เมนู

อรรถกถาขัตติยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในขัตติยสูตรที่ 4 ต่อไป :-
บทว่า ขตฺติโย ทิปทํ แปลว่า พระราชาประเสริฐสุดกว่าสัตว์
2 เท้า. บทว่า โกมารี ความว่า เทวดากล่าวว่า ภรรยาที่เป็นกุมารี
ประเสริฐสุดกว่าภรรยาทั้งหลาย เพราะถือเอาในเวลาที่เธอเป็นกุมารี (หญิงสาว).
บทว่า ปุพฺพโช ความว่า บุตรคนใดเกิดก่อนเป็นคนบอดข้างเดียวก็ตาม
หรือบุตรที่เป็นง่อยเป็นต้นก็ตาม คนใดเกิดก่อน คนนี้แหละ ชื่อว่าประเสริฐ
สุด ในวาทะของเทวดานี้ ก็เพราะสัตว์ 2 เท้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นนี้
พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าสัตว์ 2 เท้าทั้งหมด ฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสพระคาถาตอบ.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 2 ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประเสริฐสุด
กว่าสัตว์ทั้งหมด ทั้งสัตว์มีเท้าและไม่มีเท้า แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นพระองค์
เมื่อจะทรงอุบัติย่อมทรงอุบัติในสัตว์ 2 เท้าเท่านั้น. เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า
สมฺมาสมฺพุทฺโธ ทิปทํ เสฏฺโฐ แปลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐ
กว่าสัตว์ 2 เท้า ดังนี้ . ความที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นเป็นผู้ประเสริฐ
สุดกว่าสัตว์ 2 เท้าทั้งหมดนั้น ไม่คลาดเคลื่อนแล้ว.
บทว่า อาชานีโย อธิบายว่า ช้างหรือสัตว์ทั้งหลายมีม้าเป็นต้นก็
ตามที สัตว์ตัวใดตัวหนึ่งย่อมรู้ซึ่งเหตุ สัตว์อาชาไนยนี้จัดเป็นสัตว์ประเสริฐสุด
กว่าสัตว์ 4 เท้า เหมือนม้าชื่อว่า คุฬวรรณของพระราชาพระนามว่า กูฎกรรม.
ได้ยินว่า พระราชาเสด็จออกทางทวารด้านปราจีน ทรงดำริว่า เรา
จักไปเจติยบรรพต พอเสด็จมาถึงฝั่งแม่น้ำกลัมพะ. ม้าหยุดอยู่ที่ฝัง ไม่ปรารถนา

เพื่อจะข้ามน้ำไป. พระราชาตรัสเรียกนายอัสสาจารย์มาแล้วตรัสว่า โอหนอ
ม้าอันท่านฝึกดีแล้ว ไม่ปรารถนาจะข้ามน้ำ ดังนี้. นายอัสสาจารย์กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ม้าอันข้าพระองค์ฝึกดีแล้ว ก็เพราะม้านั้น คิดว่า
ถ้าเราจักข้ามน้ำไป ขนหางจักเปียก เมื่อขนหางเปียกแล้ว ก็พึงทำน้ำให้ตกไป
ที่พระราชา ดังนี้ จึงไม่ข้ามไป เพราะกลัวน้ำจะตกไปที่สรีระของพระองค์ด้วย
อาการอย่างนี้ ขอพระองค์จงให้ราชบุรุษถือขนหางม้าเถิด. พระราชาได้ให้
กระทำแล้วอย่างนั้น ม้าจึงข้ามไปโดยเร็วจนถึงฝั่งแล้วแล.
บทว่า สุสฺสูสา ความว่า เชื่อฟังด้วยดี อธิบายว่า ภรรยาที่ถือเอา
แม้ในเวลาที่เป็นกุมารี หรือภายหลังมีรูปงาม หรือไม่งามจงยกไว้ ภรรยาใด
เชื่อฟังสามี ย่อมบำเรอ (รับใช้) ย่อมให้สามีชอบใจ ภรรยานั้นประเสริฐสุด
กว่าภรรยาทั้งหลาย. บทว่า อสฺสโว แปลว่า เชื่อฟัง อธิบายว่า บุตรคนใด
พี่ก็ตาม น้องก็ตาม คนใดย่อมฟัง ย่อมรับคำของมารดาบิดา เป็นผู้สนอง
ตามโอวาท บุตรนี้ประเสริฐกว่าบุตรทั้งหลาย ดูก่อนเทวดา ประโยชน์อะไรเล่า
ด้วยบุตรอื่นที่เป็นโจรมีการกระทำตัดช่องเบาเป็นต้น ดังนี้แล.
จบอรรถกถาขัตติสูตร ที่ 4

5. สกมานสูตร



ว่าด้วยเหตุเดียวแต่ความรู้สึกต่างกัน



[32] เทวดากล่าวว่า
เมื่อนกทั้งหลายพักร้อน ในเวลา
ตะวันเที่ยง ป่าใหญ่ประหนึ่งว่าครวญคราง
ความครวญครางของป่านั้นเป็นภัยปรากฏ
แก่ข้าพเจ้า.

[33] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เมื่อนกทั้งหลายพักร้อน ในเวลา
ตะวันเที่ยง ป่าใหญ่ประหนึ่งว่าครวญคราง
นั้นเป็นความยินดีปรากฏแก่เรา.