เมนู

อรรถกถานันทิสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 2 ต่อไป :-
บทว่า นนฺทติ แปลว่า ย่อมยินดี คือ ย่อมมีใจเป็นของ ๆ ตน.
บทว่า ปุตฺติมา ได้แก่ มีบุตรมาก. จริงอยู่ บุตรบางพวกทำกสิกรรมแล้ว
ย่อมยังยุ้งข้าวเปลือกให้เต็ม บางพวกทำการค้าแล้วย่อมนำเงินและทองมา
บางพวกบำรุงพระราชา (รับราชการ) ย่อมได้วัตถุทั้งหลายมียาน พาหนะ
คาม นิคมเป็นต้น. มารดาหรือบิดาเมื่อเสวยสิริอันเกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งบุตร
เหล่านั้น ย่อมยินดี. อีกอย่างหนึ่ง มารดาหรือบิดาเห็นบุตรทั้งหลาย ผู้อันบุคคล
ตกแต่งประดับประดา ทำให้เกิดความยินดี เสวยอยู่ซึ่งสมบัติในวันรื่นเริง
เป็นต้น ย่อมยินดี. ด้วยเหตุนั้น เทวดา หมายเอาความเป็นไปนั้น จึงกล่าวว่า
นนฺทติ ปุตฺเตหิ ปุตฺติมา แปลว่า คนมีบุตรย่อมยินดีเพราะบุตรทั้งหลาย
ดังนี้. บทว่า โคหิ ตเถว ความว่า คนมีบุตรย่อมยินดีเพราะบุตร ฉันใด
แม้คนมีโค ก็ฉันนั้น คนมีโคเห็นมณฑลแห่งโค (สนามโค) สมบูรณ์แล้ว
เพราะอาศัยโคทั้งหลาย เสวยสมบัติ คือ เบญจโครส จึงชื่อว่า ย่อมยินดี
เพราะโคทั้งหลาย. บทว่า อุปธิ ในบทว่า อุปธีหิ นรสฺส นนฺทนา
นี้ได้แก่ อุปธิ 4 อย่าง คือ กามูปธิ (อุปธิคือกาม) ขันธูปธิ (อุปธิคือขันธ์)
กิเลสูปธิ (อุปธิคือกิเลส) และอภิสังขารูปธิ (อุปธิคืออภิสังขาร).
จริงอยู่ แม้กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า อุปธิ
เพราะวจนัตถะนี้ว่า ความสุขที่บุคคลเข้าไปตั้งไว้ในกามคุณนี้ ก็เพราะความที่
กามเหล่านี้ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งความสุขดังที่ตรัสไว้ อย่างนี้ว่า ความสุข ความ