เมนู

อรรถกถาอัยยิกาสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอัยยิกาสูตรที่ 2 ต่อไป :-
บทว่า ชิณฺณา ได้แก่ แก่เพราะชรา. บทว่า วุฑฺฒา ได้แก่
เจริญโดยวัย. บทว่า มหลฺลิกา ได้แก่ แก่เฒ่าโดยชาติ. บทว่า อทฺธคตา
ได้แก่ ล่วงกาลไกล คือกาลนาน. บทว่า วโยอนุปฺปตฺตา ได้แก่ถึงปัจฉิมวัย.
บทว่า ปิย มนาปา ความว่า ได้ยินว่า เมื่อพระชนนีของพระราชาทิวงคต
แล้ว พระราชาก็ทรงสถาปนาพระอัยยิกาไว้ในตำแหน่งพระชนนีแล้วทรงทนุ-
บำรุง ด้วยเหตุนั้น ท้าวเธอจึงทรงมีความรักแรงกล้าในพระอัยยิกา เพราะ
ฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า หตฺถิรตเนน ความว่า ช้างมีค่าแสนหนึ่ง
ประดับด้วยเครื่องประดับมีค่าแสนหนึ่ง ชื่อว่า หัตถิรัตนะ. แม้ในอัสสรัตนะ
ก็นัยนี้เหมือนกัน. แม้บ้านส่วย ก็คือหมู่บ้านที่มีรายได้เกิดขึ้นแสนหนึ่งนั่นเอง.
บทว่า สพฺพานิ ตานิ เภทนธมฺมานิ ความว่า บรรดาภาชนะของช่างหม้อ
เหล่านั้น ภาชนะบางอันที่ช่างหม้อกำลังทำอยู่นั่นแหละ ย่อมแตกได้ บางอัน
ทำเสร็จแล้ว เอาออกจากแป้นหมุนก็แตก บางอันเอาออกแล้วพอวางลงที่พื้น
ก็แตก บางอันอยู่ได้เกินไปกว่านั้นก็แตก แม้ในสัตว์ทั้งหลาย ก็อย่างนั้นเหมือน
กัน บางคนเมื่อมารดาตายทั้งกลม ไม่ทันออกจากท้องมารดาก็ตาย บางคนพอ
ตลอดก็ตาย บางคนอยู่ได้เกินไปกว่านั้นก็ตาย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้.
จบอรรถกถาอัยยิกาสูตรที่ 2

3. โลกสูตร



[402] สาวัตถีนิทาน.
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ทูลพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ธรรมเท่าไรหนอแลเมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิด
ขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.
[403] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม 3 อย่าง
เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ
ความอยู่ไม่สำราญ ธรรม 3 อย่างเป็นไฉน.
1. ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมคือโลภะความโลภ เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.
2. ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมคือโทสะความโกรธ เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.
3. ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมคือโมหะความหลง เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.
ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม 3 อย่างนี้แล เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิด
ขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.
[404] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์คำ
ร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า
โลภะ โทสะ และโมหะ อันบังเกิด
แก่ตนย่อมทำลายบุรุษ ผู้มีใจบาป ดุจ
ขุยไผ่ทำลายต้นไฝ่ ฉะนั้น.


อรรถกถาโลกสูตร



ในโลกสูตรที่ 3 คำทั้งหมดมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.