เมนู

อรรถกถาทุกกรสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทุกกรสูตรที่ 7 ต่อไป :-
บทว่า ทุตฺติติกิขํ ได้แก่ ทนได้ยาก คือ อดกลั้นได้โดยยาก. บทว่า
อพฺยตฺเตน แปลว่า คนพาล. บทว่า สามญฺญํ แปลว่า ธรรมของสมณะ
อธิบายว่า เทวดาย่อมแสดงคำนี้ว่า กุลบุตรผู้ฉลาด ฝึกสมณธรรมอันใด 10
ปีบ้าง 20 ปีบ้าง 60 ปีบ้าง แม้ถือการฝึกอย่างยิ่งคือ กดเพดานด้วยลิ้นบ้าง
ข่มจิตด้วยจิตบ้าง เสพอยู่ซึ่งอาสนะเดียว ซึ่งภัตหนเดียว ประพฤติพรหมจรรย์
ตลอดชีวิต กระทำอยู่ซึ่งธรรมของสมณะ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า คนพาล
ผู้ไม่ฉลาดย่อมไม่อาจเพื่อกระทำซึ่งธรรมของสมณะนั้นได้ ดังนี้. บทว่า พหู
หิ ตตฺถ สมฺพาธา
ความว่า เทวดาย่อมแสดงว่า ความลำบากมากของคน
พาลผู้ปฏิบัติ เพื่อบรรลุมรรคในอริยมรรคกล่าวคือธรรมของสมณะนั้นเพราะ
ในส่วนเบื้องต้นย่อมมีอันตรายมาก ดังนี้. บทว่า จิตฺตํ เจ น นิวารเย
อธิบายว่า หากว่าไม่พึงห้ามจิตอันเกิดขึ้นโดยอุบายอันไม่แยบคายไซร้ ก็พึง
ประพฤติธรรมของสมณะได้สิ้นวันเล็กน้อย คือ พึงประพฤติได้วันหนึ่งบ้าง
เพราะว่า บุคคลผู้ตกอยู่ในอำนาจจิตย่อมไม่อาจเพื่อกระทำธรรมของสมณะได้.
บทว่า ปเท ปเท ได้เเก่ ทุก ๆ อารมณ์ จริงอยู่ ในที่นี้ ปทศัพท์ ท่าน
หมายถึงอารมณ์ เพราะว่า อารมณ์ใด ๆ ที่กิเลสเกิด คนพาลย่อมจมอยู่ (ย่อม
ติดขัด) ในอารมณ์นั้น ๆ ปทศัพท์ จะหมายถึงอิริยาบถด้วยก็สมควร เพราะ
ว่า กิเลสย่อมเกิดขึ้นในอิริยาบถใด ๆ มีการเดินเป็นต้น คนพาลนั้น ชื่อว่า
ย่อมจมลง ในอิริยาบถนั้น ๆ นั่นแหละ. บทว่า สงฺกปฺปานํ แปลว่า
มีกามวิตกเป็นต้น. บทว่า กุมฺโมว แปลว่า เหมือนเต่า. บทว่า องฺคานิ