เมนู

5. ทุติยปาสสูตร



พระพุทธเจ้าตรัสการพ้นจากบ่วงมาร



[428] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุง
พาราณสี ณ ที่นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย.
ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้วจาก
บ่วงทั้งปวงทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้
เธอทั้งหลายก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่
มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อ
เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้ไปทาง
เดียวกัน 2 รูป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรม งามในเบื้อง
ต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ
พร้อมทั้งพยัญชนะ. บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในจักษุน้อย
มีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อมเสีย ผู้รู้ทั่วถึงซึ่งธรรมยังจักมี ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็จักไปยังอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม.
[429] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ท่านเป็นผู้ที่ถูกเราผูกไว้แล้วด้วยบ่วง
ทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ทั้งที่เป็นของ
มนุษย์ ท่านเป็นผู้ที่ถูกเราผูกไว้แล้ว ด้วย
เครื่องพันธนาการอันใหญ่ ดูก่อนสมณะ
ท่านจักไม่พ้นเราไปได้.

[430] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาปจึง
ได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
เราเป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้ง
ที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เรา
เป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องพันธนาการอัน
ใหญ่ ดูก่อนมารผู้กระทำซึ่งความพินาศ
ท่านเป็นผู้ที่เรากำจัดเสียแล้ว

ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง.

อรรถกถาทุติยปาสสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยปาสสูตรที่ 5 ต่อไป:-
บทว่า มุตฺตาหํ แปลว่า เราพ้นแล้ว. สูตรต้นตรัสภายในพรรษา
ส่วนสูตรนี้ ตรัสในเวลาปวารณาออกพรรษาแล้ว. บทว่า จาริกํ ได้แก่
จาริกไปตามลำดับ. ตรัสว่า พวกเธอจงจาริกไปวันละหนึ่งโยชน์เป็นอย่างยิ่ง.
บทว่า มา เอเกน เทฺว แปลว่า อย่าไปทางเดียวกัน 2 รูป. ด้วยว่า เมื่อ
ไปทางเดียวกัน 2 รูป เมื่อรูปหนึ่งกล่าวธรรม อีกรูปหนึ่ง ก็จำต้องยืนนิ่ง
เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้.
บทว่า กลฺยาณํ ในบทว่า อาทิกลฺยาณํ เป็นต้น แปลว่า ดี เจริญ
ในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุดก็เหมือนกัน ก็ชื่อว่า เบื้องต้นท่ามกลาง
และที่สุดนี้มี 2 คือ ศาสนาและเทศนา. ใน 2 อย่างนั้น ศีล เป็นเบื้องต้น
ของศาสนา สมถวิปัสสนาและมรรคเป็นท่ามกลาง ผลนิพพานเป็นที่สุด. อีก
นัยหนึ่ง ศีล และสมาธิเป็นเบื้องต้น วิปัสสนาและมรรคเป็นท่ามกลาง ผล
นิพพานเป็นที่สุด อีกนัยหนึ่ง ศีลสมาธิวิปัสสนา เป็นเบื้องต้น มรรคเป็นท่ามกลาง
ผลนิพพานเป็นที่สุด. ส่วนเทศนา สำหรับคาถา 4 บทก่อน บทที่ 1 เป็น
เบื้องต้น บทที่ 2-3 เป็นท่ามกลาง บทที่ 4 เป็นที่สุด สำหรับ 5 บท
หรือ 6 บท บทแรกเป็นเบื้องต้น บทสุดท้ายเป็นที่สุด ที่เหลือเป็นท่ามกลาง.
สำหรับพระสูตรมีอนุสนธิเดียว คำนิทานเริ่มต้นเป็นเบื้องต้น. คำนิคมลงท้าย
ว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด คำที่เหลือเป็นท่ามกลาง. สำหรับพระสูตรที่มีอนุสนธิ
มาก แม้จะมากตรงกลาง ก็จัดเป็นอนุสนธิเดียวเท่านั้น คำนิทานเป็นเบื้องต้น
คำลงท้ายว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด.