เมนู

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็น
เครื่องก้าวล่วงความเกิด พระองค์สอนให้
เราตั้งอยู่ในสัจจะ เพื่อละทุกข์ทั้งมวล สัตว์
เหล่าใดเข้าถึงรูปภพ และสัตว์เหล่าใดเป็น
ภาคีแห่งอรูปภพ สัตว์เหล่านั้นเมื่อยังไม่รู้
นิโรธ ต้องมาสู่ภพอีก.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า จาลาภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้
จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

อรรถกถาจาลาสูตร



ในจาลาสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โก นุ ตํ อิทมาทปยิ ความว่า ใครหนอคือคนพาลมีความ
รู้น้อย ให้ท่านยึดถือเรื่องนี้. บทว่า ปริเกฺลสํ ได้แก่ ความวุ่นวายซึ่งมีประการ
ต่าง ๆ แม้อย่างอื่น บัดนี้มารกล่าวคำใดไว้ว่า ใครหนอจะให้เธอยึดถือเอาเรื่อง
นั้นจึงแสดงคำนั้นว่า คนอันธพาลไม่ให้เรายึดถือ แต่พระศาสดาผู้เป็นอัคร-
บุคคลในโลกแสดงธรรมแล้ว จึงกล่าวว่า พุทโธ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่า
นั้น บทว่า สจฺเจ นิเวสยิ ความว่าให้ตั้งอยู่ในพระนิพพานอันเป็นปรมัตถสัจจะ.
บทว่า นิโรธํ อปฺปชานนฺตา ได้แก่ ไม่รู้นิโรธสัจจะ.
จบอรรถกถาจาลาสูตรที่ 6

7. อุปจาลาสูตร



ว่าด้วยมารรบกวนอุปจาลาภิกษุณี



[541] สาวัตถีนิทาน.
ครั้งนั้น เวลาเช้า อุปจาลาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้า
ไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยงบิณฑบาตไปในกรุงสาวัตถุแล้ว เวลาปัจฉาภัต
กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่าอันธวัน
แล้ว จึงนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง.
[542] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้อุปจาลาภิกษุณีบังเกิดความ
กลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ
จึงเข้าไปหาอุปจาลาภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้วได้กล่าวกะอุปจาลาภิกษุณีว่า
ดูก่อนภิกษุณี อย่างไรหนอท่านจึงอยากจะเกิด.
อุปจาลาภิกษุณีตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราไม่อยากเกิดในที่ไหน ๆ
เลย.
[543] มารผู้มีบาปกล่าวว่า.
ท่านจงตั้งจิตไว้ในพวกเทพชั้นดาว
ดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี
และชั้นวสวัตตีเถิด ท่านจักได้เสวยความ
ยินดี.

[544] อุปจาลาภิกษุณีกล่าวว่า
พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา
ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และชั้นวสวัตตี