เมนู

เทวดาฟังพระดำรัสแล้วชื่นชมอนุโมทนาว่า
ดีจริง กระท่อมของท่านไม่มี ดีจริง
รังของท่านไม่มี ดีจริง เครื่องสืบต่อของ
ท่านไม่มี ดีจริง ท่านเป็นผู้พ้นแล้วจาก
เครื่องผูก...


อรรถกถากุฏิกาสูตร



วินิจฉัยในกุฏิกาสูตรที่ 9 ต่อไป :-
บทว่า กจฺจิ เต กุฏิกา เป็นต้น อธิบายว่า เทวดานี้ประมวลปัญหา
เหล่านี้มาผูกเป็นคาถาโดยกระทำมารดาให้เป็นดังกระท่อม เพราะหมายเอาการ
อยู่ในท้อง 10 เดือน กระทำภรรยาให้เป็นดังรัง (รังนก) ด้วยอำนาจแห่งความ
อาลัย เหมือนพวกนกเที่ยวหาอาหารตลอดวันแล้วก็มาเกาะอยู่ในรังในเวลาราตรี
ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไปในที่นั้น ๆ แล้วก็ย่อมมา
สู่สำนักแห่งมาตุคาม กระทำบุตรทั้งหลายให้เป็นดังเครื่องสืบต่อ เพราะหมาย
เอาการสืบต่อตระกูลและประเพณี แล้วจึงทูลถามกะพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงวิสัชนาปัญหาแก่เทวดานั้น จึงตรัสคำว่า ตคฺฆ
เป็นต้น แปลว่า แน่ละ กระท่อมของเราไม่มี แน่ละ รังของเราไม่มี แน่ละ
เครื่องสืบต่อของเราไม่มี แน่ละ เราเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตคฺฆ เป็นนิบาต ในคำโดยส่วนเดียว.
บทว่า นตฺถิ ได้แก่ ละได้แล้ว เพราะความที่เราเป็นบรรพชิต อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า ไม่มี เพราะไม่มีการอยู่ในท้องของมารดาในวัฏฏะอีก ไม่มีการเลี้ยงดู

ภรรยา ไม่มีการเกิดขึ้นแห่งบุตร. เทวดาดำริว่า ปัญหาอันไม่เปิดเผยที่เราผูก
ดุจมัดไว้แล้วทูลถาม และสมณะนี้ ก็วิสัชนาปัญหาสักว่าอัน เราถามแล้วทีเดียว
พระองค์จะทรงทราบอยู่ซึ่งอัธยาศัยของเราหรือไม่หนอ จึงตรัสแก้แล้ว หรือว่า
พระองค์ไม่ทรงทราบคำอย่างใดอย่างหนึ่ง ตรัสแล้วเพียงคล่องปาก ดังนี้ จึง
กล่าวคำว่า กินฺตาหํ เป็นต้นอีก. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺตาหํ
แก้เป็น กึ เต อหํ แปลว่า ข้าพเจ้ากะท่านว่าอะไร.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสบอกแก่เทวดานั้น จึงตรัส
คำว่า มาตรํ เป็นต้น แปลว่า ท่านกล่าวมารดาว่าเป็นกระท่อม ท่านกล่าว
ภรรยาว่าเป็นรัง ท่านกล่าวบุตรว่าเป็นเครื่องสืบต่อ ท่านกล่าวตัณหาว่าเป็น
เครื่องผูกแก่เรา. เทวดาฟังพระดำรัสนั้นแล้วยินดีชื่นชมอนุโมทนาด้วยคาถาว่า
สาหุ เต เป็นต้น แปลว่า ดีจริง กระท่อมของท่านไม่มี ดีจริง รังของท่านไม่มี
ดีจริง เครื่องสืบต่อของท่านไม่มี ดีจริง ท่านเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก ดังนี้
ร่าเริงยินดีแล้วบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยของหอมและดอกไม้ทั้งหลายแล้วไป
สู่เทวสถาน ดังนี้แล.
จบอรรถกถากุฏิกาสูตร ที่ 9

10. สมิทธิสูตร



ว่าด้วยการละกาม



[44] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ตโปทาราม กรุงราชคฤห์
ครั้งนั้นแล พระสมิทธิเถระผู้มีอายุ ตื่นขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี เข้าไปที่
ลำน้ำตโปทาเพื่อจะล้างตัว ครั้นล้างตัวแล้ว จึงกลับขึ้นยืนมีจีวรผืนเดียวรอให้
ตัวแห้ง.
[45] ครั้งนั้นแล เมื่อราตรีใกล้สว่าง เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณะงาม
ยังลำน้ำตโปทาทั้งสิ้นให้สว่างทั่ว เข้าไปหาพระสมิทธิเถระผู้มีอายุ ครั้นแล้ว
จึงลอยอยู่ในอากาศ ได้กล่าวกะพระสมิทธิเถระผู้มีอายุด้วยคาถาว่า
ภิกษุ ท่านไม่บริโภคแล้ว ยังขออยู่
ท่านบริโภคแล้ว ก็ไม่ต้องของเลย ภิกษุ
ท่านบริโภคแล้ว จงขอเถิด กาลอย่าล่วง
ท่านไปเสียเลย.

[46] พระสมิทธิเถระกล่าวว่า
เรายังไม่รู้กาล กาลยังลับ มิได้
ปรากฏ เพราะเหตุนั้น เราไม่บริโภคแล้ว
จึงยังขออยู่ กาลอย่าล่วงเราไปเสียเลย.

[47] ครั้งนั้นแล เทวดานั้นลงมายืนที่พื้นดินแล้ว กล่าวกะพระ-
สมิทธิเถระว่า ภิกษุ ท่านเป็นบรรพชิตยังหนุ่มแน่น มีผมดำประกอบด้วย
ปฐมวัยจำเริญรุ่น จะเป็นผู้ไม่เพลิดเพลินในกามทั้งหลายเสียแล้ว ภิกษุ ท่าน