งหลายก็เหมือนภิกษุหนุ่มและ
สามเณรผู้ถือห่อของพระเถระ. บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า เพราะเหตุไร
พรหมจึงส่งพรหมปาริสัชชะ ไปสู่สำนักของพระเถระนั่นแล ได้ยินว่า พรหมนั้น
ได้เกิดความคุ้นเคยด้วยการเจรจาปราศรัยในพระเถระ เพราะฉะนั้น พรหมนั้น
จึงส่งไปยังสำนักของพระเถระนั้นแล. บทว่า อญฺเญปิ ความว่า ชนทั้ง 4 ก็
เหมือนพวกท่าน เหล่าสาวกแม้อื่น ๆ เห็นปานนั้นยังมีอยู่หรือ หรือมีแต่พวก
ท่านทั้ง 4 เท่านั้นที่มีฤทธิ์มาก. บทว่า เตวิชฺชา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยวิชชา
3 คือ บุพเพนิวาสญาณ ทิพยจักขุญาณและอาสวักขยญาณ. บทว่า อิทฺธิปฺ-
ปตฺตา
ได้แก่ บรรลุอิทธิวิธิญาณ. บทว่า เจโตปริยายโกวิทา ได้แก่ เป็น

ฉลาดในวารจิตของชนเหล่าอื่น. ในที่นี้ท่านกล่าวอภิญญา 5 ไว้โดยสรุปด้วย
ประการฉะนี้. แต่ทิพยโสตญาณได้มาด้วยอำนาจอภิญญา 5 เหล่านั้นเหมือน
กัน. บทว่า พหู ความว่า เหล่าพุทธสาวกผู้ได้อภิญญา 6 อย่างนี้มีมากเหลือ
คณนานับ เที่ยวทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้รุ่งเรื่องด้วยผ้ากาสาวพัสตร์.
อรรถกถาอปราทิฏฐิสูตรที่ 5

6. ปมาทสูตร



ว่าด้วยพรหมผู้ประมาท



[586] สาวัตถีนิทาน.
ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับพักกลางวัน. หลีกเร้นอยู่.
ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหม และสุทธาวาสปัจเจกพรหมเข้าไป
ใกล้ที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นได้ยืนพิงบานประตูองค์ละข้าง.
ลำดับนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมได้กล่าวกะสุทธาวาสปัจเจกพรหม
ว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ไม่ใช่กาลอันควรที่จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับพักกลางวันหลีกเร้นอยู่ ก็พรหมโลกโน้นบริบูรณ์
และเบิกบานแล้ว แต่พรหมในพรหมโลกนั้น ย่อมอยู่ด้วยความประมาท แน่ะ
ท่านผู้นิรทุกข์มาไปด้วยกัน เราทั้งหลายจักเข้าไปยังพรหมโลกนั้น ครั้นแล้ว
พึงยังพรหมนั้นให้สลดใจ.
สุทธาวาสปัจเจกพรหมได้รับคำของสุพรหมปัจเจกพรหมแล้ว.
ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหม ได้หาย
ไปจากเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้น
ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น.
พรหมนั้นได้เห็นแล้วแลซึ่งพรหมทั้งหลายเหล่านั้น ผู้มาอยู่แต่ที่ไกล
เทียว ครั้นแล้ว ได้กล่าวคำนี้กะพรหมเหล่านั้นว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย
เชิญเถิด พวกท่านมาแต่ที่ไหนหนอ.
พรหมเหล่านั้น กล่าวว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ พวกเรามาแต่สำนักของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แน่ะท่านผู้นิรทุกข์