เมนู

5. สกมานสูตร



ว่าด้วยเหตุเดียวแต่ความรู้สึกต่างกัน



[32] เทวดากล่าวว่า
เมื่อนกทั้งหลายพักร้อน ในเวลา
ตะวันเที่ยง ป่าใหญ่ประหนึ่งว่าครวญคราง
ความครวญครางของป่านั้นเป็นภัยปรากฏ
แก่ข้าพเจ้า.

[33] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เมื่อนกทั้งหลายพักร้อน ในเวลา
ตะวันเที่ยง ป่าใหญ่ประหนึ่งว่าครวญคราง
นั้นเป็นความยินดีปรากฏแก่เรา.

อรรกถาสกมานสูตร



วินิจฉัยในสกมานสูตรที่ 5 ต่อไป :-
บทว่า ฐิเต มชฺฌนฺติเก แปลว่า ในเวลาเที่ยงวัน บทว่า
สนฺนิสินฺเนสุ ได้แก่ อาศัยพักอยู่ในที่อันไม่เสมอกันเพราะเข้าไปสู่ที่ตามความ
สบายอย่างไร. อธิบายว่า ชื่อว่า เวลาเที่ยงวันนี้เป็นเวลาทุรพลแห่งอิริยาบถ
ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย. แต่ในที่นี้ ท่านแสดงความทุรพลแห่งอิริยาบถของนก
ทั้งหลายเท่านั้น. บทว่า ปลาเตว ได้แก่ ดุจเสียงครวญคราง ดุจการเปล่งเสียง
ร้องใหญ่. ก็ในที่นี้ท่านกล่าวเอาเสียงที่รบกวนเท่านั้น เสียงนี้แหละเปรียบดัง
เสียงครวญคราง. จริงอยู่ ในฤดูร้อนเวลาเที่ยงวัน พวกสัตว์ 4 เท้า และพวก
ปักษีทั้งหลายมาประชุมกัน (พักเที่ยง) เสียงใหญ่ คือเสียงแห่งโพรงต้นไม้
อันลมเป่าแล้วด้วย แห่งปล้องไม้ไผ่ที่เป็นรูอันลมเป่าแล้วด้วย แห่งต้นไม้
ซึ่งต้นกับต้นเบียดสีกันและกิ่งกับกิ่งเบียดสีกันด้วย ย่อมเกิดขึ้นในท่ามกลางป่า
เสียงครวญครางนั้นท่านกล่าวหมายเอาเสียงใหญ่นี้.
บทว่า ตํ ภยํ ปฏิภาติ มํ ความว่า ในกาลเห็นปานนั้น เสียง
เช่นนั้น ย่อมปรากฏเป็นภัยแก่ข้าพเจ้า. ได้ยินว่า เทวดานั้นมีปัญญาอ่อน
เมื่อไม่ได้ความสุข 2 อย่าง คือ ความผาสุกในการนั่ง ความผาสุกในการพูด
ของตนในขณะนั้น จึงกล่าวแล้วอย่างนี้. ก็เพราะในกาลเช่นนั้นเป็นเวลาสงัด
ของภิกษุผู้กลับจากบิณฑบาต แล้วนั่งถือเอากรรมฐานในป่าชัฏ แล้ว
ความสุขมีประมาณมิใช่น้อยย่อมเกิดขึ้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาคำ
อันใดว่า