เมนู

อรรถกถาปุคคลสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปุคคลสูตรที่ 1 วรรคที่ 3 ต่อไป :-
บุคคลชื่อว่า ตมะ มืดมา เพราะประกอบด้วยความมืดมีชาติเป็นต้น
ในภายหลัง ในตระกูลที่ต่ำ ที่ชื่อว่า ตมปรายนะ มืดไป เพราะเข้าถึง
ความมืดคือนรกซ้ำอีก ด้วยกายทุจริตเป็นต้น. ดังนั้น จึงเป็นอันท่านกล่าว
ถึงความมืดคือขันธ์ แม้ด้วยบททั้งสอง ที่ชื่อว่า โชติ สว่างมาก็เพราะ
ประกอบด้วยความสว่างมีชาติเป็นต้นในภายหลังในตระกูลมั่งมี. ท่านอธิบายว่า
เป็นผู้สว่าง. ที่ชื่อว่า โชติปรายนะ สว่างไป เพราะเข้าถึงความสว่างคือการ
เข้าถึงสวรรค์อีกต่อ ด้วยกายสุจริตเป็นต้น. พึงทราบบุคคลทั้งสอง แม้
นอกนี้โดยนัยนี้.
บทว่า เวณกุเล ได้แก่ตระกูลช่างสาน. บทว่า เนสาทกุเล ได้แก่
ตระกูลของพวกพรานล่าเนื้อเป็นต้น. บทว่า รถการกุเล ได้แก่ตระกูลช่าง
หนัง. บทว่า ปุกฺกุสกุเล ได้แก่ตระกูลคนทิ้งดอกไม้เป็นต้น. บทว่า
กสิรวุตฺติเก ได้แก่ดำรงชีพลำเข็ญ. บทว่า ทุพฺพณฺโณ ได้แก่ มีผิวดัง
ตอไฟไหม้ เหมือนปีศาจุคลุกฝุ่น.
บทว่า ทุทฺทสฺสิโก ได้เเก่ ผู้พบเห็นไม่ชอบใจ แม้แต่แม่บังเกิดเกล้า.
บทว่า โอโกฏิมาโก ได้แก่ เป็นคนเตี้ย. บทว่า กาโณ ได้แก่ เป็น
คนตาบอดข้างเดียวหรือตาบอดสองข้าง. บทว่า กุณี ได้แก่ มือง่อยข้างเดียว
หรือมือง่อยสองข้าง. บทว่า ขญฺโช ได้แก่ มีเท้าง่อยข้างเดียวหรือเท้าง่อย
สองข้าง. บทว่า ปกฺขหโต ได้แก่ คนมีสีข้าง ถูกลมขจัดเสียแล้ว คือคน

