เมนู

ยังผูกพันอยู่ด้วยเครื่องผูกคือกาม จำต้อง
กลับมาสู่อำนาจมารอีก โลกทั้งหมด
เร่าร้อน โลกทั้งหมดคุเป็นควัน โลก
ทั้งหมดลุกโพลง โลกทั้งหมดสั่นสะเทือน.

ใจของเรายินดีแน่วในพระนิพพาน
อันไม่สั่นสะเทือน อันไม่หวั่นไหว ที่
ปุถุชนเสพไม่ได้ มิใช่คติของมาร.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า อุปจาลาภิกษุณีรู้จักเรา
ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

อรรถกถาอุปจาลาสูตร



ในอุปจาลาสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เอนฺติ มารวสํ ปุน ความว่า มาสู่อำนาจ มรณมาร
กิเลสมาร และเทวบุตรมาร. บทว่า ปธูปิโต ได้แก่ ให้เดือดร้อน. บทว่า
อคติ ยตฺถ มารสฺส ความว่า ในพระนิพพานใด ท่านผู้เป็นมารไปไม่ได้.
บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในพระนิพพานนั้น.
จบอรรถกถาอุปจาลาสูตรที่ 7

8. สีสุปจาลาสูตร



ว่าด้วยมารรบกวนสีสุปจาลาภิกษุ



[545] สาวัตถีนิทาน.
ครั้งนั้น เวลาเช้า สีสุปจาลาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในกรุงสาวัตถีแล้ว เวลา
ปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่า
อันธวัน จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง.
[546] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปหาสีสุปจาลาภิกษุณีถึงที่นั่งพัก
ครั้นแล้วได้กล่าวกะสีสุปจาลาภิกษุณีว่า ดูก่อนภิกษุณี ท่านชอบใจทิฐิของ
ใครหนอ.
สีสุปจาลาภิกษุณีตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราไม่ชอบใจทิฐิของ
ใครเลย.
[547] มารผู้มีบาปกล่าวว่า
ท่านจงใจเป็นคนโล้น ปรากฏ
ตัวเหมือนสมณะ แต่ไฉนท่านไม่ชอบใจ
ทิฐิ ท่านประพฤติเรื่องนี้ เพราะความ
งมงายหรือ.

[548] สีสุปจาลาภิกษุณีกล่าวว่า
คนเจ้าทิฐิ ภายนอกพระศาสนา
นี้ ย่อมจมอยู่ในทิฐิทั้งหลาย เราไม่
ชอบใจธรรมของพวกเขา พวกเขาเป็น