เมนู

อรรถกถาทุติยอัปปมาทสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในที่อัปปมาทสูตรที่ 8 ต่อไป :-
บทว่า โส จ โข กลฺยาณมิตฺตสฺส ความว่า ก็ธรรมนี้นั้น ย่อม
ชื่อว่า สวากขาตธรรมของผู้มีมิตรดีเท่านั้น หาใช่สวากขาตธรรมของผู้มีมิตร
ชั่วไม่ จริงอยู่. ธรรมเป็นสวากขาตธรรม แม้ของทุกคนก็จริง ถึงอย่างนั้น
ย่อมทำประโยชน์ให้เต็มแก่ผู้มีมิตรดี ผู้ตั้งใจฟังด้วยดี ผู้เชื่อถือ เหมือนยา
เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ หาเป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่ใช้ไม่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ พึงทราบว่าเทศนาธรรมในคำว่า ธมฺโม นี้.
บทว่า อุปฑฺฒมิทํ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระเจ้าไปในที่ลับคิด
ว่า เมื่อมิตรดีผู้โอวาทพร่ำสอนมีอยู่ สมณธรรมนี้ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ตั้ง
อยู่ในความพยายามเฉพาะตัว ดังนั้น พรหมจรรย์กึ่งหนึ่งมาจากมิตรดี กึ่งหนึ่ง
มาจากความพยายามเฉพาะตัว. ครั้งนั้น พระเถระดำริว่า เราอยู่ในปเทสญาณ
(ญาณในธรรมบางส่วน) รู้บางส่วน ไม่อาจคิดได้หมดทุกส่วน จำต้องทูลถาม
พระศาสดา จึงจักหมดสงสัย เพราะฉะนั้น ท่านจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว
กล่าวอย่างนั้น.
บทว่า พฺรหฺมจริยสฺส ได้แก่ อริยมรรค. บทว่า ยทิทํ กลฺยาณ-
มิตฺตตา
ความว่า ความเป็นผู้มีมิตรดีที่ได้ ย่อมมาสู่พรหมจรรย์กึ่งหนึ่ง
จากพรหมจรรย์กึ่งหนึ่ง. ดังนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า อริยมรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็น
ต้นครึ่งหนึ่ง ย่อมมาจากความเป็นผู้มีมิตรดี อีกครั้งหนึ่ง ย่อมมาจากความ
พยายามเฉพาะตัว. ก็จริงอยู่ นี้เป็นความปรารถนาของพระเถระ แท้จริง
แม้ในที่นี้ ธรรมที่แบ่งแยกไม่ได้นี้ ก็ไม่อาจแบ่งแยกได้ว่า บรรดาอริยมรรค