เปลี้ย [อัมพาต]. บทว่า ปทีเปยฺยสฺส ได้แก่เครื่องอุปกรณ์แห่งประทีป
มีน้ำและภาชนะน้ำมันเป็นต้น. ในคำว่า เอวํ โข มหาราช นี้ท่านกล่าวว่า
บุคคลคนหนึ่ง ไม่ทันเห็นแสงสว่างภายนอกก็มาตายเสียในท้องแม่นั่นเอง
บังเกิดในอบาย ท่องเที่ยวอยู่ตลอดกัปแม้ทั้งสิ้น บุคคลแม้นั้น ชื่อว่ามืดมา
มืดไปแท้. ก็บุคคลผู้มืดมามืดไปนั้น พึงเป็นบุคคลหลอกลวง ด้วยว่าบุคคล
หลอกลวง ย่อมได้รับผลิตผลเห็นปานนี้.
ก็ในคำนี้ ท่านแสดงถึงความวิบัติแห่งการมา และความวิบัติแห่ง
ปัจจัยที่เกิดขึ้นในอดีต ด้วยคำว่า นีจกุเล ปจฺฉา ชาโต โหติ จณฺฑาล-
กุเลวา
เป็นต้น. แสดงถึงความวิบัติแห่งปัจจัยในปัจจุบัน ด้วยคำว่า ทลิทฺเท
เป็นต้น. แสดงถึงความวิบัติแห่งอัตภาพ ด้วยคำว่า กสิรวุตฺติเก เป็นต้น.
แสดงถึงการประจวบเหตุแห่งทุกข์ ด้วยคำว่า พหฺวาพาโธ เป็นต้น. แสดง
ถึงความวิบัติเหตุแห่งสุข และความวิบัติแห่งเครื่องอุปโภค ด้วยคำว่า น ลาภี
เป็นต้น. แสดงถึงการประจวบเหตุแห่งความเป็นผู้มืดไป ด้วยคำว่า กาเยน
ทุจฺจริตํ
เป็นต้น. แสดงถึงความเข้าถึงความมืดที่เป็นไปภายภาคหน้า ด้วยคำ
ว่า กายสฺส เภทา เป็นต้น. พึงทราบฝ่ายขาวโดยนัยตรงข้ามกับฝ่ายดำที่กล่าว
มาแล้ว.
บทว่า อกฺโกสติ ได้แก่ ด่าด้วยเรื่องที่ใช้ด่า 10 เรื่อง. บทว่า
ปริภาสติ ได้แก่ บริภาษด่ากระทบกระเทียบ ด้วยคำตะคอกว่า เหตุไร
พวกเจ้าจึงหยุดงานกสิกรรมเป็นต้นของข้า พวกเจ้าทำกันแล้วหรือดังนี้เป็นต้นต้น.
บทว่า อพฺยคฺคมนโส ได้แก่ มีจิตมีอารมณ์อันเดียว.
จบอรรถกถาปุคคลสูตรที่ 1

2. อัยยิกาสูตร



[399] สาวัตถีนิทาน.
ครั้งนั้นเป็นเวลากลางวัน พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้ว ประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท้าวเธอว่า เชิญเถิดมหาบพิตร พระองค์
เสด็จจากไหนมาแต่วัน.
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระอัยยิกาของข้าพระ-
องค์ ผู้ทรงชรา เป็นผู้เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัย มีพระชนม์ 120
พรรษา ได้เสด็จทิวงคตเสียแล้ว ท่านเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของข้าพระองค์
มาก พระเจ้าข้า หากข้าพระองค์จะพึงได้สมหวังว่า ขอพระอัยยิกาเจ้าของเรา
อย่าได้เสด็จทิวงคตเลย ดังนี้ แม้ด้วยใช้ช้างแก้วแลกไซร้ ข้าพระองค์พึงให้แม้
ซึ่งช้างแก้วเพื่อให้ได้สมหวัง ดังนี้ พระเจ้าข้า หากข้าพระองค์พึงได้สมหวัง
ว่า ขอพระอัยยิกาเจ้าของเราอย่าได้เสด็จทิวงคตเลย แม้ด้วยใช้ม้าแก้วแลกไซร้
ข้าพระองค์พึงให้แม้ซึ่งม้าแก้วเพื่อให้ได้สมหวัง พระเจ้าข้า หากข้าพระองค์พึง
ได้สมหวังว่า ขอพระอัยยิกาเจ้าของเราอย่าได้เสด็จทิวงคตเลย ดังนี้ แม้ด้วย
ใช้บ้านส่วยแลกไซร้ ข้าพระองค์พึงให้แม้ซึ่งบ้านส่วยเพื่อให้ได้สมหวัง พระ-
เจ้าข้า หากข้าพระองค์พึงได้สมหวังว่า ขอพระอัยยิกาเจ้าของเราอย่าได้เสด็จ
ทิวงคตเลย ดังนี้ แม้ด้วยใช้ชนบทแลกไซร้ ข้าพระองค์พึงให้แม้ซึ่งชนบทเพื่อ
ให้ได้สมหวัง พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า สัตว์ทั้งหลาย
ทั้งปวง มีมรณะเป็นธรรมดา มีมรณะเป็นที่สุด ไม่ล่วงพ้นมรณะไปได้เลย