เมนู

อรรถกถาทุติยปาสสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยปาสสูตรที่ 5 ต่อไป:-
บทว่า มุตฺตาหํ แปลว่า เราพ้นแล้ว. สูตรต้นตรัสภายในพรรษา
ส่วนสูตรนี้ ตรัสในเวลาปวารณาออกพรรษาแล้ว. บทว่า จาริกํ ได้แก่
จาริกไปตามลำดับ. ตรัสว่า พวกเธอจงจาริกไปวันละหนึ่งโยชน์เป็นอย่างยิ่ง.
บทว่า มา เอเกน เทฺว แปลว่า อย่าไปทางเดียวกัน 2 รูป. ด้วยว่า เมื่อ
ไปทางเดียวกัน 2 รูป เมื่อรูปหนึ่งกล่าวธรรม อีกรูปหนึ่ง ก็จำต้องยืนนิ่ง
เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้.
บทว่า กลฺยาณํ ในบทว่า อาทิกลฺยาณํ เป็นต้น แปลว่า ดี เจริญ
ในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุดก็เหมือนกัน ก็ชื่อว่า เบื้องต้นท่ามกลาง
และที่สุดนี้มี 2 คือ ศาสนาและเทศนา. ใน 2 อย่างนั้น ศีล เป็นเบื้องต้น
ของศาสนา สมถวิปัสสนาและมรรคเป็นท่ามกลาง ผลนิพพานเป็นที่สุด. อีก
นัยหนึ่ง ศีล และสมาธิเป็นเบื้องต้น วิปัสสนาและมรรคเป็นท่ามกลาง ผล
นิพพานเป็นที่สุด อีกนัยหนึ่ง ศีลสมาธิวิปัสสนา เป็นเบื้องต้น มรรคเป็นท่ามกลาง
ผลนิพพานเป็นที่สุด. ส่วนเทศนา สำหรับคาถา 4 บทก่อน บทที่ 1 เป็น
เบื้องต้น บทที่ 2-3 เป็นท่ามกลาง บทที่ 4 เป็นที่สุด สำหรับ 5 บท
หรือ 6 บท บทแรกเป็นเบื้องต้น บทสุดท้ายเป็นที่สุด ที่เหลือเป็นท่ามกลาง.
สำหรับพระสูตรมีอนุสนธิเดียว คำนิทานเริ่มต้นเป็นเบื้องต้น. คำนิคมลงท้าย
ว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด คำที่เหลือเป็นท่ามกลาง. สำหรับพระสูตรที่มีอนุสนธิ
มาก แม้จะมากตรงกลาง ก็จัดเป็นอนุสนธิเดียวเท่านั้น คำนิทานเป็นเบื้องต้น
คำลงท้ายว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด.

บทว่า สาตฺถํ ได้แก่ แสดงให้พร้อมอรรถ. บทว่า สพฺยญฺชนํ
ได้แก่ จงแสดงให้บริบูรณ์ด้วยพยัญชนะและบท. บทว่า เกวลปริปุณฺณํ
แปลว่า บริบูรณ์สิ้นเชิง. บทว่า ปริสุทฺธํ ได้แก่ ปราศจากอุปกิเลส. บทว่า
พฺรหฺมจริยํ ได้แก่ ศาสนาพรหมจรรย์ที่สงเคราะห์ด้วยสิกขา 3. บทว่า
ปกาเสถ ได้แก่ กระทำให้แจ้ง.
บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ได้แก่มีสภาพธุลี คือกิเลสน้อย ใน
จักษุคือปัญญา อธิบายว่า เหล่าสัตว์ที่สามารถบรรลุพระอรหัต เมื่อจบคาถา
4 บท ประหนึ่งปิดไว้ด้วยม่านผ้าเนื้อละเอียด มีอยู่. บทว่า อสฺสวนตา แปลว่า
เพราะไม่ได้ฟังธรรม. บทว่า ปริหายนฺติ ได้แก่ ย่อมเสื่อมจากธรรม โดย
ไม่เสื่อมจากลาภ. บทว่า เสนานิคโม ได้แก่ หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในโอกาสที่ตั้ง
กองทัพของเหล่ามนุษย์ต้นกัป อีกนัยหนึ่ง ได้แก่ หมู่บ้านเสนานิคมของ .
บิดานางสุชาดา. บทว่า เตนุปสงฺกมิสฺสามิ ความว่า เราส่งพวกเธอไป
ให้สร้างสถานที่มีบริเวณเป็นต้น ถูกพวกอุปัฏฐากเป็นต้น บำเรออยู่หามิได้.
แต่เราครั้นแสดงยมกปาฏิหาริย์ 1,500 แก่ชฏิลสามพี่น้องแล้วเข้าไปก็เพื่อ
แสดงธรรมอย่างเดียว. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มารคิดว่า พระสมณ
โคดมนี้ ส่งพระภิกษุ 60 รูปไปด้วยกล่าวว่า พวกเธออย่าไปทางเดียวกัน 2
รูป จงแสดงธรรม ประหนึ่งทำการรบใหญ่ ก็เมื่อพระสมณโคดมนี้แม้องค์
เดียวแสดงธรรมอยู่ เรายังไม่มีความสบายใจเลย เมื่อภิกษุเป็นอันมากแสดง
อยู่อย่างนี้ เราจักมีความสบายใจได้แค่ไหนเล่า จำเราจักห้ามกัน พระสมณโคดม
นั้นเสีย ดังนี้แล้วจึงเข้าไปเฝ้า.
จบอรรถกถาทุติยปาสสูตรที่ 5

6. สัปปสูตร



มารนิรมิตเพศเป็นพระยางู



[431] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันอันเป็น
สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทับนั่งกลางแจ้งในราตรีอันมืดสนิท
ทั้งฝนก็ลงเม็ดประปรายอยู่.
[432] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้เกิดความกลัว ความ
ครั้นคร้าม ขนลุกขนพองแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงนิรมิตเพศเป็นพระยางูใหญ่
เข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ กายของพระยางูนั้นเป็นเหมือนเรือ
ลำใหญ่ที่ขุดด้วยซุงทั้งต้น พังพานของมันเป็นเหมือนเสื่อลำแพนผืนใหญ่
สำหรับ ปูตากแป้งของนักผลิตสุรา นัยน์ตาของมันเป็นเหมือนถาดสำริดขนาด
ใหญ่ของพระเจ้าโกศล ลิ้นของมันแลบออกจากปากเหมือนสายฟ้าแลบ ขณะ
เมฆกำลังกระหึ่ม เสียงหายใจเข้าออกของมัน เหมือนเสียงสูบช่างทองที่กำลัง
พ่นลมอยู่ฉะนั้น.
[433] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป
ดังนี้ จึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า
มุนีใดเสพเรือนว่างเปล่าเพื่ออยู่อาศัย
มุนีนั้นสำรวมตนแล้ว สละความอาลัยใน
อัตภาพนั้นเที่ยวไป เพราะการสละความ
อาลัยในอัตภาพแล้วเที่ยวไปนั้น เหมาะสม
แก่มุนีเช่นนั้น.