เมนู

เทวตาสังยุตตวรรณนา


นฬวรรคที่ 1



อรรถกถาโอฆตรณสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในโอฆตรณสูตรที่ 1 แห่งนฬวรรค ดังนี้ :-
บทว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้นนี้ เป็นนิทาน. ในบทเหล่านั้น คำว่า
เอวํ เป็นศัพท์นิบาต. บทว่า เม เป็นต้น เป็นบทนาม. คำว่า วิ ในบทว่า
สาวตฺถิยํ วิหรติ นี้เป็นศัพท์อุปสรรค. บทว่า หรติ เป็นบทอาขยาต พึง
ทราบการจำแนกบทโดยนัยนี้ก่อน.

ว่าด้วย เอวํ ศัพท์



แต่เมื่อว่าโดยอรรถ เอวํ ศัพท์จำแนกเนื้อความได้หลายอย่างเป็นต้นว่า
คำเปรียบเทียบ คำแนะนำ คำยกย่อง คำติเตียน การรับคำ อาการะ คำชี้แจง
คำกำหนดแน่นอน จริงอย่างนั้น เอวํ ศัพท์นี้ที่มาในคำอุปมาในประโยคมี
เอวํ ศัพท์ เป็นเบื้องต้น ว่า เอวํ ชาเตน มจฺเจน กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุํ
แปลว่า สัตว์ผู้มีอันจะพึงตายเป็นธรรมดา เกิดมาแล้วพึงสร้างกุศลให้มาก
ฉันนั้น.
เอวํ ศัพท์ที่มาในคำแนะนำ เช่นในประโยคมีคำเป็นต้นว่า เอวนฺเต
อภิกฺกมิตพฺพํ เอวํ ปฏิกฺกมิตพฺพํ
แปลว่า เธอพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอย
กลับอย่างนี้.

เอวํ ศัพท์ที่มาในคำยกย่อง เช่นในประโยคที่มีคำเป็นต้นว่า เอวเมตํ
ภควา เอวเมตํ สุคตํ
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนี้ อย่างนั้น ข้าแต่พระ-
สุคตเจ้า ข้อนี้ อย่างนั้น.
เอวํ ศัพท์ที่มาในคำติเตียน เช่นในประโยคที่มีคำเป็นต้นว่า เอวเมว
ปนายํ วสลี ยสฺมึ วา ตสฺมึ วา ตสฺส มุณฺฑกสฺส สมณกสฺส วณฺณํ
ภาสติ
แปลว่า ก็หญิงถ่อยนี้ย่อมกล่าวสรรเสริญสมณะโล้นนั้น อย่างนี้ อย่างนี้
ไม่ว่าที่ใดที่หนึ่ง.
เอวํ ศัพท์ที่มาในการรับคำ เช่นในประโยคที่มีคำเป็นต้นว่า เอวํ
ภนฺเตติ โข เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุํ
แปลว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้
พากันรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
เอวํ ศัพท์ที่มาในอาการะ เช่นในประโยคที่มีคำเป็นต้นว่า เอวํ
พฺยาโข อหํ ภนฺเต ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ แปลว่า ข้าพระ-
พุทธเจ้ากล่าวอย่างนั้นจริง พระเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้า ย่อมทราบทั่วถึงธรรมที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว.
เอวํ ศัพท์ที่มาในคำชี้แจง เช่นในประโยคที่มีคำเป็นต้นว่า เอหิ
ตฺวํ มาณวก ฯเปฯ เอวญฺจ วเทหิ สาธุ กิร ภวํ อานนฺโท เยน สุภสฺส
มาณวสฺส โตเทยฺยปุตฺตสฺส นิเวสนํ เตนุปสงฺกมตุ อนุกมฺปํ อุปาทาย

แปลว่า มานี่แน่ะ พ่อมาณพน้อย เจ้าจงเข้าไปหาพระสมณะชื่อว่า อานนท์
แล้วเรียนถามถึงความมีอาพาธน้อย ความลำบากน้อย ความคล่องแคล่ว ความ
มีกำลัง ความอยู่สำราญ ด้วยคำของเราว่า ท่านสุภมาณพโตเทยยบุตร เรียน

