เมนู

อรรถกถาปัพพโตปมสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปัพพโตปมสูตรที่ 5 ต่อไป :-
บทว่า มุทฺธาวสิตานํ ได้แก่ ผู้อันเขารดน้ำแล้วบนพระเศียรด้วย
อภิเษกเป็นกษัตริย์ ชื่อว่าผู้อันเขาทำการอภิเษกแล้ว. บทว่า กามเคธปริยุฏฺฐี-
ตานํ
แปลว่า ผู้อันความกำหนัดในกามทั้งหลายกลุ้มรุม คือครอบงำแล้ว.
บทว่า ชนปทถาวริยปฺปตฺตานํ แปลว่า ผู้ถึงความมั่นคงในชนบท. บท
ว่า ราชกรณียานิ แปลว่า การงานของพระราชา คือกิจที่พระราชาพึงทรง
กระทำ. บทว่า เตสฺวาหํ ตัดเป็น เตสุ อหํ. บทว่า อุสฺสุกํ อาปนฺโน
แปลว่า ถึงความขวนขวาย ได้ยินว่า พระราชานั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
วันละ 3 ครั้ง เสด็จไประหว่างนั้น ก็หลายครั้ง เมื่อท้าวเธอเสด็จไปเป็น
ประจำ หมู่ทหารก็มากบ้าง น้อยบ้าง ต่อมาวันหนึ่ง โจร 500 คิดกันว่า
พระราชาพระองค์นี้ เสด็จไปเฝ้าพระสมณโคดม โดยหมู่พลจำนวนน้อย ใน
เวลาไม่สมควร จำเราจักดักระหว่างทางยึดสมบัติ. โจรเหล่านั้นก็พากันไปซุ่ม
ซ่อนอยู่ในป่าอันธวัน. ก็ธรรมดาพระราชาทั้งหลายย่อมเป็นผู้มีบุญญาธิการมาก.
ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่งออกไปจากกลุ่มโจรเหล่านั้นนั่นแหละ กราบทูลแด่พระราชา.
พระราชาก็พาหมู่ทหารจำนวนมาก ไปล้อมป่าอันธวัน จับโจรเหล่านั้นได้หมด
โปรดให้ปักหลาวไว้ใกล้สองข้างทางตั้งแต่อันธวันจนถึงประตูพระนคร ให้เหล่า
โจรหวาดเสียวที่หลาวทั้งหลาย โดยประการที่เหล่าโจรได้แต่เอาตาจดจ้องมอง
ตากันและกัน พระราชาทรงหมายถึงเรื่องนี้ จึงตรัสอย่างนั้น.
ครั้งนั้นพระศาสดาทรงพระดำริว่า ถ้าเราจะกล่าวว่า ถวายพระพร
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่นเราอยู่ ณ วิหารใกล้ ๆ กรรมอันทารุณที่มหา-

บพิตรทรงทำแล้ว ไม่สมควรมหาบพิตรก็ทรงทำเสียแล้ว ดังนี้ เมื่อเป็นดังนั้น
พระราชาพระองค์นี้ ก็จะทรงเก้อเขิน ไม่อาจเหนี่ยวรั้งพระทัยได้ เมื่อเรากำลัง
กล่าวธรรมโดยปริยายก็จักทรงกำหนดไม่ได้ เมื่อทรงเริ่มพระธรรมเทศนา จึง
ตรัสว่า ตํ กึ มญฺญสิ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธายิโก
ความว่า ผู้ที่ท่านพึงเชื่อฟังคำ. คำว่า ปจฺจยิโก เป็นไวพจน์ของคำว่า
สทฺธายิโก นั้นนั่นแหละ อธิบายว่า ผู้ที่ท่านพึงเธอถือคำ. บทว่า อพฺภสมํ
ได้แก่ เสมออากาศ. บทว่า นิปฺโปเถนฺโต อาคจฺฉติ ความว่า ภูเขา
ใหญ่สูงเทียมเมฆ กลิ้งมาตั้งแต่พื้นแผ่นดินจดอกนิฎฐพรหมโลก บดสัตว์ทั้ง
สิ้นทำให้แหลกละเอียดเหมือนผงงา.
บทว่า อญฺญตฺร ธมฺมจริยาย ความว่า เว้นธรรมจริยา การ
ประพฤติธรรมเสีย ก็ไม่มีกรรมอย่างอื่นที่ควรทำ การประพฤติธรรมกล่าวคือ
กุศลกรรมบถ 10 เท่านั้น ควรทำพระเจ้าข้า. บทว่า สมจริยา เป็นต้นเป็น
ไวพจน์ของบทว่า ธมฺมจริยา นั้นนั่นแหละ. บทว่า อาโรเจมิ แปลว่า
บอก. บทว่า ปฏิเวทยามิ ได้แก่ ให้รู้. บทว่า อธิวตฺตติ ได้แก่
ท่วมทับ. บทว่า หตฺถิยุทฺธานิ ได้แก่ กิจที่ควรขึ้นช้างที่ประดับศีรษะด้วย
ข่ายทอง เช่นช้างนาฬาคิรีแล้วรบ. บทว่า คติ ได้แก่ ความสำเร็จ. บทว่า
วิสโย ได้แก่โอกาสหรือสมรรถภาพ จริงอยู่ใคร ๆ ก็ไม่อาจต่อต้านชรามรณะ
ด้วยทัพเหล่านั้นได้. บทว่า มนฺติโน มหามตฺตา ได้แก่มหาอำมาตย์ เช่น
มโหสถบัณฑิตและวิธุรบัณฑิต ผู้พรั่งพร้อมด้วยปัญญา. บทว่า ภูมิคตํ ได้
แก่เงินทองที่เขาบรรจุหม้อเหล็กใหญ่วางไว้บนดิน. บทว่า เวหาสฏฺฐํ ได้แก่
ที่เขาบรรจุในกระสอบหนังแขวนไว้ที่ขื่อและจันทันเป็นต้น และที่บรรจุวางไว้
ที่หอคอยเป็นต้น. บทว่า อุปลาเปตุํ ได้แก่เพื่อทำลายกันและกัน คือเพื่อทำ
โดยอาการที่คนสองคนไม่ไปทางเดียวกัน.

บทว่า นภํ อาหจฺจ ได้แก่ เต็มอากาศ. บทว่า เอวํ ชรา จ
มจฺจุ จ
ในสูตรนี้ ทรงถือเอาภูเขา 2 เท่านั้น ส่วนในราโชวาท ภูเขามา 4
ลูกคือ ชรา มรณะ พยาธิ วิบัติ อย่างนี้ว่า ชรามาถึงแล้วก็ปล้นวัยหนุ่มสาว
เสียสั้น. บทว่า ตสฺมา ได้แก่ ก็เพราะเหตุที่ใคร ๆ ก็ไม่สามารถเอาชนะชรา
มรณะได้ด้วยการต่อยุทธ์ด้วยทัพช้างเป็นต้น ฉะนั้น. บทว่า สทฺธํ นิเวสเย
ได้แก่ พึงดำรงพึงตั้งไว้ซึ่งศรัทธา.
จบอรรถกถาปัพพโตปมสูตรที่ 5
จบวรรคที่ 3 โกสลสังยุต
เพียงเท่านี้


รวมพระสูตรในตติยวรรคที่ 3


1. ปุคคลสูตร 2. อัยยิกาสูตร 3. โลกสูตร 4. อิสสัตถสูตร
5. ปัพพโตปมสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา โกสลสังยุตวรรคนี้มี 5 สูตร
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ สุคตตรัสเทศนาแล้ว.