ถามท่านพระอานนท์ถึงความมีอาพาธน้อย ความลำบากน้อย ความคล่องแคล่ว
ความอยู่สำราญ และจงกล่าวอย่างนี้ว่า ขอประทานโอกาส ขอท่าน
พระอานนท์จงอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของสุภมาณพโตเทยยบุตรเถิด.
เอวํ ศัพท์ที่มาในอวธารณะคือ คำกำหนดที่แน่นอน เช่นในประโยค
ที่มีคำเป็นต้นว่า ตํ กึ มญฺญถ กาลามา ฯเปฯ เอวํ โน เอตฺถ โหติ
แปลว่า ดูก่อนชาวกาลามะทั้งหลาย ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรม
เหล่านี้ เป็นกุศลหรืออกุศล เป็นอกุศล พระเจ้าข้า มีโทษหรือไม่มีโทษ มีโทษ
พระเจ้าข้า ผู้รู้ติเตียนหรือสรรเสริญ ผู้รู้ติเตียน พระเจ้าข้า ธรรมนี้บุคคล
สมาทานให้บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์
หรือไม่ หรือใครเห็นเป็นอย่างไรในข้อนี้ ธรรมเหล่านี้ บุคคลสมาทานให้
บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ในข้อนี้ พวกข้า
พระองค์เห็นอย่างนี้ พระเจ้าข้า.
เอวํ ศัพท์นี้นั้น ในที่นี้บัณฑิตพึงเห็นว่าใช้ในอรรถ 3 อย่าง คือใน
อาการะ นิทัสสนะ อวธารณะ.
บรรดาอรรถ 3 อย่างนั้น ท่านพระอานนท์ ย่อมแสดงเนื้อความนี้
ด้วย เอวํศัพท์อันมีอาการะเป็นอรรถว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
ละเอียดโดยนัยต่าง ๆ ตั้งขึ้นด้วยอัธยาศัยมิใช่น้อย สมบูรณ์ด้วยอรรถและ
พยัญชนะ มีปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ลึกซึ้งโดย ธรรม อรรถ เทศนาและปฏิเวธ
มาสู่คลองแห่งโสตครั้งแรกควรแก่การศึกษาโดยภาษาของตน ๆ แห่งสัตว์ทั้ง-
หมด ใครเล่าจะสามารถเข้าใจได้โดยประการทั้งปวง แม้จะให้เกิดความประสงค์
เพื่อจะสดับด้วยกำลังทั้งปวงว่า ข้าพเจ้าสดับมาอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้าสดับ
มาแล้วโดยอาการอย่างหนึ่ง.

พระอานนท์ เมื่อจะเปลื้องตนว่า ข้าพเจ้ามิใช่สยัมภู พระสูตรนี้
ข้าพเจ้ามิได้กระทำให้แจ้ง จึงแสดงพระสูตรทั้งสิ้นอันสมควรกล่าวในกาลบัดนี้
ว่า เอวมฺเม สุตํ คือว่า แม้ข้าพเจ้าก็สดับมาแล้วอย่างนี้ด้วย เอวํ ศัพท์
อันมีนิทัสสนะเป็นอรรถ.
พระอานนท์ เมื่อแสดงกำลังคือความทรงจำของตน อันสมควรแก่
ภาวะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญไว้ อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อานนท์นี้เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของเราผู้เป็นพหูสูต มีคติ
มีสติ มีความทรงจำ เป็นอุปัฏฐาก และท่านพระธรรมเสนาบดีกล่าวไว้อย่างนี้
ว่า ท่านพระอานนท์ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาด
ในนิรุตติ ฉลาดในคำเบื้องต้นและเบื้องปลาย ดังนี้ จึงให้ความประสงค์เพื่อ
จะสดับของสัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้น จึงกล่าวว่า เอวมฺเม สุตํ แปลว่า ข้าพเจ้า
สดับมาแล้วอย่างนี้ คำนั้นแล ไม่หย่อนไม่ยิ่งโดยอรรถหรือว่าโดยพยัญชนะ
อย่างนี้เท่านั้น ไม่ควรเห็นเป็นอย่างอื่น ด้วยศัพท์ว่า เอวํ อันมีอวธารณะเป็น
อรรถนี้.

ว่าด้วย เม ศัพท์



เม

ศัพท์ปรากฏในอรรถ 3 อย่าง. จริงอย่างนั้น เม ศัพท์ มีอรรถ
ว่า มยา เช่นในประโยคที่มีคำเป็นต้นว่า คาถาภิคีตมฺเม อโภชฺเนยฺยํ
แปลว่า โภชนะที่ได้มาเพราะการขับร้อง เราไม่ควรบริโภค. เม ศัพท์มี
อรรถว่า มยฺหํ เช่นในประโยคที่มีคำเเป็นต้นว่า สาธุ เม ภนฺเต ภควา
สงฺขิตฺเตน ธมฺมํ เทเสตุ
แปลว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด เม ศัพท์มี
อรรถว่า มม เช่นในประโยคว่า ธมฺมทายาทา เม ภิกฺขเว ภวถ เป็นต้น